คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งในคำร้องขอแก้ไขคำให้การ: การเปลี่ยนแปลงข้ออ้างเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม หรือจะฟ้องแย้งมาในคำร้องขอแก้คำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) ก็ได้
จำเลยฟ้องแย้งมาในคำร้องขอแก้ไขคำให้การระบุข้อต่อสู้ขึ้นใหม่โดยให้รายละเอียดว่า โจทก์ทำผิดสัญญาอะไรบ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไร คิดเป็นจำนวน ค่าเสียหายเท่าใด เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) จึงเป็นฟ้องแย้งในคำคู่ความที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นไว้แล้วชอบที่จะรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเป็นฟ้องแย้งไว้ได้ (วินิจฉัยโดยการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น และการเปลี่ยนแปลงคำขอในคำแก้ฎีกา
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มีสิทธิที่จะเช่านาพิพาทจนครบ6 ปี แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยให้
โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มตามฟ้อง แม้จะได้ขอเช่นนั้นมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาเพิ่มค่าเสียหายขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเมื่อเกิดความเสียหายเกินวงเงินที่ค้ำ
ค้ำประกันหนี้ 10,000 บาท และว่าถ้าลูกหนี้ทำความเสียหายเกินกว่านั้นก็รับผิด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามความเสียหาย 205,764 บาท
ศาลพิพากษาคดีอาญาให้ลูกจ้างใช้ทรัพย์ที่ยักยอกไปผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในความเสียหายนั้น จะนำสืบว่าลูกจ้างไม่ได้ทำความเสียหายและปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันในคดีแพ่งโดยไม่ฟ้องลูกจ้างด้วยก็ได้
จำเลยที่ 1 ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยร่วมศาลไม่อนุญาตไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ถ้าไม่โต้แย้งไว้ อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและการรับผิดชอบในบุตรจากกรณีข่มขืนกระทำชำเรา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และคลอดบุตรคือเด็กชาย บ. ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและรับเด็กชาย บ.เป็นบุตรรพร้อมทั้งให้มีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยกับเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วยนั้น แม้บิดาโจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจกท์และศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเพราะบิดาโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้พิพากษาว่าจำเลยมิได้ข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ ย่อมไม่ทำให้หลักฐานของคดีโจทก์ในเรื่องนี้เสียไป
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนตั้งครรภ์ ทำให้ค่าของความเป็นสาวต้องตกต่ำ และค่าใช้จ่ายในการคลอด กับแสดงว่าเด็กชาย บ. เป็นบุตรของจำเลยมีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย บ.ตั้งแต่คลอดจนถึงวันฟ้องและจ่ายต่อไปเป็นรายเดือนจนกว่าเด็กชาย บ.จะมีอายุครบ 20 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ค่าเสียหายตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิดขาดอายุความเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ตั้งประเด็นเรื่องอายุความมาในคำแก้อุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาต่อมา จำเลยก็มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาจึงไม่ประเด็นเครื่องอายุความในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การจัดพิมพ์ฎีกาไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายเวลาไม่ชอบ
คำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาของจำเลยยอมรับว่าทนายจำเลยได้เรียงฎีกาเสร็จแล้ว แต่จัดพิมพ์ไม่ทัน จึงขอเลื่อนการยื่นฎีกาไปอีก 7 วันเพื่อจัดพิมพ์เท่านั้น จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษ เพราะฎีกาเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) และ (5) ซึ่งตามมาตรา 46 วรรคสอง ทนายจำเลยจะเขียนฎีกาที่เรียงไว้เสร็จแล้วด้วยหมึก ไม่ต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยจะยื่นฎีกาที่เรียงเขียนไว้เสร็จแล้วต่อศาลในวันนั้นก็ทำได้โดยชอบ ปรากฏในฎีกาของจำเลยว่าได้พิมพ์แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2513 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาแต่ขีดฆ่าตัวพิมพ์วันที่ 9 แล้วเขียนแก้เป็นวันที่ 14 ที่นำฎีกามายื่นต่อศาลฎีกานี้มี 19 แผ่น หรือ 38 หน้าพิมพ์ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอเลื่อนเวลาเมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา และยังมีเวลาอีก 5 ชั่วโมงเศษที่จะพิมพ์ต่อไปให้เสร็จได้แน่นอน เพราะจะต้องได้พิมพ์ฎีกาบางส่วนมาแล้วตั้งแต่ตอนเช้าวันที่ 9 นั้นเองเป็นอย่างช้า ดังนี้ จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายเวลาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสิ่งปลูกสร้างเดิม เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้ประโยชน์ได้ แม้มิได้เป็นผู้สร้าง
แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย. แต่คดีนี้ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง. ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา. เพราะมิใช่คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238. ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียใหม่ได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น.
โจทก์และสามีจำเลยต่างซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งตัดแบ่งขายเป็นแปลงๆ. จำเลยรับมรดกสามี. โจทก์จำเลยจึงมีที่ดินติดต่อกัน. โจทก์ซื้อที่ดินของโจทก์ภายหลังสามีจำเลยซื้อที่ดินของจำเลยโดยที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพที่มีกันสาดตึกของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อน. ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดที่พิพาท. หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองในขณะยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสองแปลง. ซึ่งเจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย. แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง จึงทำให้กันสาดของโรงเรือนที่สร้างไว้ในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง. กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312. เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง.
มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนแห่งกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต. มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิในที่ดินที่ถูกรุกล้ำนั้นได้. โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่มีสิทธิบังคับให้รื้อ.
จำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกพร้อมกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย. เพราะขณะสร้างยังมิได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นสองแปลง. ดังนั้น ถ้าจะบังคับให้รื้อ ก็มีผลเท่ากับจำเลยเป็นผู้สร้าง ตามมาตรา 1312 วรรคสอง ย่อมไม่เป็นธรรม. เพราะแม้จำเลยเป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง ถ้าโดยสุจริต กฎหมายยังยอมให้จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินในส่วนที่รุกล้ำได้. แล้วไฉนถ้าจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง. แต่การที่สร้างนั้นเป็นการสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งยิ่งกว่าเป็นการสร้างโดยสุจริตเสียอีก แล้วกลับจะถูกบังคับให้รื้อถอน เพราะไม่มีสิทธิจะใช้. กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้. เมื่อเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้. สำหรับกรณีนี้ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง.บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 1312 วรรคแรกคือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อ. แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไป ตลอดจนการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม.
เครื่องทำความเย็นซึ่งผู้เช่าตึกจำเลยเป็นผู้ติดตั้ง.ไม่ใช่เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น. และจำเลยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งนี้ด้วย.อีกทั้งผู้เช่าตึกของจำเลยไม่ใช่บริวารของจำเลย.ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ย้ายเครื่องทำความเย็นของผู้อื่นไม่ได้. (นอกจากวรรคหนึ่ง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่30/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของเดิมสร้างก่อนแบ่งแยกที่ดิน ไม่เข้าข่าย ม.1312 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนภารจำยอม
แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่คดีนี้ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา เพราะมิใช่คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียใหม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น
โจทก์และสามีจำเลยต่างซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งตัดแบ่งขายเป็นแปลงๆ จำเลยรับมรดกสามี โจทก์จำเลยจึงมีที่ดินติดต่อกันโจทก์ซื้อที่ดินของโจทก์ภายหลังสามีจำเลยซื้อที่ดินของจำเลยโดยที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพที่มีกันสาดตึกของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อน ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองในขณะยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสองแปลง ซึ่งเจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง จึงทำให้กันสาดของโรงเรือนที่สร้างไว้ในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง
มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนแห่งกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิในที่ดินที่ถูกรุกล้ำนั้นได้ โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่มีสิทธิบังคับให้รื้อ
จำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกพร้อมกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะขณะสร้างยังมิได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นสองแปลง ดังนั้น ถ้าจะบังคับให้รื้อ ก็มีผลเท่ากับจำเลยเป็นผู้สร้าง ตามมาตรา 1312 วรรคสอง ย่อมไม่เป็นธรรม เพราะแม้จำเลยเป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง ถ้าโดยสุจริต กฎหมายยังยอมให้จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินในส่วนที่รุกล้ำได้ แล้วไฉนถ้าจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง แต่การที่สร้างนั้นเป็นการสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งยิ่งกว่าเป็นการสร้างโดยสุจริตเสียอีก แล้วกลับจะถูกบังคับให้รื้อถอน เพราะไม่มีสิทธิจะใช้ กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ เมื่อเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้สำหรับกรณีนี้ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 1312 วรรคแรก คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อ แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไป ตลอดจนการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
เครื่องทำความเย็นซึ่งผู้เช่าตึกจำเลยเป็นผู้ติดตั้งไม่ใช่เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เช่าตึกของจำเลยไม่ใช่บริวารของจำเลย ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ย้ายเครื่องทำความเย็นของผู้อื่นไม่ได้ (นอกจากวรรคหนึ่ง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57นั้น ถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามา ในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้วและจำเลยต้องชำระหนี้แล้ว จึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ทันที
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้อง ไม่เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นคำให้การและการสั่งรับ/ไม่รับคำให้การ: คำสั่งศาลเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การนั้น ตามกฎหมายเมื่อศาลสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาให้แล้ว จึงจะถึงชั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือสั่งไม่รับคำให้การต่อไป หากศาลสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา ก็ไม่ต้องพิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป
คำร้องขอขยายระยะเวลาไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(5) เพราะคำร้องดังกล่าวนี้ไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1(5) ฉะนั้น คำสั่งศาลในกรณีนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา.
of 5