คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 6 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจในการร้องทุกข์อาญา: หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจที่ใช้ได้
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่องให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5 มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า (กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของธนาคาร เป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่า ไม่ใช่คำร้องทุกข์ โดยตนเองตามป.วิ.อ. มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่า ให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินราชการ และการวินิจฉัยหลักฐานการปลอมเอกสาร
เงินราชการที่เบิกมาเพื่อจ่ายแก่ผู้ใด แต่ยังไม่จ่ายนั้น ไม่ถือว่าเป็นเงินของผู้ที่จะได้รับเงิน ดั่งนั้น เจ้าพนักงานผู้ใดยักยอกเงินนั้น จึงมีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกเงินของทางราชการ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว
การฟังว่าจำเลยปลอมเอกสารโดยไม่มีพยานมาแสดงให้ชัดว่าจำเลยปลอม เพียงแต่ศาลนำเอกสารที่กล่าวหามาเทียบเคียงกับเอกสารฉบับอื่นแล้วลงความเห็นว่าเหมือนกับลายมือของจำเลยนั้น ไม่ชอบด้วยการวินิจฉัยหลักฐานคำพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินราชการ และการวินิจฉัยหลักฐานการปลอมแปลงเอกสาร
เงินราชการที่เบิกมาเพื่อจ่ายแก่ผู้ใด แต่ยังไม่จ่ายนั้น ไม่ถือว่าเป็นเงินของผู้ที่จะได้รับเงิน ดั่งนั้น เจ้าพนักงานผู้ใดยักยอกเงินนั้น จึงมีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกเงินของทางราชการ ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว
การฟังว่าจำเลยปลอมเอกสารโดยไม่มีพยานมาแสดงให้ชัดว่าจำเลยปลอม เพียงแต่ศาลนำเอกสารที่กล่าวหามาเทียบเคียงกับเอกสารฉบับอื่นแล้วลงความเห็นว่าเหมือนกับลายมือของจำเลยนั้น ไม่ชอบด้วยการวินิจฉัยหลักฐานคำพยาน