พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและค่าใช้ที่ดิน: ศาลฎีกาพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่เพื่อกำหนดค่าเสียหายที่ถูกต้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ โดยจำเลยก่อสร้างตีนช้างหรือฐานรากอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้ค่าใช้ที่ดินในกรณีที่ตีนช้างหรือฐานรากอาคารของจำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมในส่วนที่รุกล้ำนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 จึงเป็นข้อพิพาทคนละประเด็นกัน มิใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ก่อสร้างตีนช้างผิดพลาดไปเป็นเนื้อที่ดินครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งจำนวนเนื้อที่ดินที่ผิดพลาดนี้ไม่ว่าจะคิดเฉพาะจุดที่ก่อสร้างตีนช้างหรือจะคิดเป็นเนื้อที่ตลอดแนวความยาวก่อสร้างตีนช้างทั้งแถวย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงการกำหนดค่าใช้ที่ดินของศาลให้ผิดพลาดไปด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรฟังข้อเท็จจริงเสียใหม่ และกำหนดค่าเสียหายลดลงจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ก่อสร้างตีนช้างผิดพลาดไปเป็นเนื้อที่ดินครึ่งต่อครึ่ง ซึ่งจำนวนเนื้อที่ดินที่ผิดพลาดนี้ไม่ว่าจะคิดเฉพาะจุดที่ก่อสร้างตีนช้างหรือจะคิดเป็นเนื้อที่ตลอดแนวความยาวก่อสร้างตีนช้างทั้งแถวย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงการกำหนดค่าใช้ที่ดินของศาลให้ผิดพลาดไปด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรฟังข้อเท็จจริงเสียใหม่ และกำหนดค่าเสียหายลดลงจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ค่าเสียหายบุกรุก: ศาลฎีกาแก้ค่าใช้ที่ดินจากข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์โดยจำเลยก่อสร้างตีนช้างหรือฐานรากอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชดใช้ค่าใช้ที่ดินในกรณีที่ตีนช้างหรือบานรากอาคารของจำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์กับให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมในส่วนที่รุกล้ำนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312จึงเป็นข้อพิพาทคนละประเด็นกันมิใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ก่อสร้างตีนช้างผิดพลาดไปเป็นเนื้อที่ดินครึ่งต่อครึ่งซึ่งจำนวนเนื้อที่ดินที่ผิดพลาดนี้ไม่ว่าจะคิดเฉพาะจุดที่ก่อสร้างตีนช้างหรือจะคิดเป็นเนื้อที่ตลอดแนวความยาวก่อสร้างตีนช้างทั้งแถวย่อมมีผลกระทบกระเทือนถึงการกำหนดค่าใช้ที่ดินของศาลให้ผิดพลาดไปด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรฟังข้อเท็จจริงเสียใหม่และกำหนดค่าเสียหายลดลงจากที่ศาลทั้งสองกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วม: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานก่อนตัดสิน
ฟ้องโจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาท ส.บิดาโจทก์ จำเลย และบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินไว้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ต้องการโฉนดที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินให้แก่ทายาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ส.ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลย จำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ และคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยก่อนจึงมีว่าที่ดินส่วนของ ส.ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ หากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังจำเลยให้การต่อสู้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยจึงยังไม่พอวินิจฉัยคดีได้ สมควรที่ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกประเด็นการแย่งการครอบครองที่ไม่สอดคล้องกับคำให้การ และส่งคืนสำนวนเพื่อวินิจฉัยกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อขนำของจำเลยที่ปลูกสร้างลงในที่พิพาท ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดาจำเลยซึ่งยกให้แก่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินที่จำเลยปลูกขนำอยู่จากโจทก์จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง ศาลจึงไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว คดีอาจต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่เป็นสินสมรส และการจำนองที่ดิน ศาลต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นข้อกล่าวหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม และจำเลยที่ 2 ได้ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ขอให้เพิกถอนการยกให้ที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2ไถ่ถอนการจำนองที่ดินส่วนของโจทก์ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 ให้การและแถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง คำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1ดังกล่าวก็หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไม่ทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ให้การและโจทก์มิได้ยอมรับว่า จำเลยที่ 2แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการยกให้ไม่สมบูรณ์และฟังว่าหลังจากการยกให้ที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกินกว่า 1 ปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 และพิพากษายกฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบเพราะข้อเท็จจริงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ยังโต้เถียงกันว่า การยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ และโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องอาญาได้ หากฟ้องชัดเจนครบองค์ความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งได้ใช้สิทธิทางศาลโดยชอบแล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยให้แก่ผู้มีชื่อทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิทางศาลแล้วซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)โจทก์ไม่จำต้องบรรยายข้อความที่มีความหมายอย่างเดียวกันซ้ำในฟ้องอีก โจทก์อุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นแล้วพิพากษาไปตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งได้ใช้สิทธิทางศาลโดยชอบแล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของจำเลยให้แก่ผู้มีชื่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์มีความหมายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยได้รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิทางศาลแล้ว ซึ่งครบองค์ประกอบแห่งความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 350 เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240(3) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจรประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดและบทลงโทษ
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่า มีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การต่อสู้คดี, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ ว่า มีการสอบสวนชอบด้วย กฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดย เสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตาม สำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เองโดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน แม้ อ. จะเคยถูก ฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ ศาลได้ สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะ เป็นจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 5661 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้ กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่ง เป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่ง เป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้อง ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนหากพยานหลักฐานเพียงพอ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ส. เป็นลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือไม่ รถยนต์โจทก์เสียหายเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความ ประเด็นอื่นไม่ต้องวินิจฉัย พิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความและเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ว่าส. เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างหรือไม่กับค่าเสียหายมีเพียงใดเป็นประเด็นในคดีซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองได้นำสืบเสร็จสำนวนมาแล้วและพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้เสร็จไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่