คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรค 2
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3, 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุก: ศาลฎีกายกประเด็นนอกเหนือการต่อสู้ในชั้นต้น-ให้สืบเพิ่มเติม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 240(3)ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าต่างชนิดกันเป็นการลวงขายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ม. 29 วรรค 2 ไม่ใช่แต่เพียงเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติ ม. 29 วรรคแรก หากแต่เป็นบทบัญญัติที่มีผลทั่วไปด้วยว่า หากมีการลวงขายเกิดขึ้นแล้ว ทางแก้ของผู้เสียหายจะพึงมีอยู่อย่างใด อาทิเช่น ในมูลกรณีละเมิด ก็พึงมีอยู่อย่างนั้น มิพักต้องคำนึงว่า ผู้ใดจดทะเบียนไว้หรือไม่ หรือจดทะเบียนก่อนหลังกันอย่างไร
ความหมายคำว่า "ลวงขาย" ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ม. 29 วรรค 2 มิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น หากแต่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงกรณีต่าง ๆ ซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น ซึ่งมีความหมายได้ว่าไม่ใช่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้น หากแต่เป็นการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
ฉะนั้น เมื่อจำเลยเอาคำว่า "แฟ๊บ" (FAB) ในลักษณะและสีเช่นเดียว กับของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลย ก็ย่อมเป็นการลวงขาย ผิดกฎหมายเรื่องละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงขายเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองสิทธิแม้ไม่ได้จดทะเบียน และขอบเขตการลวงขายที่ครอบคลุมความเป็นเจ้าของ
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา29 วรรค 2 ไม่ใช่แต่เพียงเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติ มาตรา 29 วรรคแรกหากแต่เป็นบทบัญญัติที่มีผลทั่วไปด้วยว่า หากมีการลวงขายเกิดขึ้นแล้วทางแก้ของผู้เสียหายจะพึงมีอยู่อย่างใด อาทิเช่น ในมูลกรณีละเมิดก็พึงมีอยู่อย่างนั้น มิพักต้องคำนึงว่าผู้ใดจดทะเบียนไว้หรือไม่ หรือจดทะเบียนก่อนหลังกันอย่างไร
ความหมายคำว่า 'ลวงขาย' ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง มิได้จำกัดเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น หากแต่มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงกรณีต่างๆ ซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นซึ่งมีความหมายได้ว่าไม่ใช่เป็นการลวงในวัตถุเท่านั้นหากแต่เป็นการลวงในความเป็นเจ้าของด้วย
ฉะนั้นเมื่อจำเลยเอาคำว่า 'แฟ๊บ'(FAB) ในลักษณะและสีเช่นเดียวกับของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลย ก็ย่อมเป็นการลวงขายผิดกฎหมายเรื่องละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์แผงลอยให้เทศบาล และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยคดี
ในเรื่องแผงลอยเป็นของเทศบาลหรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่นั้น ได้เป็นประเด็นในคดีซึ่งทั้งโจทก์จำเลยได้นำสืบเสร็จสำนวนมาแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพิพากษาให้เสร็จไปได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่.
(อ้างฎีกาที่ 144/2492)
ร้านแผงลอยเป็นสังหาริมทรัพย์
จำเลยอ้างพยานเอกสารไว้ด้วยในการประกอบข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ได้ยกร้านแผงลอยซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เทศบาลแล้ว แต่เมื่อจำเลยเพียงนำพยานบุคคลมาสืบก็รับฟังได้เช่นนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำพยานเอกสารเช่นว่านั้นมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้เทศบาลและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
ในเรื่องแผงลอยเป็นของเทศบาลหรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่นั้น ได้เป็นประเด็นในคดีซึ่งทั้งโจทก์จำเลยได้นำสืบเสร็จสำนวนมาแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพิพากษาให้เสร็จไปได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ (อ้างฎีกาที่ 144/2492)
ร้านแผงลอยเป็นสังหาริมทรัพย์
จำเลยอ้างพยานเอกสารไว้ด้วยในการประกอบข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ได้ยกร้านแผงลอยซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เทศบาลแล้วแต่เมื่อจำเลยเพียงนำพยานบุคคลมาสืบก็รับฟังได้เช่นนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำพยานเอกสารเช่นว่านั้นมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมโดยไม่ย้อนสำนวน
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดในประเด็นว่าจำเลยได้เช่าห้องพิพาทมาจากนายวิฑูรบิดานายเสียงจริงหรือไม่คดีมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรชี้ขาดว่า ฟังได้ว่าจำเลยได้เช่าห้องพิพาทจากนายวิฑูรโดยมิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้นั้นเป็นเรื่องศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งม.240(3) ม.240(3)ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำหรือไม่ย้อนก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนเสมอไป ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.240(3)
ศาลขั้นต้นมิได้ชี้ขาดในประเด็นว่าจำเลยได้เช่าห้องพิพาทมาจากนายวิฑูรบิดานายเสียงจริงหรือไม่ คดีมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ๆ เห็นสมควรชี้ขาดว่า ฟังได้ว่าจำเลยได้เช่าห้องพิพาทจากนายวิฑูรโดยมิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้นั้น เป็นเรื่องศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำได้ ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.240(3) ๆ ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำหรือไม่ย้อนก็ได้แล้วแต่ดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสละสิทธิห้ามเช่าช่วง: แม้สัญญาห้าม แต่หากผู้ให้เช่ายินยอมก็ถือเป็นการสละสิทธิ
แม้หนังสือสัญญาเช่าที่ดินจะมีข้อความห้ามเช่าช่วงเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก็ดี แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าให้เช่าช่วงปลูกห้องแถวให้ผู้อื่นเช่าอยู่อาศัยย่อมแสดงเจตนาของผู้ให้เช่าว่าได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว ผู้เช่าห้องแถวอยู่อาศัยก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
คดีที่คู่ความฎีกาในข้อ ก.ม. เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นก็มีอำนาจให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นให้สืบพยานแล้วสั่งใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคดีต่อศาลต้องมีข้อพิพาทตามกฎหมาย การฟ้องร้องต้องมีสิทธิหรือหน้าที่ที่ถูกโต้แย้ง
การเสนอคดีต่อศาลนั้น ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 55 บัญญัติว่า ต้องมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตาม กฎหมาย หรือบุคคลใดจะใช้สิทธิในทางศาล ซึ่งต้องมีกฎหมายสนับสนุน ไม่ใช่ว่ามีความปรารถนาหรือข้องใจอย่าง ใดเกิดขึ้นก็มาร้องขอให้ศาลชี้ขาดได้.
ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่จำต้องมาร้องต่อศาล ซึ่งศาลย่อมจะต้องยก คำร้องเสียนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องเช่นว่านั้นไว้แล้ว และมีผู้ร้องคัดค้านเข้ามาจนศาลชั้นต้นสั่ง และดำเนิน การพิจารณาเป็นคดีมีข้อพิพาทนั้น เรื่องสิทธิเสนอคดีต่อศาลพังกล่าวข้างต้น ก็เป็นอันผ่านไป.
ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยอาศัยข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยข้อกฎหมาย ยังมิได้วินิจฉัย ขอ้เท็จจริงนั้น เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ๆ ย่อมมีอำนาจที่จะฟังข้อเท็จจริง แล้วพิพากษาคดีไปทีเดียวได้โดยไม่จำ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่อีก./
of 7