พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลทรัพย์สินจากความผิดมูลฐานเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทรัพย์สินตามรายการที่ 4 ที่ 11 ถึงที่ 14 ที่ 16 และที่ 17 ตกเป็นของแผ่นดิน และให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 9 และที่ 10 ตกเป็นของแผ่นดิน โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ดอกผลของทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 ที่ 11 ถึงที่ 18 ตกเป็นของแผ่นดินด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 เมื่อผู้ร้องฎีกาในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 252
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์สินตามรายการที่ 1 ถึงที่ 8 และที่ 11 ถึงที่ 18 เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ดอกผลของทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงต้องตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายวงแชร์เป็นนิติบุคคล: นิติกรรมโมฆะ สิทธิเรียกร้องสมาชิกวงแชร์
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์" มาตรา 6 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้..." และมาตรา 7 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์" จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นไม่ ฉะนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแชร์รายพิพาทมีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การเล่นแชร์รายนี้ย่อมเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าการเล่นแชร์รายนี้มีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องวินิจฉัย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ยังมิได้วินิจฉัยดังกล่าวอาจเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาลเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3), 243 (3) (ข) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาซื้อขายโรงน้ำแข็ง กับคดีภาษีธุรกิจเฉพาะจากอสังหาริมทรัพย์เดียวกัน ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่าง
จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหรือไม่ เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้กล่าวแก้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็ง ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็งในส่วนที่เหลือ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงงานน้ำแข็งฉบับเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึงมาจากมูลฐานเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) และ 91/10 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ผู้มีรายรับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และโจทก์สามารถตรวจสอบหรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ได้ จึงถือว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว โจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็ง ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็งในส่วนที่เหลือ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงงานน้ำแข็งฉบับเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึงมาจากมูลฐานเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) และ 91/10 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ผู้มีรายรับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และโจทก์สามารถตรวจสอบหรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ได้ จึงถือว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว โจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถเช่าซื้อ, หน้าที่ส่งมอบรถสภาพเรียบร้อย, อายุความ 10 ปี
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินค่าซ่อมรถยนต์ที่เช่าซื้อ และจำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่าเงินค่าซ่อมขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์และคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงินค่าซ่อมรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือไม่ และฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ขาดอายุความแล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้องอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกาในประเด็นนี้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามสัญญาข้อ 5 (1) ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อมที่ศูนย์นิสสันแล้วไม่ชำระค่าซ่อม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้ศูนย์ดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ไปจึงจะยึดรถยนต์คืนมาได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามสัญญาข้อ 5 (1) ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อมที่ศูนย์นิสสันแล้วไม่ชำระค่าซ่อม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้ศูนย์ดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 ไปจึงจะยึดรถยนต์คืนมาได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 ได้ และในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทางแพ่งหลังผู้กู้เสียชีวิต: การพิจารณาอายุความสะดุดหยุดชะงักและการรู้ถึงการเสียชีวิต
เมื่อ ร. ลูกหนี้ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ร. จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้ มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามและวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/23 ทั้งนี้เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย
การจะวินิจฉัยปัญหาว่าคดีโจทก์ถ้าขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้ายหรือไม่ จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเสียก่อนว่าโจทก์ได้ทราบเรื่อง ร. ถึงแก่ความตายเมื่อใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด ทั้งคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 31,056.50 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ ของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
การจะวินิจฉัยปัญหาว่าคดีโจทก์ถ้าขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้ายหรือไม่ จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเสียก่อนว่าโจทก์ได้ทราบเรื่อง ร. ถึงแก่ความตายเมื่อใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แต่อย่างใด ทั้งคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 31,056.50 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ ของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402-7403/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการทำงาน (ค่าน้ำมัน/โทรศัพท์) ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่ระบุเหตุผล
นายจ้างจ่ายค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เป็นเงินเท่า ๆ กันทุกเดือน โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์หรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อย เท่าใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถหรือใบเสร็จค่าโทรศัพท์เป็นหลักฐานในการรับเงินดังกล่าว เงินค่าน้ำมันรถและค่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่าย บอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ก็ได้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง จำเลยจะยกเหตุว่าจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์มีความบกพร่องหรือมีความผิดตามคำให้การของจำเลยมาเป็นข้อต่อสู้ในการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน หากได้รับสำเนาคำพิพากษาหลังกำหนด ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาการที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาการที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-ได้รับสำเนาคำพิพากษาล่าช้า ศาลต้องพิจารณาขยายเวลาให้เพื่อความเป็นธรรม
หากเป็นความจริงตามคำร้องของจำเลยที่ว่า จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ กรณีถือได้ว่ามีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่
ศาลแรงงานไต่สวนพยานหลักฐานของจำเลยแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องของจำเลยว่าจำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลแรงงานเมื่อล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังกล่าวกรณีถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ศาลแรงงานจึงชอบจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยเข้าใจเรื่องระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงานผิดพลาด หากขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา94 (ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยพยานบุคคลขัดต่อข้อตกลงในสัญญา และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)