คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 37

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทน และผลของประกาศหวงห้ามที่ดินก่อนมีกฎหมาย
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการ แต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1858-1859/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเทศบาลในการครอบครองที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ที่ว่า ถ้ารัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินรกร้างว่าเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ให้ดำเนินการหวงห้ามตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ โดยต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น เป็นบทบัญญัติกำหนดวิธีการที่รัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐในภายหน้า
ไม่มีกฎหมายห้าม ณ ที่ใดว่า ส่วนราชการของรัฐจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติออกโฉนดซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น สำหรับให้พลเมืองใช้ร่วมกันตามหน้าที่ของส่วนราชการไม่ได้
เทศบาลซึ่งมีหน้าที่จัดให้มีสุสานและฌาปนสถานตามพระราชบัญญัติเทศบาล ดำเนินการขอจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าจนได้รับใบเหยียบย่ำและทำเป็นฌาปนสถานสำหรับราษฎร ใช้ฝังและเผาศพมา 20 ปีเศษแล้ว จนกลายสภาพเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แล้ว จังหวัดซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเทศบาล ย่อมมีสิทธิและอำนาจฟ้องผู้บุกรุกเข้ายึดถือเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตนให้ออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ, สิทธิรัฐเหนือกว่า, การบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ. แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด.
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน. ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้.
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด. ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา.
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้. แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่.
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา. หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินสาธารณะ: การครอบครองหลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครอง และสิทธิในการบังคับคดี: ผู้ครอบครองไม่มีสิทธิ แม้ชนะคดีกับราษฎร
ผู้ที่มิได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้จะแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค.1 ไว้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน. ย่อมจะมีการรับโอนหรือแย่งการครอบครองมิได้
ผู้มีสิทธิในที่ดิน หากทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด. ที่ดินย่อมตกเป็นของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครอง หากเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีความผิดทางอาญา
ราษฎรต่อราษฎรอาจพิพาทกันเองในเรื่องการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ แต่จะอ้างผลแห่งคำพิพากษาที่ตนชนะคดีนั้น หรือการครอบครองที่ผิดกฎหมายขึ้นใช้ยันรัฐหาได้ไม่
ที่ดินของรัฐหรือแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธินำยึดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากมีการยึด จังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลจ้าวเป็นของผู้จัดการศาลจ้าว ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคู่สัญญาเช่า
ศาลจ้าวเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและและตรวจตราสอบส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลจ้าวได้ไม่.
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลจ้าว ข้อ 14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลจ้าวทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลจ้าว และตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้นการที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลจ้าวในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลจ้าวซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลจ้าวเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลเจ้า: ผู้จัดการศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องแต่เพียงผู้เดียว รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจตราและอุดหนุน
ศาลเจ้าเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและตรวจตราสอดส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลเจ้าได้ไม่
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า ข้อ14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้น การที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลเจ้าในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลเจ้าซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของข้าราชการ & ผลคดีอาญาที่มีผลผูกพันคดีแพ่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการในขอบเขตแห่งวงหน้าที่ราชการ ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความในศาลได้เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าง ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาการแทนปลัดจังหวัดก็ย่อมเป็นบุคคลที่จะเป็นโจทก์ฟ้องร้องได้ในฐานเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 ที่ว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จะต้องรับฟังตามคำพิพากษาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของ ผวจ. และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการในขอบเขตแห่งวงหน้าที่ราชการ ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความในศาลได้ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าง ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาการแทนปลัดจังหวัดก็ย่อมเป็นบุคคลที่จะเป็นโจทก์ ฟ้องร้องได้ในฐานเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 47 ที่ว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้น ไม่ได้หมายถึงว่า จะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังคำพิพากษาในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ราชการซื้อเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ว่าฯ มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า
โรงเรียนประชาบาลประเภทโรงเรียนประถมศึกษาที่นายอำเภอตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินของประชาชนและเงินของการประถมศึกษาในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวได้จัดซื้อที่ 1 แปลงเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนและใช้เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกิจการของโรงเรียน ที่ดินดังกล่าวนับว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดโดยมีหน้าที่คุ้มครองและรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ฯลฯมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งผิดสัญญาเช่าที่โรงเรียนดังกล่าวแล้วได้
การที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เห็นแย้งในข้อกฎหมาย ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงในเมื่อทุนทรัพย์ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้
of 2