คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจเด็ดขาด และคำสั่งต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรื้อถอนอาคาร: ศาลยืนตามดุลพินิจเจ้าหน้าที่ หากไม่เกินอำนาจและมีเหตุผลสนับสนุน
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินและโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการสั่งรื้ออาคารและการตรวจสอบดุลพินิจ ศาลไม่แทรกแซงหากชอบด้วยกฎหมาย
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สิน และโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้ออาคารกับบุคคลภายนอกและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์ เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาทหากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาลเป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11,12, และพระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3,4,5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารกับความผูกพันต่อบุคคลภายนอก และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาท หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและการไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา11 ทวิ วรรคสาม การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคารจึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่นรื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้นหาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้ผู้เช่าจะได้รับผลกระทบ
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 11 และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้ว เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้น โดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีก เพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่า หรือบุคคลอื่นซิ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอน การกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของอาคารกับการรื้อถอนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้เช่าไม่มีสิทธิฟ้อง
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา11และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้วเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้นโดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีกเพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่าหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอนการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้ออาคารชำรุดและการบังคับผู้อยู่อาศัย: ศาลไม่อาจบังคับผู้อยู่อาศัยในคดีรื้อถอน หากไม่ได้ฟ้องเป็นคดีแยก
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อจำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: การบังคับบุคคลภายนอกคดี
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อ จำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนอนการตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้.
of 4