คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โชค จารุจินดา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญเมื่อหายตัวไปนานและไม่มีข้อมูลการกลับมา
ในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้บิดาของผู้ร้องเป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64. และมีผู้คัดค้านเข้ามาในคดี. เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่มีใครทราบแน่ว่า บิดาผู้ร้องเป็นตายร้ายดีอย่างไร. แต่เมื่อฟังได้ว่าบิดาผู้ร้องไปจากภูมิลำเนาได้ 20 ปีเศษแล้ว โดยไม่กลับมาอีกเลย. กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 ในอันที่จะมีคำสั่งให้บิดาผู้ร้องเป็นคนสาบสูญได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดชอบจากทรัพย์สินชำรุดบกพร่องและการส่งมอบเป็นงวด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น. ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว. หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้. โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย.
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ. สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด. มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน. แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน. แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง. จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา. แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด. แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง. หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย.หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง. ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่. แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก. เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้. งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว. ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น. แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย. ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง. อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467.
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา. ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย.ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้. และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474. ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป. แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง. จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายทรัพย์สินชำรุดบกพร่อง และการแยกพิจารณาหนี้ตามงวดการส่งมอบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องความรับผิดจากทรัพย์สินชำรุด/ขาดจำนวน แบ่งแยกงวดส่งมอบ & ความแตกต่างการไม่ชำระหนี้ vs. ชำรุดบกพร่อง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้ โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น 2 งวด แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลยหรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่ แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้ งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467
ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลยไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474 ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ สัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ และความเสี่ยงในการรับโอนสิทธิ
ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยครอบครองอยู่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญากัน โดยจำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์ และโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่มีผลในกฎหมาย
แม้จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และส่วนหนึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ จำเลยก็มีสิทธิครอบครองที่อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้นอกจากรัฐ เมื่อจำเลยส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์ครอบครอง โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครอง การที่จำเลยโอนการครอบครองที่พิพาทให้โจทก์และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนโดยทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันเอง เห็นได้ว่าโจทก์ยอมเสี่ยงภัยรับเอาซึ่งสิทธิครอบครองที่พิพาทในสภาพเท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ จะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินและทางสาธารณประโยชน์ย่อมไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลย เพราะจำเลยรับเงินไว้จากโจทก์เป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นกันไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ แม้สัญญาสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ แต่การส่งมอบการครอบครองมีผลผูกพัน
ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยครอบครองอยู่.โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญากัน. โดยจำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์. และโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทน.ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์. เมื่อไม่จดทะเบียน.ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่.จึงเป็นโมฆะ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่มีผลในกฎหมาย.
แม้จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และส่วนหนึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์. จำเลยก็มีสิทธิครอบครองที่อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้นอกจากรัฐ. เมื่อจำเลยส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์ครอบครอง. โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครอง. การที่จำเลยโอนการครอบครองที่พิพาทให้โจทก์และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนโดยทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันเอง. เห็นได้ว่าโจทก์ยอมเสี่ยงภัยรับเอาซึ่งสิทธิครอบครองที่พิพาทในสภาพเท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่. จะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินและทางสาธารณประโยชน์ย่อมไม่ได้.โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลย. เพราะจำเลยรับเงินไว้จากโจทก์เป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นกันไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ แม้สัญญามีโมฆะ แต่การส่งมอบการครอบครองมีผลผูกพัน
ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยครอบครองอยู่โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญากัน โดยจำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์ และโจทก์ให้เงินแก่จำเลยเป็นการตอบแทนดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่มีผลในกฎหมาย
แม้จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และส่วนหนึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ จำเลยก็มีสิทธิครอบครองที่อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้นอกจากรัฐ เมื่อจำเลยส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์ครอบครอง โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครอง การที่จำเลยโอนการครอบครองที่พิพาทให้โจทก์และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนโดยทั้งสองฝ่ายทำสัญญากันเอง เห็นได้ว่าโจทก์ยอมเสี่ยงภัยรับเอาซึ่งสิทธิครอบครองที่พิพาทในสภาพเท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ จะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินและทางสาธารณประโยชน์ย่อมไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลย เพราะจำเลยรับเงินไว้จากโจทก์เป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นกันไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจไต่สวน แต่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเมื่อเหตุเกิดไม่ต่อหน้าศาล
ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดต่อศาล ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่ว่าพยานหลักฐานเหล่านั้นฝ่ายใดจะได้อ้างหรือไม่ สำหรับกรณีที่การละเมิดอำนาจศาลได้กระทำต่อหน้าศาล ย่อมถือได้ว่าศาลได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏแก่ศาลเองแล้ว ศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไปได้ทีเดียว แต่ในกรณีที่การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่ได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงก่อนเพียงแต่สอบถามปากคำพยานโดยไม่ปรากฏว่าพยานเหล่านั้นได้สาบานตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112ถ้อยคำพยานเหล่านั้นจึงฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ (อ้าง ฎีกาที่ 824/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดอำนาจศาล: การไต่สวนพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความจริง
ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดต่อศาล ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่ว่าพยานหลักฐานเหล่านั้นฝ่ายใดจะได้อ้างหรือไม่ สำหรับกรณีที่การละเมิดอำนาจศาลได้กระทำต่อหน้าศาล ย่อมถือได้ว่าศาลได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏแก่ศาลเองแล้ว ศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไปได้ทีเดียว แต่ในกรณีที่การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่ได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงก่อนเพียงแต่สอบถามปากคำพยานโดยไม่ปรากฏว่าพยานเหล่านั้นได้สาบานตน หรือกล่าวคำปฏิญานว่าจะให้การตามสัตย์จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 ถ้อยคำพยานเหล่านั้นจึงฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 824/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจไต่สวนเองได้ แต่ต้องสอบพยานสาบานตนหากไม่ปรากฏต่อหน้าศาล
ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดต่อศาล. ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนได้เองตามที่เห็นสมควร. ไม่ว่าพยานหลักฐานเหล่านั้นฝ่ายใดจะได้อ้างหรือไม่. สำหรับกรณีที่การละเมิดอำนาจศาลได้กระทำต่อหน้าศาล. ย่อมถือได้ว่าศาลได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏแก่ศาลเองแล้ว. ศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไปได้ทีเดียว. แต่ในกรณีที่การกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่ได้กระทำต่อหน้าศาล. ศาลจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงก่อนเพียงแต่สอบถามปากคำพยานโดยไม่ปรากฏว่าพยานเหล่านั้นได้สาบานตน. หรือกล่าวคำปฏิญานว่าจะให้การตามสัตย์จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112.ถ้อยคำพยานเหล่านั้นจึงฟังเป็นความจริงยังไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 824/2492).
of 23