คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีโจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างรัฐวิสาหกิจกับการบังคับคดีสิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสงเคราะห์
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเป็นอิสระ เงินเดือนและเงินอื่นๆ ของลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา286(2) เมื่อจำเลยไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาลสิทธิเรียกร้องของจำเลยอันมีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในอันที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทน จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการโดยคณะกรรมการเป็นอิสระ เงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2)
เมื่อจำเลยไม่ใช่ลูกจ้างของรัฐบาลสิทธิเรียกร้องของจำเลยอันมีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยในอันที่จะได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ทดแทน จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนบังคับคดีได้ตาม กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนตกอยู่ในบังคับการบังคับคดี
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781-1786/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างและการจ่ายค่าจ้างช่วงพักงานตามระเบียบการรถไฟฯ กรณีลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ก่อนที่โจทก์ซึ่งเป็นคนงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะถูกตำรวจจับมาฟ้องคดีอาญาในข้อหากบฏภายในราชอาณาจักร โจทก์กับคนงานการรถไฟฯได้มีการหยุดงานกันมาก่อน แต่จำเลยคือการรถไฟฯไม่ได้สั่งพักงานโจทก์เพราะพฤติการณ์ดังกล่าวนี้หากแต่เห็นโจทก์มีปฏิกิริยาอื่นต่อมาจนตำรวจจับมาฟ้องการรถไฟฯจึงสั่งพักงานโจทก์ ในที่สุดได้ความชัดว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดทางอาญา แม้ว่าโจทก์จะได้กระทำผิดทางวินัยแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการสอบสวนโจทก์ตามระเบียบการของการรถไฟฯฉบับที่ 7 ข้อ 7,9 เช่นนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการรถไฟฯจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์ การที่การรถไฟฯจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเอง จะปรับให้โจทก์รับผิดในการกระทำของการรถไฟฯจำเลยนั้นไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781-1786/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรถไฟฯ ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงพักงาน แม้ผู้ถูกพักงานกระทำผิดวินัย แต่ไม่ได้สอบสวนตามระเบียบ
ก่อนที่โจทก์ซึ่งเป็นคนงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะถูกตำรวจจับมาฟ้องคดีอาญาในข้อหากบฎภายในราชอาณาจักร โจทก์กับคนงานการรถไฟฯ ได้มีการหยุดงานกันมาก่อน แต่จำเลยคือการรถไฟฯไม่ได้สั่งพักงานโจทก์เพราะพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ หากแต่เห็นโจทก์มีปฏิกิริยาอื่นต่อมาจนตำรวจจับมาฟ้อง การรถไฟฯจึงสั่งพักงานโจทก์ ในที่สุดได้ความชัดว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดทางอาญา แม้ว่าโจทก์จะได้กระทำผิดทางวินัย
แต่ก็ไม่ปรากฎว่าได้มีการสอบสวนโจทก์ตามระเบียบการของการรถไฟฯ ฉบับที่ 7 ข้อ 7,9 เช่นนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าการรถไฟฯ จำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์การที่การรถไฟฯจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเอง จะปรับให้โจทก์รับผิดในการกระทำของการรถไฟฯจำเลยนั้นไม่ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)
of 2