คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บัญญัติ สุขารมณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บุคคลเดิมและบุคคลที่ร้องสอดคดี ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำหากไม่ใช่คู่ความเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่บุตรเขยจำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท ซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์บุตรเขยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทบุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้าต่อสู้คดีร่วมกับจำเลย ดังนี้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะจำเลยในคดีนี้มิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนการที่บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเองไม่ทำให้ฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นฟ้องซ้ำส่วนคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอด ไม่ว่าบุตรเขยจำเลยจะมีอำนาจร้องสอดหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนจะผูกพันโจทก์กับผู้ร้องสอดเพียงใดหรือไม่และคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ศาลก็ย่อมพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปได้โดยไม่จำต้องแยกวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-บังคับคดีตามยอม: ศาลยกฟ้องกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ตามฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปขุดดินทำไร่ไถนาในที่ดินของโจทก์ภายในเขตเสาหินที่เจ้าพนักงานปักไว้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่รู้แนวเขตที่ของโจทก์จำเลยแน่ชัด จำเลยเข้าใจว่าเป็นเขตที่ดินของตนเอง ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินโจทก์ ดังนี้ จำเลยจะมายกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์ เนื่องจากยังมิได้มีการทำสัญญาแบ่งแยกนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อที่มิได้กล่าวอ้างมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด
โจทก์เคยเป็นความกับจำเลยมาก่อนในคดีแดงที่ 211/2505 ของศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งผลที่สุดได้ตกลงทำสัญญายอมความแบ่งที่พิพาทกัน และศาลได้พิพากษาตามสัญญายอมอันถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยขัดขืนไม่ยอมไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานทะเบียนที่ดิน ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นเอง การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินอันเป็นประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทรายเดียวกันนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและบังคับตามคำพิพากษาตามยอม การฟ้องร้องประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลตัดสินแล้วเป็นฟ้องซ้ำ
ตามฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปขุดดินทำไร่ไถนาในที่ดินของโจทก์ภายในเขตเสาหินที่เจ้าพนักงานปักไว้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่รู้แนวเขตที่ของโจทก์จำเลยแน่ชัด จำเลยเข้าใจว่าเป็นเขตที่ดินของตนเอง ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินโจทก์ดังนี้ จำเลยจะมายกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์เนื่องจากยังมิได้มีการทำสัญญาแบ่งแยกนั้นหาได้ไม่เพราะเป็นข้อที่มิได้กล่าวอ้างมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด
โจทก์เคยเป็นความกับจำเลยมาก่อนในคดีแดงที่ 211/2505 ของศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งผลที่สุดได้ตกลงทำสัญญายอมความแบ่งที่พิพาทกันและศาลได้พิพากษาตามสัญญายอมอันถึงที่สุดแล้วเช่นนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยขัดขืนไม่ยอมไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานทะเบียนที่ดินก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นเองการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินอันเป็นประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทรายเดียวกันนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและผลของสัญญายอมความ: ศาลยกฟ้องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเดิม แต่เปิดทางบังคับคดี
ตามฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปขุดดินทำไร่ไถนาในที่ดินของโจทก์ภายในเขตเสาหินที่เจ้าพนักงานปักไว้. ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่รู้แนวเขตที่ของโจทก์จำเลยแน่ชัด. จำเลยเข้าใจว่าเป็นเขตที่ดินของตนเอง ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินโจทก์.ดังนี้ จำเลยจะมายกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย. เพราะโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์. เนื่องจากยังมิได้มีการทำสัญญาแบ่งแยกนั้นหาได้ไม่. เพราะเป็นข้อที่มิได้กล่าวอ้างมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์. และทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด.
โจทก์เคยเป็นความกับจำเลยมาก่อนในคดีแดงที่ 211/2505ของศาลจังหวัดนครปฐม. ซึ่งผลที่สุดได้ตกลงทำสัญญายอมความแบ่งที่พิพาทกัน. และศาลได้พิพากษาตามสัญญายอมอันถึงที่สุดแล้วเช่นนี้. เมื่อปรากฏว่าจำเลยขัดขืนไม่ยอมไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานทะเบียนที่ดิน. ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงในคดีเดิมนั้นเอง. การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ไปทำสัญญาแบ่งแยกที่ดินอันเป็นประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทรายเดียวกันนี้อีก. จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มิได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า. แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม. ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น. ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง.
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224. แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม. เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน และผลกระทบต่อผู้รับโอนทรัพย์สิทธิ สัญญาเช่าระยะเวลาเกิน 3 ปีมีผลบังคับใช้แค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีบุกรุกที่ดิน: โจทก์ต้องนำสืบก่อนหากอ้างว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้นโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตที่ดินพิพาท: โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อนหากอ้างว่าที่ดินอยู่ในโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสองมิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีบุกรุกที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ก่อนว่าที่ดินอยู่ในเขตโฉนดของตน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์. จำเลยให้การว่าที่ดินตามโฉนดของโจทก์มีอาณาเขตติดกับที่ดินตามโฉนดของจำเลยจริง. จำเลยไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ และว่าที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ในเขตโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแล้ว. ประเด็นจึงมีว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์หรือจำเลยเท่านั้น.โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน. จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของในโฉนด หรือต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์. โจทก์จะยกเอาข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 มาเป็นประโยชน์ในคดีนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้ จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ได้.
เมื่อศาลฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในโฉนดของจำเลยทั้งสอง. มิได้ฟังว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งอยู่ในโฉนดของโจทก์ซึ่งเป็นวัด. ไม่จำต้องหยิบยกเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ใช้บังคับ.
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด. ไม่ใช่ที่ดินในโฉนดของโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ฟ้องแย้งด้วย ก็มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่แล้วว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์หรือของจำเลย. ศาลย่อมวินิจฉัยไปตามประเด็นนั้นได้โดยไม่ต้องให้จำเลยฟ้องแย้ง. คำวินิจฉัยของศาลที่เชื่อว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยพิพากษายกฟ้อง. จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142.
of 39