คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม ทัตภิรมย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 641 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าในคดีทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากบาดแผลและอาวุธ
จำเลยทั้งสองเข้าไปที่ลานนวดข้าวของผู้เสียหาย พอผู้เสียหายกำลังกันเอาข้าวเปลือกให้เป็ดกิน จำเลยทั้งสองก็กระโจนเข้าไปใช้เหล็กแหลมแทงผู้เสียหายถูกที่บริเวณศีรษะ ที่สะบัก ที่หลังและที่แขนมีบาดแผล 14 แผล แผลมีลักษณะเป็นสามแฉกเป็นส่วนมากแพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 14 วัน จึงเป็นบาดแผลเพียงบาดเจ็บไม่ถึงกับเป็นอันตรายสาหัส และไม่ถูกอวัยวะสำคัญอาวุธที่ใช้ทำร้ายเป็นเพียงเหล็กแหลม ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นชนิด ขนาด ประเภทใด ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า จึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจแม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้นไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขคำให้การและคำฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ยกเลิกกระบวนพิจารณาได้หรือไม่
เหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 นั้น ศาลสูงจะหยิบยกขึ้นอ้างตามมาตรานี้ได้ จะต้องมีเหตุอันสมควร เช่นว่า ทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายในการต่อสู้คดีเป็นต้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ (มีคำฟ้องแย้งติดมาด้วย) โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์เป็นระยะเวลาตามที่มาตรา 181 กำหนดไว้นั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แต่กลับปรากฏว่าโจทก์ยื่นคำแก้คำให้การเพิ่มเติมและฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจ แม้ในอุทธรณ์ของโจทก์ก็มิได้กล่าวถึงเรื่องนี้ รูปคดีไม่น่าจะเห็นว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหยิบยกเหตุนี้ขึ้นสั่งยกเลิกกระบวนพิจารณาบางส่วนของศาลชั้นต้น
คำฟ้องแย้งที่ติดมากับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ไม่ใช่คำร้องที่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนสั่งรับคำร้องนั้น
คำสั่งศาลที่ให้รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการขัดขวางการครอบครอง แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ
ตามฟ้องของโจทก์โดยสารสำคัญแห่งมูลหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด มิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่า อันโจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เช่าที่จากจำเลย ก็เป็นเรื่องรายละเอียดเพื่อแสดงให้รู้ว่าโจทก์เช่า ครอบครอง ใช้หรือรับประโยชน์จากสถานที่รายนี้เพราะมีเหตุมาอย่างไรเท่านั้น ส่วนเนื้อเรื่องที่แท้จริงอันเป็นสิทธิหน้าที่ในทางแพ่งที่นำมาฟ้องเพราะโต้แย้งกันนั้น ก็คือจำเลยเข้าไปปิดใส่กุญแจสถานที่ทำให้การครอบครองของโจทก์ขัดข้องซึ่งถ้าเป็นจริงดังโจทก์ว่าก็ย่อมเป็นการละเมิดตามกฎหมายได้ กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์อีกขั้นหนึ่งที่ว่า เมื่อโจทก์ครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่าคนใด ๆ เข้ามาขัดขวางก็ย่อมเป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการขัดขวางการครอบครอง แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ก็สามารถฟ้องได้
ตามฟ้องของโจทก์โดยสารสำคัญแห่งมูลหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด มิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า อันโจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เช่าที่จากจำเลย ก็เป็นเรื่องรายละเอียดเพื่อแสดงให้รู้ว่าโจทก์เช่า ครอบครอง ใช้หรือรับประโยชน์จากสถานที่รายนี้เพราะมีเหตุมาอย่างไรเท่านั้น ส่วนเนื้อเรื่องที่แท้จริงอันเป็นสิทธิหน้าที่ในทางแพ่งที่นำมาฟ้องเพราะโต้แย้งกันนั้น ก็คือจำเลยเข้าไปใส่กุญแจสถานที่ทำให้การครอบครองของโจทก์ขัดข้อง ซึ่งถ้าเป็นจริงดังโจทก์ว่า ก็ย่อมเป็นการละเมิดตามกฎหมายได้ กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์อีกขั้นหนึ่งที่ว่า เมื่อโจทก์ครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่าคนใด ๆ เข้ามาขัดขวางก็ย่อมเป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสะสมข้าราชการเป็นเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดี
เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จะยึดหรืออายัดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความกรณีตกลงจ้างแต่ยังมิได้กำหนดอัตราค่าจ้าง ศาลมีอำนาจพิจารณาให้ตามสมควรแก่กิจการที่ทำ
ในกรณีที่จำเลยเพียงแต่ตกลงจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความดำเนินคดีโดยยังมิได้ตกลงกำหนดอัตราค่าจ้างกับโจทก์เป็นจำนวนเท่าใดแน่นอนนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่กิจการที่โจทก์ได้กระทำไปได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เพียงแต่พาจำเลยไปอายัดที่ดินไว้ ณ สำนักงานที่ดิน และมิได้ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลแต่ประการใดการที่จำเลยกับ พ. ตกลงเรื่องที่พิพาทกันได้ ก็เพราะบุคคลภายนอกเป็นผู้ไกล่เกลี่ยไม่ใช่โจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลกำหนดค่าจ้างให้โจทก์ 2,000 บาท จึงย่อมเป็นการสมควรแก่งานที่โจทก์ได้กระทำไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความกรณีตกลงจ้างแต่ยังไม่ได้กำหนดอัตราค่าจ้าง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามสมควรแก่กิจการ
ในกรณีที่จำเลยเพียงแต่ตกลงจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความดำเนินคดี โดยยังมิได้ตกลงกำหนดอัตราค่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใดแน่นอนนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่กิจการที่โจทก์ได้กระทำไปได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เพียงแต่พาจำเลยไปอายัดที่ดินไว้ ณ สำนักงานที่ดิน และมิได้ดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลแต่ประการใด การที่จำเลยกับ พ. ตกลงเรื่องที่พิพาทกันได้ ก็เพราะบุคคลภายนอกเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ไม่ใช่โจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลกำหนดค่าจ้างให้โจทก์ 2,000 บาท จึงย่อมเป็นการสมควรแก่งานที่โจทก์ได้กระทำไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหง: การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
จำเลยถูกสามีบังคับให้ไปเป็นหญิงโสเภณี จำเลยไม่ยอม สามีก็เตะและเอามือค้ำคอจำเลยไว้ จนผู้อื่นต้องมาห้ามจำเลยเข้าห้องร้องไห้และพูดโต้เถียงกับสามีซึ่งนั่งอยู่หน้าห้อง แล้วจำเลยเอามีดมาฟันสามีจนถึงแก่ความตายนั้น ถือว่าจำเลยได้กระทำไปโดยบันดาลโทสะเพราะถูกสามีข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และจำเลยตกอยู่ในภาวะอันสุดแสนที่จะทนทานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: เหตุผลสมควรเชื่อว่าความผิดเกิดในพื้นที่
จำเลยถูกกล่าวหาในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้บริษัทผู้เสียหายในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวังแต่เมื่อบริษัทผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักโดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้บริษัทผู้เสียหายในท้องที่อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักเชื่อเช่นนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสองและเมื่อสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
of 65