พบผลลัพธ์ทั้งหมด 641 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน และผลกระทบต่อการฟ้องขับไล่
ขณะฟ้องจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ในระหว่างศาลฎีกาทำการพิจารณาคดีนี้ปรากฏว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 มาตรา 21 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 มาตรา 3กำหนดให้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504เฉพาะมาตรา 11 และ 17 ใช้บังคับได้เพียง 8 ปี นับแต่พระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2504 มาตรา 11 และ17 ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับหรือเลิกใช้ บังคับแล้ว จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวต่อไป ดังนี้ ศาลฎีกาจะยกเอาความสิ้นสุดของพระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ดังกล่าว ในระหว่างพิจารณามา เป็นเหตุพิพากษาขับไล่จำเลยไม่ได้ เพราะเหตุที่ศาลจะยกขึ้นพิพากษา ขับไล่จำเลยได้ จะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ในขณะฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของกฎหมายที่สิ้นผลบังคับกับคดีระหว่างพิจารณา: ศาลฎีกาไม่สามารถใช้เหตุสิ้นสุดกฎหมายระหว่างพิจารณาเพื่อพิพากษาขับไล่ได้
ขณะฟ้องจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ในระหว่างศาลฎีกาทำการพิจารณาคดีนี้ปรากฏว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 มาตรา 21 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 มาตรา 3กำหนดให้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 เฉพาะมาตรา 11 และ 17 ใช้บังคับได้เพียง 8 ปี นับแต่พระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ใช้บังคับ (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2504) มาตรา 11 และ17 ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับหรือเลิกใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวต่อไปดังนี้ ศาลฎีกาจะยกเอาความสิ้นสุดของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ดังกล่าว ในระหว่างพิจารณามาเป็นเหตุพิพากษาขับไล่จำเลยไม่ได้ เพราะเหตุที่ศาลจะยกขึ้นพิพากษาขับไล่จำเลยได้ จะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิการเช่า vs. การยินยอมให้ปลูกสร้าง และผลกระทบต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444-445/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเป็นจำเลยร่วม: การขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยอื่นทำให้คำร้องสอดถูกยก
ในคดีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามแปลงผู้ร้องร้องสอดเข้ามาว่า ที่ดินทั้งสามแปลงนี้เป็นของตนกึ่งหนึ่งขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเพื่อสู้กับโจทก์เป็นการรักษาสิทธิของตนเช่นนี้ เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ดังนั้นเมื่อข้ออ้างในคำร้องสอดขัดกับคำให้การของจำเลยอื่น ๆ ศาลชอบที่จะสั่งให้ยกคำร้องสอดเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444-445/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดเป็นจำเลยร่วม: ศาลมีอำนาจยกหากข้ออ้างขัดแย้งกับคู่ความอื่น
ในคดีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามแปลง ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาว่า ที่ดินทั้งสามแปลงนี้เป็นของตนกึ่งหนึ่งขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเพื่อสู้กับโจทก์เป็นการรักษาสิทธิของตน เช่นนี้ เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ดังนั้นเมื่อข้ออ้างในคำร้องสอดขัดกับคำให้การของจำเลยอื่น ๆ ศาลชอบที่จะสั่งให้ยกคำร้องสอดเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีอาญาเพื่อช่วยเหลือจำเลย ทำให้ศาลยกฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
ข้อสำคัญในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 859/2511 คือ นายเทพหรือสุเทพได้ใช้ปืนยิงจำเลยกับพวกจริงหรือไม่ ฉะนั้นข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความว่าจำเลยได้ยินเสียงปืนดัง 10 นัด เข้าใจว่าเป็นเสียงปืนที่ยิงพวกจำเลยเพื่อแสดงว่าจำเลยไม่เห็นใครยิงปืนขึ้น10 นัด ทั้ง ๆ ที่ความจริงจำเลยเห็นนายเทพหรือสุเทพเป็นคนใช้ปืนกระหน่ำยิงมาทางจำเลยเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ปล่อยนายเทพหรือสุเทพไป จึงเป็นข้อสารสำคัญในคดี จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลยในคดีอาญา, เป็นข้อสำคัญในคดี, มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
ข้อสำคัญในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 859/2511 คือ นายเทพหรือสุเทพได้ใช้ปืนยิงจำเลยกับพวกจริงหรือไม่ ฉะนั้น ข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความว่าจำเลยได้ยินเสียงปืนดัง 10 นัด เข้าใจว่าเป็นเสียงปืนที่ยิงพวกจำเลย เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่เห็นใครยิงปืนขึ้น10 นัด ทั้ง ๆ ที่ความจริงจำเลยเห็นนายเทพหรือสุเทพเป็นคนใช้ปืนกระหน่ำยิงมาทางจำเลยเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ปล่อยนายเทพหรือสุเทพไป จึงเป็นข้อสารสำคัญในคดี จำเลยต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีหน้าที่ชำระหนี้กองมรดก แม้การหย่าไม่เป็นไปตามรูปแบบกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยตายก่อนได้รับคำบังคับ โจทก์ขอให้ส่งคำบังคับแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นภรรยาจำเลยแทนได้ และการที่ศาลพิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของจำเลย เอาทรัพย์สินจากกองมรดกของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแก่ทายาท: ศาลสั่งให้ทายาทชำระหนี้จากกองมรดกได้ ไม่เกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยตายก่อนได้รับคำบังคับ โจทก์ขอให้ส่งคำบังคับแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นภรรยาจำเลยแทนได้ และการที่ศาลพิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของจำเลย เอาทรัพย์สินจากกองมรดกของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ