คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม ทัตภิรมย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 641 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28-29/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ดิน: การตีความคำฟ้องและขอบเขตการครอบครองปรปักษ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินทั้งแปลง แม้ในตอนท้ายจะมีข้อความว่า 'ได้พยายามพูดจาให้จำเลยทั้งสองออกไปเสียจากบ้านเลขที่ 5อันเป็นบริเวณสุสาน' ซึ่งอาจเข้าใจว่าหมายถึงเฉพาะให้จำเลยออกจากศาลาที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีคำว่า บริเวณสุสานติดต่อกันไป อันหมายความได้ว่าให้จำเลยทั้งสองออกจากบริเวณสุสานนั่นเอง ทั้งในตอนสุดท้ายของคำฟ้องมีข้อความว่า 'จำเป็นต้องฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนโรงถ่านออกไปเสียจากบริเวณบ้านเลขที่ 5 ซึ่งเป็นบริเวณของสุสานด้วย'เห็นได้ชัดว่า โจทก์ต้องการขับไล่จำเลยออกจากที่ทั้งแปลงคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านเลขที่ 5 อันเป็นบริเวณสุสาน จึงเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองออกจากที่ทั้งแปลง มิใช่เพียงเฉพาะขอให้บังคับจำเลยออกจากศาลาและให้รื้อถอนโรงถ่าน
คดีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลงซึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทุนทรัพย์เป็นการถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์ที่พิพาทและเรียกค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ฎีกาตามราคาทุนทรัพย์ แต่ที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลสำหรับศาลชั้นต้นไว้ให้ครบ โดยเรียกไว้เพียง 50 บาทเป็นการคลาดเคลื่อนไปนั้น ทำให้เกิดความผิดพลาดเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาด ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆหรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28-29/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ดินทั้งแปลง: ศาลฎีกาวินิจฉัยราคาทุนทรัพย์และขอบเขตการฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินทั้งแปลง แม้ในตอนท้ายจะมีข้อความว่า "ได้พยายามพูดจาให้จำเลยทั้งสองออกไปเสียจากบ้านเลขที่ 5 อันเป็นบริเวณสุสาน" ซึ่งอาจเข้าใจว่า หมายถึงเฉพาะให้จำเลยออกจากศาลาที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีคำว่า บริเวณสุสาน ติดต่อกันไป อันหมายความได้ว่า ให้จำเลยทั้งสองออกจากบริเวณสุสานนั่นเอง ทั้งในตอนสุดท้ายของคำฟ้องมีข้อความว่า "จำเป็นต้องฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนโรงถ่านออกไปเสียจากบริเวณบ้านเลขที่ 5 ซึ่งเป็นบริเวณของสุสานด้วย" เห็นได้ชัดว่า โจทก์ต้องการขับไล่จำเลยออกจากที่ทั้งแปลงคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านเลขที่ 5 อันเป็นบริเวณสุสาน จึงเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองออกจากที่ทั้งแปลง มิใช่เพียงเฉพาะขอให้บังคับจำเลยออกจากศาลา และให้รื้อถอนโรงถ่าน
คดีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลงซึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทุนทรัพย์ เป็นการถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์ที่พิพาท และเรียกค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ฎีกาตามราคาทุนทรัพย์แต่ที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลสำหรับศาลชั้นต้นไว้ให้ครบ โดยเรียกไว้เพียง 50 บาท เป็นการคลาดเคลื่อนไปนั้น ทำให้เกิดความผิดพลาดเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาด ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่น ๆ หรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเว้นการต่อสู้คัดค้านอายุความรับมรดกจากการยอมรับการแบ่งทรัพย์มรดกหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก. เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า20 ปีแล้วนั้น. ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว. จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 1607/2505).
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย. ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร. เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น.ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานเดินรถต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากความเสียหายต่อร่างกายและขาดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเหตุละเมิดของลูกจ้าง และการเรียกค่าเสียหายจากความพิการและขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานต่อการดำเนินงานของผู้อื่น และการเรียกค่าเสียหายจากความเสียหายทางร่างกายและขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3. เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3. จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง.(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510).
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต. โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444. และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446. โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลายของลูกหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย, อายุความ
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) นั้น หมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่ จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้ จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่ง, สัญญาค้ำประกัน, ผลกระทบการล้มละลายของลูกหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) นั้นหมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่
of 65