คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม ทัตภิรมย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 641 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัยต้องแสดงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 880
กรณีผู้รับประกันวินาศภัยเป็นโจทก์ฟ้องผู้กระทำละเมิด โดยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยนั้น คำฟ้องจะต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ผู้รับประกันวินาศภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ถ้ามิได้บรรยายฟ้องดังกล่าวถือว่าคำฟ้องนั้นขาดสารสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ศาลจึงต้องยกฟ้องโดยถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748-2749/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าฝากทรัพย์ - การคิดค่าฝากสิ้นสุดเมื่อเจ้าของของขอขนออกแต่ถูกปฏิเสธ
จำเลยสั่งสินค้าจากต่างประเทศนำเข้ามาโดยทางเรือและขนถ่ายขึ้นที่ท่าเรือของโจทก์ แล้วฝากเก็บสินค้านั้นไว้ที่โรงพักสินค้าของโจทก์จำเลยย่อมมีความผูกพันตามสัญญาฝากทรัพย์ที่จะต้องชำระบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ แม้โจทก์จะเก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีจนเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นเสื่อมเสียไปบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากของโจทก์ต้องสูญสิ้นไป ความเสียหายอันเกิดจากการเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝากไว้ไม่ดีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเรียกร้องเอาแก่กันอีกส่วนหนึ่ง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นองค์การประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน มีบทกฎหมายพิเศษที่ ก่อตั้งและรับรองโจทก์ ให้โจทก์มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือซึ่งรวมทั้งค่าฝากทรัพย์ที่เก็บไว้ที่ท่าเรือนั้นด้วย ผู้ใดมาใช้บริการเอาทรัพย์ฝากเก็บไว้ที่ท่าเรือ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้นั้นก็เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตกลงกันในเรื่องบำเหน็จค่าฝากดังเช่นกรณีของบุคคลธรรมดาเพราะเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงกันในตัวให้ถือตามอัตราที่โจทก์กำหนดแม้ภายหลังจากโจทก์รับฝากทรัพย์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์จะกำหนดอัตราค่าฝากทรัพย์ขึ้นใหม่สูงขึ้นกว่าเดิม ก็ถือได้ว่าอัตราค่าฝากใหม่นั้นเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข้อตกลงเดิมในสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ขึ้นราคาค่าฝาก แต่ไม่ขนทรัพย์ออกไปคงฝากไว้กับโจทก์อยู่เรื่อยมา จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงยอมเสียค่าบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ตามอัตราใหม่ แม้จำนวนบำเหน็จค่าฝากจะท่วมราคาทรัพย์ที่ฝากมากก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ก็ขอหักกลบลบหนี้กันค่าเสียหายที่โจทก์เก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ค่าเสียหายที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ โจทก์นำสืบปฏิเสธว่าทรัพย์ของจำเลยไม่เสียหาย จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่
ทรัพย์ที่ฝากย่อมจะถูกยึดหน่วงเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าฝาก แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยนำสินค้าของจำเลยออกไปจากโรงพักสินค้าของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยได้จัดการปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระบำเหน็จค่าฝาก แต่ต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยนำสินค้าออกไปแล้ว แม้สินค้าจะยังอยู่ในโรงพักสินค้าของโจทก์ต่อมาก็เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิยึดถือเอาไว้เองตามสิทธิยึดหน่วงของโจทก์มิใช่จำเลยฝ่าฝืนไม่นำออกไป การคิดบำเหน็จค่าฝากทรัพย์จาก จำเลยตามคำพิพากษาจึงต้องยุติลงในวันที่จำเลยไปขอขนสินค้าออกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้ขน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748-2749/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหนี้ค่าฝากทรัพย์-การคิดค่าฝาก-การบังคับตามคำพิพากษา-การสิ้นสุดสิทธิ
จำเลยสั่งสินค้าจากต่างประเทศนำเข้ามาโดยทางเรือและขนถ่ายขึ้นที่ท่าเรือของโจทก์ แล้วฝากเก็บสินค้านั้นไว้ที่โรงพักสินค้าของโจทก์จำเลยย่อมมีความผูกพันตามสัญญาฝากทรัพย์ที่จะต้องชำระบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ แม้โจทก์จะเก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีจนเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นเสื่อมเสียไปบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากของโจทก์ต้องสูญสิ้นไป ความเสียหายอันเกิดจากการเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝากไว้ไม่ดีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเรียกร้องเอาแก่กันอีกส่วนหนึ่ง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นองค์การประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน มีบทกฎหมายพิเศษที่ก่อตั้งและรับรองโจทก์ ให้โจทก์มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือซึ่งรวมทั้งค่าฝากทรัพย์ที่เก็บไว้ที่ท่าเรือนั้นด้วย ผู้ใดมาใช้บริการเอาทรัพย์ฝากเก็บไว้ที่ท่าเรือ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้นั้นก็เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตกลงกันในเรื่องบำเหน็จค่าฝากดังเช่นกรณีของบุคคลธรรมดา เพราะเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงกันในตัวให้ถือตามอัตราที่โจทก์กำหนดแม้ภายหลังจากโจทก์รับฝากทรัพย์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์จะกำหนดอัตราค่าฝากทรัพย์ขึ้นใหม่สูงขึ้นกว่าเดิม ก็ถือได้ว่าอัตราค่าฝากใหม่นั้นเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข้อตกลงเดิมในสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ขึ้นราคาค่าฝาก แต่ไม่ขนทรัพย์ออกไปคงฝากไว้กับโจทก์อยู่เรื่อยมา จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงยอมเสียค่าบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ตามอัตราใหม่ แม้จำนวนบำเหน็จค่าฝากจะท่วมราคาทรัพย์ที่ฝากมากก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ก็ขอหักกลบลบหนี้กันค่าเสียหายที่โจทก์เก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ค่าเสียหายที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ โจทก์นำสืบปฏิเสธว่าทรัพย์ของจำเลยไม่เสียหาย จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่
ทรัพย์ที่ฝากย่อมจะถูกยึดหน่วงเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าฝาก แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยนำสินค้าของจำเลยออกไปจากโรงพักสินค้าของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยได้จัดการปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระบำเหน็จค่าฝาก แต่ต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยนำสินค้าออกไปแล้ว แม้สินค้าจะยังอยู่ในโรงพักสินค้าของโจทก์ต่อมาก็เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิยึดถือเอาไว้เองตามสิทธิยึดหน่วงของโจทก์มิใช่จำเลยฝ่าฝืนไม่นำออกไป การคิดบำเหน็จค่าฝากทรัพย์จากจำเลยตามคำพิพากษาจึงต้องยุติลงในวันที่จำเลยไปขอขนสินค้าออกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้ขน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน การได้รับค่าจ้างรายวันถือเป็นช่วงทดลองงาน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับ การเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดีมีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน ไม่ใช่แค่ค่าจ้างรายวัน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดี มีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลที่อาจชนะคดีได้ มิใช่เพียงโอกาสชนะ
จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณา และศาลพิพากษาให้แพ้คดี ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ในคำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล เพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไร คงกล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี จำเลยก็มีโอกาสชนะคดีได้เท่านั้น คำขอเช่นนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาใหม่ได้
ปัญหาที่ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 208 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง โจทก์ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้
(วรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าหลังเลิกสัญญาก่อสร้าง: โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเช่าห้องพิพาท แม้สร้างเสร็จตามสัญญา
กระทรวงการคลัง ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินราชพัสดุ ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์มีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี หากโจทก์ปลูกสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสัญญาโจทก์ต้องส่งมอบสิ่งปลูกสร้างส่วนที่สร้างไม่เสร็จให้กระทรวงการคลังพร้อมกับชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังริบเอาเป็นของกระทรวงการคลัง และให้บอกเลิกสัญญาได้ทันที ปรากฏว่าโจทก์ปลูกสร้างอาคารตึกแถวงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องทำรวม 52 คูหาเสร็จเพียง 40คูหารวมทั้งห้องพิพาทด้วย อีก 12 คูหายังไม่เสร็จกระทรวงการคลังได้บอกเลิกสัญญาทั้งหมดและบอกริบเอาตึกแถวที่สร้างเสร็จ 40 คูหา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับกระทรวงการคลังได้ยกเลิกกันไปโดยชอบเสียก่อนแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอาศัยข้อสัญญาที่หมดผลไปแล้วนั้น มาฟ้องขอให้บังคับกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทได้ ส่วนผลงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องจากกระทรวงการคลังประการใดเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าหลังสัญญาก่อสร้างเลิก: โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเช่าเมื่อสัญญาหมดผล
กระทรวงการคลัง ทำสัญญากับโจทก์ให้โจทก์เป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินราชพัสดุ ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์มีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี หากโจทก์ปลูกสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสัญญา โจทก์ต้องส่งมอบสิ่งปลูกสร้างส่วนที่สร้างไม่เสร็จให้กระทรวงการคลังพร้อมกับชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังริบเอาเป็นของกระทรวงการคลัง และให้บอกเลิกสัญญาได้ทันที ปรากฏว่าโจทก์ปลูกสร้างอาคารตึกแถวงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องทำรวม 52 คูหา เสร็จเพียง 40คูหารวมทั้งห้องพิพาทด้วย อีก 12 คูหายังไม่เสร็จกระทรวงการคลังได้บอกเลิกสัญญาทั้งหมดและบอกริบเอาตึกแถวที่สร้างเสร็จ 40 คูหา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับกระทรวงการคลังได้ยกเลิกกันไปโดยชอบเสียก่อนแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอาศัยข้อสัญญาที่หมดผลไปแล้วนั้น มาฟ้องขอให้บังคับกระทรวงการคลังยอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทได้ ส่วนผลงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องจากกระทรวงการคลังประการใด เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดมาตรา 147 อาญา: เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯ โดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการ แม้ไม่ใช่ทรัพย์ของทางราชการโดยตรง ก็มีความผิดตามมาตรา 147
ความผิดตามมาตรา 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นเรื่องบัญญัติเอาผิดแก่เจ้าหน้าที่ที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ ไม่ใช่เอาผิดแต่เฉพาะว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของทางการหรือของใคร
การที่โจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินผลประโยชน์ของทางการรถไฟฯโดยแท้ ดังนี้ ไม่เป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความต่างกับฟ้องอันจำเป็นที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
of 65