คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อาจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 422 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งสินสมรสก่อนคดีหย่าถึงที่สุด แม้จำเลยอุทธรณ์คดีหย่าแต่ไม่แจ้งต่อศาลในคดีแบ่งสินสมรส
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอแบ่งสินสมรสจากจำเลย ก็ได้อ้างถึงคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยว่าศาลพิพากษาให้หย่ากันแล้วตามคดีแดงที่ 91/2512 ของศาลชั้นต้น แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เลยว่า คดีฟ้องหย่าดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์อยู่ คงต่อสู้แต่ในเรื่องทรัพย์และการแบ่งทรัพย์ และยังอ้างถึงสินสมรสอีก 3 รายการ ที่โจทก์มิได้ฟ้อง ว่าโจทก์ควรนำมาแบ่งกันให้เสร็จไป โดยมีคำขอให้ศาลเปรียบเทียบให้คดีเสร็จไปด้วย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริง และโจทก์จำเลยตกลงกันได้ในทรัพย์บางรายการแล้ว ศาลจึงสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะมาขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าขอให้รอคดีฟ้องหย่าถึงที่สุดเสียก่อนไม่ได้ กรณีไม่เข้าเหตุที่ศาลจะงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292, 293, 294 หรือ มาตรา 296 ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตามมาตรา 165 (1) พ.ร.บ.แพ่งฯ
คำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้า ก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆ เพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้าง คือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้าและไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการประกอบอุตสาหกรรม หรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) ตอนท้าย อายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำบล็อก: การประกอบอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(1) ไม่ครอบคลุมการรับจ้างทำบล็อกเพื่อโฆษณา
คำว่า'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ตอนท้าย นั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป ทั้งนี้ โดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าที่ประดิษฐ์ขึ้น และแม้จะไม่ได้จำหน่ายขายสินค้านั้นเอง เพียงแต่รับจ้างเขาประดิษฐ์สิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าก็เป็นการประกอบอุตสาหกรรมของตนแล้ว
จำเลยเป็นตัวแทนโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือประกาศโป๊สเตอร์ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำบล๊อกต่าง ๆเพื่อโฆษณาสินค้าของบริษัทห้างร้านนั้น ๆ โดยได้รับค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างคือ ค่าโฆษณากับค่าบล๊อกหรือของที่ว่าจ้างให้โจทก์ทำและจำเลยคิดเอาค่าธรรมเนียมจากหนังสือพิมพ์หรือสถานีวิทยุผู้รับโฆษณาราว10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าโฆษณา ถ้าไม่ได้ก็คิดเอาจากบริษัทห้างร้านผู้ว่าจ้างให้โฆษณา ดังนี้ ของที่จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ทำไม่ใช่สินค้า และไม่มีการซื้อขายสิ่งของนั้นอย่างไรด้วย การรับจ้างของจำเลยจึงไม่ใช่ เป็นการประกอบอุตสาหกรรมหรือเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ตอนท้ายอายุความเรียกร้องค่าทำบล๊อกของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาของผู้รับเรือนไม่ได้เป็นการแปลงหนี้เดิม แม้จะมีการผ่อนผันชำระหนี้กับผู้รับเรือน
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือนยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งโดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้วจะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำ ช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช.เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหนี้เงินกู้: การเข้ามาของบุคคลใหม่ในฐานะผู้รับเรือน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือน ยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง โดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้ว จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้น ดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลบที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและฎีกาที่ 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายและแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช. เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ 4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ขอบเขตความรับผิดจำกัดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่การงาน หากมิได้ระบุขยายขอบเขตชัดแจ้ง
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้างเมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันหน้าที่การงาน: ผู้ค้ำประกันรับผิดเฉพาะความเสียหายในหน้าที่ หากมิได้ระบุความรับผิดนอกเหนือจากนั้น
การทำสัญญาค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน โดยปกติย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่นายจ้างเฉพาะในหน้าที่การงานของลูกจ้างนั้นเท่านั้น ถ้านายจ้างประสงค์จะให้รับผิดตลอดถึงการกระทำนอกหน้าที่การงานที่ว่าจ้างกันด้วยแล้วก็ชอบที่จะระบุไว้ให้ชัดในสัญญาค้ำประกัน
นายจ้างอ้างว่าการที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างหรือในหน้าที่การงานของลูกจ้าง เมื่อผู้ค้ำประกันให้การปฏิเสธข้อนี้ นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำสืบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายทำสัญญาประนีประนอมหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้รับเงิน ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบ
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลายทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้(จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำระหนี้ได้
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้วก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไปทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้รับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำะหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 23 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลาย ทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้ (จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรพัย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำะรหนี้ได้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้ แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้ว ก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไป ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่อาจต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายจากนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และ 2 โดยตรง ศาลมีดุลพินิจเรื่องค่าทนาย
โจทก์จ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างคานเรือโดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน และศาลเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาในคดีด้วยตามคำขอของจำเลยที่ 1 มีผู้อื่นขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยโดยอ้างว่าเป็นผู้รับเหมางานช่วงจากจำเลยที่ 2 อาจถูกไล่เบี้ยได้ ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อฝ่ายจำเลยแพ้คดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยร่วมพลอยต้องร่วมใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2ด้วยหาได้ไม่ แต่จำเลยร่วมอาจต้องร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
ค่าทนายความอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีรับผิดชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่ชนะหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีที่โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นทนายให้ เมื่อชนะคดี ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าทนายให้ก็ได้
of 43