คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อาจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 422 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน และข้อพิพาทเรื่องหุ้นส่วนที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทที่โจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยและเรียกค่าเสียหายจำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าห้องพิพาทมีกำหนด 15 ปี ค่าเช่าเดือนละ 60 บาท เพราะจำเลยยอมหักหนี้ให้โจทก์20,000 บาท ดังนี้ เงินจำนวนดังที่กล่าวที่จำเลยยอมหักหนี้ให้โจทก์เป็นเงินค่าแป๊ะเจี๊ยะหรือเงินกินเปล่าที่จำเลยยอมให้โจทก์ในการเช่าห้องพิพาท เท่ากับเป็นการเช่าโดยมีเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือเงินกินเปล่าจึงเป็นการเช่าธรรมดาไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษ เมื่อการเช่าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยฟ้องแย้งคดีนี้ที่ว่าโจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนกัน เมื่อคิดบัญชีแล้วโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ ขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างเช่นนี้เป็นฟ้องอีกเรื่องหนึ่งคนละอย่างไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เป็นฟ้องที่ไม่รับเป็นฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและบ้าน สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนมือ การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมเคหะ
จำเลยเช่าบ้านพิพาทมาจากนายบุ้นซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์มาปลูกบ้านพิพาทขึ้น โดยมีกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือน และมีข้อตกลงระหว่างนายบุ้นกับโจทก์ว่าในระหว่างกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนนายบุ้นมีสิทธิให้คนอื่นเช่าบ้านพิพาทได้ และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า8 ปี 4 เดือนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกเป็นของโจทก์ดังนี้เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าที่ดิน 8 ปี 4 เดือน แล้ว นายบุ้นย่อมไม่มีอำนาจจะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอยู่ต่อไปเพราะกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกไปยังโจทก์แล้ว สิทธิและหน้าที่ในการเช่าบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับนายบุ้นผู้โอนย่อมไม่ตกไปยังโจทก์ผู้รับโอนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนไปแล้ว เป็นการอยู่โดยละเมิดสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุด-กรรมสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน-การเช่าต่อโดยปราศจากอำนาจ-สิทธิและความคุ้มครองตาม พรบ.ควบคุมเคหะ
จำเลยเช่าบ้านพิพาทมาจากนายบุ้นซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินของโจทก์มาปลูกบ้านพิพาทขึ้น โดยมีกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือน และมีข้อตกลงระหว่างนายบุ้นกับโจทก์ว่าในระหว่างกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนนายบุ้นมีสิทธิให้คนอื่นเช่าบ้านพิพาทได้ และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกเป็นของโจทก์ ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าที่ดิน 8 ปี 4 เดือน แล้ว นายบุ้นย่อมไม่มีอำนาจจะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอยู่ต่อไปเพราะกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตกไปยังโจทก์แล้ว สิทธิและหน้าที่ในการเช่าบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับนายบุ้นผู้โอนย่อมไม่ตกไปยังโจทก์ผู้รับโอนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาเมื่อครบกำหนดเวลาเช่า 8 ปี 4 เดือนไปแล้ว เป็นการอยู่โดยละเมิดสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีอาญาซ้ำ กรณีได้รับอภัยโทษและมีโทษเหลืออยู่ ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสม
การที่ศาลจะนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นนั้นเป็นดุลพินิจของศาลจะพิจารณาเห็นสมควร การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตในคดีอื่นซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานอภัยโทษจนเหลือโทษจำคุกอีก 10 ปี และระหว่างกำลังรับโทษที่เหลืออยู่นี้ได้กระทำผิดฐานฆ่านักโทษซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี เช่นนี้ เมื่อพิจารณาว่าจำเลยต้องรับโทษต่อไปอีกถึง 20 ปีข้างหน้าแล้ว เห็นว่าเหมาะสมแก่ความผิดที่กระทำในคดีนี้แล้ว เหตุผลที่จำเลยมากระทำผิดในข้อหาฐานความผิดเดียวกันซ้ำอีก รวมทั้งการได้รับพระราชทานอภัยโทษในคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อซึ่งคงเหลือจำคุกอีกเป็น 10 ปีนั้น ยังไม่ถือเป็นเหตุพิเศษที่จะควรนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อนักโทษได้รับอภัยโทษแล้วกระทำผิดซ้ำ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละคดี
การที่ศาลจะนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นนั้นเป็นดุลพินิจของศาลจะพิจารณาเห็นสมควร การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตในคดีอื่นซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานอภัยโทษจนเหลือโทษจำคุกอีก 10 ปี และระหว่างกำลังรับโทษที่เหลืออยู่นี้ได้กระทำผิดฐานฆ่านักโทษซึ่งศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี เช่นนี้ เมื่อพิจารณาว่าจำเลยต้องรับโทษต่อไปอีกถึง 20 ปีข้างหน้าแล้วเห็นว่าเหมาะสมแก่ความผิดที่กระทำในคดีนี้แล้ว เหตุผลที่จำเลยมากระทำผิดในข้อหาฐานความผิดเดียวกันซ้ำอีก รวมทั้งการได้รับพระราชทานอภัยโทษในคดีที่ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อซึ่งคงเหลือจำคุกอีกเป็น 10 ปีนั้น ยังไม่ถือเป็นเหตุพิเศษที่จะควรนับโทษจำคุกจำเลยต่อจากคดีดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบต่อผู้รับโอนรายต่อๆ ไป
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตน เพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย คำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ ต้องยกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบเมื่อผู้รับโอนรายหลังมิได้เป็นคู่ความ
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตนเพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ต้องยกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำทางแพ่ง: ประเด็นต่างกันระหว่างการอ้างสิทธิมรดกกับการอ้างสิทธิโดยครอบครอง
คดีแพ่งแดงที่ 473/2505 ที่โจทก์ฟ้องคดีแรกนั้นอ้างว่า ที่ดินพิพาทป. บิดาเป็นผู้ซื้อ เมื่อ ป. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาพิพากษาว่า ป. เป็นผู้ซื้อ แต่ ป. เป็นคนต่างด้าว ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การซื้อขายเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. คดีมีประเด็นเพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ป. หรือไม่ ส่วนคดีหลังคือคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาท ป. ซื้อมาตั้งแต่พ.ศ. 2486 เมื่อซื้อแล้วโจทก์และ ป. ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาโดยสงบและเปิดเผยมากว่า 10 ปี โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เป็นเรื่องอ้างสิทธิทางครอบครอง เมื่อประเด็นคดีแรกเป็นเรื่องอ้างสิทธิการได้มาทางมรดก แต่ประเด็นคดีหลังเป็นเรื่องอ้างสิทธิการได้มาทางครอบครอง จึงเป็นคนละประเด็นต่างกัน ในการวินิจฉัยก็มิได้อาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องในประเด็นต่างกันไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งแดงที่ 473/2505 ที่โจทก์ฟ้องคดีแรกนั้นอ้างว่าที่ดินพิพาทป. บิดาเป็นผู้ซื้อ เมื่อ ป. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาพิพากษาว่า ป. เป็นผู้ซื้อ แต่ ป. เป็นคนต่างด้าวต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การซื้อขายเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. คดีมีประเด็นเพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ป.หรือไม่ ส่วนคดีหลังคือคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาท ป. ซื้อมาตั้งแต่พ.ศ. 2486 เมื่อซื้อแล้วโจทก์และ ป. ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาโดยสงบและเปิดเผยมากว่า 10 ปี โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นเรื่องอ้างสิทธิทางครอบครอง เมื่อประเด็นคดีแรกเป็นเรื่องอ้างสิทธิการได้มาทางมรดก แต่ประเด็นคดีหลังเป็นเรื่องอ้างสิทธิการได้มาทางครอบครอง จึงเป็นคนละประเด็นต่างกัน ในการวินิจฉัยก็มิได้อาศัยมูลเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษเด็กและเยาวชน – ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลไม่ลงโทษจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกิน 1,000 บาท
ในกรณีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 อันเป็นบทหนักโดยจำคุก 5 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกโดยให้ส่งตัวไปฝึกอบรมณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีแต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความผิดจำเลยปรับด้วยมาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 และให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดา โดยวางข้อกำหนดให้ระวังจำเลยมิให้ก่อเหตุร้าย มิฉะนั้นต้องชำระเงินหนึ่งพันบาทต่อการที่จำเลยก่อเหตุร้ายแต่ละครั้ง และให้จำเลยมารายงานตัวต่อสถานพินิจและคุ้มครองเด็กทุก 6 เดือนนั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเช่นนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขมาก แต่เนื่องจากศาลทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงโทษจำคุกเป็นอย่างอื่น ซึ่งถือว่าศาลทั้งสองมิได้พิพากษาจำคุกเกิน 1 ปี หรือปรับเกินพันบาทกรณีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
of 43