คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แสวง ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-360/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีขับไล่ผู้เช่า: ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของคู่ความในกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่จะอุทธรณ์ได้แล้วศาลอุทธรณ์รับพิจารณาและพิพากษาฟ้องอุทธรณ์ของคู่ความจึงเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา247 และ 243(1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรมได้
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด. เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง. ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้ว. ศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้. การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่. ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ.
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน.กระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย. การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทย. โจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป.กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเลื่อนการขายทอดตลาดและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา: ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อความเป็นธรรม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง โดยวิธีให้ศาลขายทอดตลาด เมื่อขายได้เงินแล้วแบ่งกันคนละครึ่ง ต่อมาในวันขายทอดตลาด จำเลยแถลงว่าราคายังต่ำอยู่ควรประกาศขายใหม่โจทก์คัดค้านว่าราคาสูงแล้วศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกันและมีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปตามที่คู่ความตกลงกันดังนี้การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดตลาดหรือไม่ก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ
เมื่อคู่ความได้ตกลงกันต่อหน้าศาลและข้อตกลงนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานกระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม และรายงานกระบวนพิจารณาก็ไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทยโจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการสอบถามคู่ความเพื่อเลื่อนการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยและไม่มีทนาย
การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคู่ความเรื่องที่ว่าควรจะเลื่อนการขายทอดลาดต่อไปอีกหรือไม่ เป็นการบวนพิจารณาที่ชอบ เพราะโจทก์จำเลยต่างไม่ตกลงกันว่าควรเลื่อนหรือไม่ และเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ดำเนินการขายทอดตลาดได้รายงานศาลขอคำสั่ง การที่ศาลสอบถามคู่ความก็เพื่อที่จะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม เมื่อคู่ความได้ตกลงกันและข้อตกลงนั่น ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน กระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่เข้าใจภาษาไทยดี และไม่มีทนายความ ก็ปรากฏว่าโจทก์มิได้โต้แย้งหรือร้องขอต่อศาลเพื่อจัดหาล่าม ตามรายงานกระบวนพิจารณาไม่ปรากฏเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์หลงผิดเพราะไม่เข้าใจภาษาไทย โจทก์เป็นตัวความย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเองได้โดยลำพัง เพียงแต่โจทก์ไม่มีทนายความ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้กระบวนพิจารณาเสียไป กรณีไม่ต้องประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องหนี้จากผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้อีก แม้เคยได้รับชำระหนี้บางส่วน
หนี้เงินกู้เป็นหนี้ที่จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันบริษัทส.ซึ่งได้กู้เงินเจ้าหนี้ไปแต่ปรากฏว่าบริษัท ส. ถูกพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าหนี้ก็ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เอาจากกองทรัพย์สินของบริษัท ส. และศาลได้สั่งให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนดังนี้การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีแดงที่ 99/2507 ซึ่งบริษัท ส. เป็นลูกหนี้และล้มละลายให้ได้รับชำระหนี้นั้นมีผลเพียงให้ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนที่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งผู้ขอรับชำระหนี้ยังไม่ได้รับชำระหนี้รายนี้เลยจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายมีหน้าที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เต็มตามจำนวนที่เป็นหนี้ โดยผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เต็มตามจำนวนตามอำนาจของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 และเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยหนี้นั้นลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกในฐานะจำเลยผู้ล้มละลายเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายอีกคดีหนึ่งอยู่ถ้าจะให้ผู้ขอรับชำระหนี้รอไว้จนกว่าจะได้รับส่วนแบ่งชำระหนี้จากคดีล้มละลายแดงที่99/2507 เสียก่อนก็จะพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่อาจจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหายและลบล้างอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่ฉะนั้น ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกแต่ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้และคดีแดงที่ 99/2507 รวม 2 คดีไม่เกินจำนวนเงินตามที่เป็นเจ้าหนี้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: การยื่นคำขอรับชำระหนี้ซ้ำได้เพื่อคุ้มครองสิทธิ
หนี้เงินกู้เป็นหนี้ที่จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันบริษัทส. ซึ่งได้กู้เงินเจ้าหนี้ไป แต่ปรากฏว่าบริษัท ส.ถูกพิพากษาให้ล้มละลาย เจ้าหนี้ก็ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เอาจากกองทรัพย์สินของบริษัท ส. และศาลได้สั่งให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ดังนี้การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีแดงที่ 99/2507 ซึ่งบริษัท ส. เป็นลูกหนี้และล้มละลายให้ได้รับชำระหนี้นั้นมีผลเพียงให้ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนที่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งผู้ขอรับชำระหนี้ยังไม่ได้รับชำระหนี้รายนี้เลย จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายมีหน้าที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เต็มตามจำนวนที่เป็นหนี้ โดยผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เต็มตามจำนวนตามอำนาจของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 และเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยหนี้นั้นลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกในฐานะจำเลยผู้ล้มละลายเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายอีกคดีหนึ่งอยู่ ถ้าจะให้ผู้ขอรับชำระหนี้รอไว้จนกว่าจะได้รับส่วนแบ่งชำระหนี้จากคดีล้มละลายแดงที่ 99/2507 เสียก่อนก็จะพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่อาจจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหายและลบล้างอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่ ฉะนั้น ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีก แต่ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้และคดีแดงที่ 99/2507 รวม 2 คดีไม่เกินจำนวนเงินตามที่เป็นเจ้าหนี้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย: ยื่นคำขอได้แม้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้บางส่วน
หนี้เงินกู้เป็นหนี้ที่จำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันบริษัทส.ซึ่งได้กู้เงินเจ้าหนี้ไป.แต่ปรากฏว่าบริษัทส.ถูกพิพากษาให้ล้มละลาย. เจ้าหนี้ก็ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เอาจากกองทรัพย์สินของบริษัท ส. และศาลได้สั่งให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน. ดังนี้การที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีแดงที่ 99/2507 ซึ่งบริษัท ส. เป็นลูกหนี้และล้มละลายให้ได้รับชำระหนี้นั้นมีผลเพียงให้ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนที่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้เท่านั้น. ซึ่งผู้ขอรับชำระหนี้ยังไม่ได้รับชำระหนี้รายนี้เลย. จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายมีหน้าที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้.ในเมื่อลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เต็มตามจำนวนที่เป็นหนี้. โดยผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้เต็มตามจำนวนตามอำนาจของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194. และเมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยหนี้นั้น.ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้. ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด. ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกในฐานะจำเลยผู้ล้มละลายเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ผู้ล้มละลายอีกคดีหนึ่งอยู่. ถ้าจะให้ผู้ขอรับชำระหนี้รอไว้จนกว่าจะได้รับส่วนแบ่งชำระหนี้จากคดีล้มละลายแดงที่ 99/2507 เสียก่อน.ก็จะพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้.ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่อาจจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้. ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหายและลบล้างอำนาจของเจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่. ฉะนั้น ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีก. แต่ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้และคดีแดงที่ 99/2507 รวม 2 คดีไม่เกินจำนวนเงินตามที่เป็นเจ้าหนี้อยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำสัญญาเช่า: สัญญาเช่าระบุเงื่อนไขคืนเงินมัดจำเมื่อสัญญาครบกำหนด การเลิกสัญญาก่อนกำหนดทำให้จำเลยมีสิทธิริบได้
โจทก์เช่าบ้านจากจำเลยมีกำหนด 3 ปี. สัญญาเช่าข้อ3 มีข้อความว่า'ผู้เช่า(โจทก์)ได้ชำระเงินค่ามัดจำก่อนทำสัญญาเป็นจำนวน 9,000 บาท ให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้.และผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำครบตามจำนวนให้แก่ผู้ให้เช่าในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงฯลฯ'. ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง คือเมื่อโจทก์เช่าบ้านจำเลยครบกำหนด 3 ปี. แต่โจทก์เช่าบ้านจำเลยได้เพียง 3 เดือน ก็มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลย. โดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์(สมาคม)ได้ขออนุญาตต่อทางราชการตำรวจหลายวันแล้ว. แต่มิได้รับอนุญาตให้สมาคมย้ายไปอยู่ที่บ้านจำเลยได้ขอเลิกสัญญาเช่า. ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา. โจทก์จะสืบเพิ่มเติมสัญญาเช่าไม่ได้. การที่โจทก์เลิกสัญญาก่อนครบกำหนด จึงเป็นความผิดของโจทก์ และเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 3. จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2). เพราะเป็นเงินมัดจำในการที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า. สิทธิของจำเลยที่จะริบเงินมัดจำของโจทก์ เกิดจากการที่โจทก์เลิกสัญญาโดยความผิดของโจทก์. ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้จำเลยริบได้ไว้แล้ว. โจทก์จำเลยไม่จำต้องตกลงในเรื่องริบนี้อีก. ตามสัญญาข้อ 3 ถือว่า โจทก์จำเลยตกลงกันแล้วว่าจำเลยจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา. เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำสัญญาเช่า: ผู้เช่าเลิกสัญญาก่อนกำหนดด้วยเหตุผลที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้
โจทก์เช่าบ้านจากจำเลยมีกำหนด 3 ปี สัญญาเช่าข้อ3 มีข้อความว่า'ผู้เช่า(โจทก์)ได้ชำระเงินค่ามัดจำก่อนทำสัญญาเป็นจำนวน 9,000 บาท ให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้และผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำครบตามจำนวนให้แก่ผู้ให้เช่าในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงฯลฯ' ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง คือเมื่อโจทก์เช่าบ้านจำเลยครบกำหนด 3 ปี แต่โจทก์เช่าบ้านจำเลยได้เพียง 3 เดือน ก็มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยโดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์(สมาคม)ได้ขออนุญาตต่อทางราชการตำรวจหลายวันแล้วแต่มิได้รับอนุญาตให้สมาคมย้ายไปอยู่ที่บ้านจำเลยได้ขอเลิกสัญญาเช่าซึ่งข้ออ้างดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาโจทก์จะสืบเพิ่มเติมสัญญาเช่าไม่ได้ การที่โจทก์เลิกสัญญาก่อนครบกำหนด จึงเป็นความผิดของโจทก์ และเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 3 จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะเป็นเงินมัดจำในการที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าสิทธิของจำเลยที่จะริบเงินมัดจำของโจทก์ เกิดจากการที่โจทก์เลิกสัญญาโดยความผิดของโจทก์ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้จำเลยริบได้ไว้แล้วโจทก์จำเลยไม่จำต้องตกลงในเรื่องริบนี้อีก ตามสัญญาข้อ 3 ถือว่า โจทก์จำเลยตกลงกันแล้วว่าจำเลยจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาเมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำสัญญาเช่า: สัญญาเช่ากำหนดให้คืนเงินมัดจำเมื่อสัญญาสิ้นสุด หากผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิริบเงินมัดจำได้
โจทก์เช่าบ้านจากจำเลยมีกำหนด 3 ปี สัญญาเช่าข้อ3 มีข้อความว่า"ผู้เช่า(โจทก์)ได้ชำระเงินค่ามัดจำก่อนทำสัญญาเป็นจำนวน 9,000 บาท ให้ผู้ให้เช่ายึดถือไว้ และผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำครบตามจำนวนให้แก่ผู้ให้เช่าในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงฯลฯ" ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง คือเมื่อโจทก์เช่าบ้านจำเลยครบกำหนด 3 ปี แต่โจทก์เช่าบ้านจำเลยได้เพียง 3 เดือน ก็มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลย โดยอ้างเหตุผลว่า โจทก์(สมาคม)ได้ขออนุญาตต่อทางราชการตำรวจหลายวันแล้ว แต่มิได้รับอนุญาตให้สมาคมย้ายไปอยู่ที่บ้านจำเลยได้ขอเลิกสัญญาเช่า ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์จะสืบเพิ่มเติมสัญญาเช่าไม่ได้ การที่โจทก์เลิกสัญญาก่อนครบกำหนด จึงเป็นความผิดของโจทก์ และเป็นการผิดสัญญาเช่าข้อ 3 จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะเป็นเงินมัดจำในการที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า สิทธิของจำเลยที่จะริบเงินมัดจำของโจทก์ เกิดจากการที่โจทก์เลิกสัญญาโดยความผิดของโจทก์ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้จำเลยริบได้ไว้แล้ว โจทก์จำเลยไม่จำต้องตกลงในเรื่องริบนี้อีก ตามสัญญาข้อ 3 ถือว่า โจทก์จำเลยตกลงกันแล้วว่าจำเลยจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้ผิดสัญญา. เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำได้
of 22