คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี โรจนธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 428 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป-ไม่สำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร และอำนาจฟ้องกรณีอัตรากำไรมาตรฐาน
สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77.หมายถึงสิ่งใดๆ ซึ่งอาจใช้อุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีโดยไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก. การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้สอยได้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ. เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจใช้ได้ทันทีเหมือนกัน. หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูป โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อนจนเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป.
หัวน้ำหอม ซึ่งสั่งจากต่างประเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นวัตถุอื่น ตามสภาพไม่อาจใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที. การใช้ทาผิวหนังเกิดโทษ อาจเป็นผื่นคันระคายแก่ผิวหนัง. การใช้อบวัตถุก็มีความระเหยเร็ว ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร.ดังนี้ย่อมไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป.
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ในเรื่องอัตรากำไรมาตรฐาน. โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องในประเด็นข้อนี้หรือไม่. แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว.โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ยุติไม่ต้องสืบพยานในข้อนี้. คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226. เพราะศาลชั้นต้นถือว่า จำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่จำต้องสืบพยาน มิใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24ซึ่งอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 228 ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้แถลงโต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกา.
หัวน้ำหอมผสมโดยสภาพมีกลิ่นหอม นับได้ว่าเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งจึงต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐานคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับหัวน้ำหอมหรือเครื่องหอม ตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานฯท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าฉบับที่ 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 5 ข้อ 12.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากร: หัวน้ำมันหอมผสมไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป แต่เป็นเครื่องหอมที่ต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐาน
สินค้าสำเร็จรูปตามความหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 77หมายถึงสิ่งใดๆ ซึ่งอาจใช้อุปโภคหรือบริโภคได้ทันทีโดยไม่ต้องเอาสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งใดอีก การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้สอยได้ทันทีหรือไม่ต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจใช้ได้ทันทีเหมือนกัน หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูป โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อนจนเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป
หัวน้ำหอม ซึ่งสั่งจากต่างประเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นวัตถุอื่น ตามสภาพไม่อาจใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที การใช้ทาผิวหนังเกิดโทษ อาจเป็นผื่นคันระคายแก่ผิวหนัง การใช้อบวัตถุก็มีความระเหยเร็ว ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ดังนี้ย่อมไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ในเรื่องอัตรากำไรมาตรฐาน โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องในประเด็นข้อนี้หรือไม่ แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยให้การรับตามฟ้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ยุติไม่ต้องสืบพยานในข้อนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะศาลชั้นต้นถือว่า จำเลยรับข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่จำต้องสืบพยาน มิใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม มาตรา 24 ซึ่งอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 228 ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้แถลงโต้แย้งไว้ย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกา
หัวน้ำหอมผสมโดยสภาพมีกลิ่นหอม นับได้ว่าเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งจึงต้องใช้อัตรากำไรมาตรฐานคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับหัวน้ำหอมหรือเครื่องหอม ตามบัญชีอัตรากำไรมาตรฐานฯท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าฉบับที่ 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 5 ข้อ 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า'ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง'. คำว่า'โจทก์'มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง. มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์. คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา.(อ้างฎีกาที่ 618/2490).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" คำว่า"โจทก์"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา(อ้างฎีกาที่ 618/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องคดีอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" ค่าว่า "โจทก์" มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา (อ้างฎีกา 618/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องเมื่อศาลเคยพิพากษาลงโทษในความผิดนั้นแล้ว แม้จะแบ่งเป็นหลายฐาน
ในคดีความผิดครั้งเดียวและกรรมเดียวกัน เมื่ออัยการโจทก์ได้ฟ้องจำเลยและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวนั้นอีกไม่ได้แม้ว่าการกระทำหรือกรรมนั้นจะแบ่งแยกความผิดออกได้เป็นหลายฐานหรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดที่ยอมความกันได้ก็ตาม เพราะคำว่า "ในความผิด"ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มีความหมายถึงการกระทำอันหนึ่งๆในคราวเดียวกัน มิได้หมายถึงฐานความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียว แม้แยกฐานความผิดได้ ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
ในคดีความผิดครั้งเดียวและกรรมเดียวกัน เมื่ออัยการโจทก์ได้ฟ้องจำเลยและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวนั้นอีกไม่ได้ แม้ว่าการกระทำหรือกรรมนั้นจะแบ่งแยกความผิดออกได้เป็นหลายฐาน หรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดที่ยอมความกันได้ก็ตาม เพราะคำว่า "ในความผิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มีความหมายถึงการกระทำอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน มิได้หมายถึงฐานความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฟ้องซ้ำ: สิทธิฟ้องระงับเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้จะแบ่งแยกฐานความผิดได้
ในคดีความผิดครั้งเดียวและกรรมเดียวกัน เมื่ออัยการโจทก์ได้ฟ้องจำเลยและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว. ผู้เสียหายจะฟ้องจำเลยในความผิดกรรมเดียวนั้นอีกไม่ได้.แม้ว่าการกระทำหรือกรรมนั้นจะแบ่งแยกความผิดออกได้เป็นหลายฐานหรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดที่ยอมความกันได้ก็ตาม. เพราะคำว่า 'ในความผิด'ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มีความหมายถึงการกระทำอันหนึ่งๆในคราวเดียวกัน มิได้หมายถึงฐานความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและการใช้กำลังพอสมควรแก่เหตุเมื่อถูกทำร้าย
ฝ่ายผู้ตายได้มาเรียกจำเลยไปหา แล้วพวกผู้ตายฟันข้างหลังจำเลย 1 ที แล้วผู้ตายฟันหลังจำเลยอีก 1 ที. จำเลยหันไปเห็นผู้ตายถือดาบจ้องจะฟันซ้ำอีก. จำเลยจึงแทงไปทางผู้ตาย 1 ที ถูกที่หน้าอกถึงแก่ความตาย.ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวแต่พอสมควรแก่เหตุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุจากการถูกทำร้ายด้วยอาวุธ การกระทำเพื่อป้องกันชีวิตจึงไม่มีความผิด
ฝ่ายผู้ตายได้มาเรียกจำเลยไปหา แล้วพวกผู้ตายฟันข้างหลังจำเลย 1 ที แล้วผู้ตายฟันหลังจำเลยอีก 1 ที จำเลยหันไปเห็นผู้ตายถือดาบจ้องจะฟันซ้ำอีก จำเลยจึงแทงไปทางผู้ตาย 1 ที ถูกที่หน้าอกถึงแก่ความตาย ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวแต่พอสมควรแก่เหตุ
of 43