พบผลลัพธ์ทั้งหมด 428 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะขายที่ดิน, การครอบครองทำประโยชน์, ตัวแทนเชิด, นิติกรรมอำพราง, การปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยเคยทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดินที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1717 ของโจทก์ให้แก่ ด. มีข้อความในสัญญาจะขายว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อมีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินแปลงนี้และเข้าทำประโยชน์ได้ทุกอย่าง ผู้ขายจะไปทำการรังวัดแบ่งแยกชี้แนวเขตให้กับผู้ซื้อนั้น แม้จำเลยรู้ว่า ด. นำที่ดินดังกล่าวไปจัดสรรแบ่งขายตลอดจนกระทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ในนามของจำเลยก็ดี ไม่พอที่จะถือว่าจำเลยเชิด ด. เป็นตัวแทนจัดสรรที่ดิน การรังวัดแบ่งแยกเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ไปทำการรังวัดแบ่งแยกให้ ด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะขายที่ดินและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย ผู้ซื้อ และการจัดสรรที่ดิน โดยไม่ถือว่าเป็นการเชิดตัวแทน
จำเลยเคยทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดินที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1717 ของโจทก์ให้แก่ ด. มีข้อความในสัญญาจะขายว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อมีสิทธิครอบครองเหนือที่ดินแปลงนี้และเข้าทำประโยชน์ได้ทุกอย่าง ผู้ขายจะไปทำการรังวัดแบ่งแยกชี้แนวเขตให้กับผู้ซื้อนั้นแม้จำเลยรู้ว่า ด. นำที่ดินดังกล่าวไปจัดสรรแบ่งขายตลอดจนกระทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลง ๆ ในนามของจำเลยก็ดี ไม่พอที่จะถือว่าจำเลยเชิด ด. เป็นตัวแทนจัดสรรที่ดิน การรังวัดแบ่งแยกเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ไปทำการรังวัดแบ่งแยกให้ ด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม: ค่าเช่าที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์กฎหมายคุ้มครองการเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากที่ดิน จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าที่พิพาทอาจจะให้เช่าได้ในอัตราเดือนละเท่าใด แต่ปรากฏจากคำให้การของจำเลยว่า จำเลยอยู่ในที่พิพาทในฐานะเป็นผู้เช่า เสียค่าเช่าในอัตราเดือนละ 50 บาท ไม่มีการได้แย้งเป็นอย่างอื่นและจำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ฎีกา ก็ชอบที่จะถือตามที่จำเลยกล่าวอ้างในคำให้การอัตราค่าเช่าเดือนละ 50 บาท ดังนั้น คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นกรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นกรณีเช่นนี้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันกรรมการชุดใหม่ย่อมผูกพันบริษัท แม้มติเดิมจะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้ แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันการกระทำของกรรมการชุดเก่าโดยกรรมการชุดใหม่ ย่อมทำให้มติเดิมมีผลใช้ได้ แม้จะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะโดยสุจริต แม้ขัดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีความผิดทางอาญา หากศาลเชื่อถือ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะทำให้น้ำหยุดไหลราษฎรได้รับความเดือดร้อน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 375 ศาลชั้นต้นเห็นว่าร่องน้ำที่พิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะจำเลยไปปิดกั้นเข้าจึงมีความผิดพิพากษาลงโทษ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าร่องน้ำพิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะเช่นเดียวกันกับศาลชั้นต้น แต่จำเลยปิดกั้นโดยสุจริต โดยเชื่อว่ามีอำนาจปิดกั้นได้ จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง จำเลยฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาท ไม่ใช่ร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยยกฟ้องโจทก์อยู่แล้วและร่องน้ำพิพาทจะเป็นร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์หรือไม่นั้น ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียสิทธิแต่ประการใดจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะโดยสุจริต: ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แม้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นร่องน้ำสาธารณะทำให้น้ำหยุดไหล ราษฎรได้รับความเดือดร้อนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 375 ศาลชั้นต้นเห็นว่าร่องน้ำที่พิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะจำเลยไปปิดกั้นเข้าจึงมีความผิดพิพากษาลงโทษศาลอุทธรณ์ เห็นว่าร่องน้ำพิพาทเป็นร่องน้ำสาธารณะเช่นเดียวกันกับศาลชั้นต้น แต่จำเลยปิดกั้นโดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีอำนาจปิดกั้นได้ จึงไม่มีความผิดพิพากษายกฟ้องจำเลยฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทไม่ใช่ร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยยกฟ้องโจทก์อยู่แล้วและร่องน้ำพิพาทจะเป็นร่องน้ำสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์หรือไม่นั้น ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียสิทธิแต่ประการใด จึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ฟ้องแยกกระทง สิทธิฟ้องไม่ระงับ
การที่จำเลยมีลูกระเบิดมือไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต และใช้ระเบิดมือนั้นในการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ถือว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์แยกฟ้องกระทงความผิดนั้น ส่วนกระทงความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานนั้นเป็นอีกกระทงหนึ่งซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ความผิดฐานมีวัตถุระเบิดกับพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเป็นคนละกรรมกัน
การที่จำเลยมีลูกระเบิดมือไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตและใช้ระเบิดมือนั้นในการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ถือว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์แยกฟ้องและศาลลงโทษจำเลยฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในความครอบครองแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดเฉพาะกระทงความผิดนั้น ส่วนกระทงความผิดที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานนั้น เป็นอีกกระทงหนึ่งซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าของผู้ตายก่อนเสียชีวิตเป็นหลักฐานสำคัญในการพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดได้
คำบอกกล่าวของผู้ตายซึ่งถูกทำร้ายกล่าวถึงตัวคนร้ายที่ยิงตนขณะที่รู้ตัวว่าจะต้องตายนั้น รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
ผู้ตายถูกยิงล้มเจ็บอยู่กับที่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมาถึง ผู้ตายได้เล่าถึงพฤติการณ์ที่ถูกยิงโดยตลอด ระบุชื่อผู้ยิงและเมื่อภริยาผู้ตายมาถึงผู้ตายก็ได้เล่าให้ภริยาฟังอย่างเดียวกันและได้กล่าวด้วยว่า "อยู่ไม่ได้แล้ว ร้อนจริง เลี้ยงลูกให้ดี" ประกอบกับพฤติเหตุแวดล้อมในเรื่องสาเหตุเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักพอแก่การรับฟังลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
ผู้ตายถูกยิงล้มเจ็บอยู่กับที่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมาถึง ผู้ตายได้เล่าถึงพฤติการณ์ที่ถูกยิงโดยตลอด ระบุชื่อผู้ยิงและเมื่อภริยาผู้ตายมาถึงผู้ตายก็ได้เล่าให้ภริยาฟังอย่างเดียวกันและได้กล่าวด้วยว่า "อยู่ไม่ได้แล้ว ร้อนจริง เลี้ยงลูกให้ดี" ประกอบกับพฤติเหตุแวดล้อมในเรื่องสาเหตุเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักพอแก่การรับฟังลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227