พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องที่ใช้ลายพิมพ์นิ้วมือแทนลายมือชื่อ และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยทนาย
โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือในคำฟ้องและใบแต่งทนาย่ โดยมีทนายโจทก์ผู้เดียวรับรอง ลายพิมพ์นิ้วมือ ซึ่งถ้าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอาจมีคำสั่งให้คืนคำฟ้องให้โจทก์ไป ทำมาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ได้ แต่คดีนี้ได้ดำเนินกระบวนพิจารณากันมาจนเสร็จสิ้นถึงศาลฎีกาแล้ว ตามสำนวนปรากฏว่าโจทก์ได้อ้างตนเองเบิกความเป็นพยาน และต่อมาได้พิมพ์ลายมือชื่อไว้ในอุทรธร์ของโจทก์อีกด้วย เป็นที่ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้จริง ทั้งยังเป็นการรับรองว่าโจทก์แต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายอีกด้วย คดีจึงไม่จำต้องคืนคำฟ้อง และในแต่งทนายให้โจทก์ไปทำมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแอบอ้างเป็นตำรวจข่มขู่เรียกเงิน ไม่เข้าข่ายกรรโชกเนื่องจากไม่มีการข่มขืนใจด้วยกำลังหรือขู่เข็ญ
จำเลยที่ 1 ใช้อุบายอ้างตนเป็นตำรวจร่วมกับจำเลยที่ 2ซึ่งแสดงตนว่าเป็นตำรวจ โดยจำเลยที่ 1 แกล้งจับ ป. ใส่กุญแจมือและจะจับผู้เสียหายหาว่าค้าฝิ่นเถื่อน แต่เมื่อผู้เสียหายถอยหลังออกไปไม่ยอมให้จับข้อมือ จำเลยที่ 1 ก็พูดว่า 'เอาอย่างนี้ก็แล้วกันลุง ลุงเอาเงินให้ฉันพันหนึ่ง แล้วลุงขายฝิ่นต่อไปก็แล้วกัน' โดยจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 มิได้ข่มขืนใจด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญจะทำอันตรายต่อชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย หรือของบุคคลที่สาม อย่างไรต่อไปผู้เสียหายเรียกบุตรชายซึ่งเดินมาจะเข้าบ้าน จำเลยทั้งสองและป.ก็เดินออกไป เช่นนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เข้าลักษณะเป็นความผิดฐานกรรโชก จึงไม่เป็นพยายามกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกรรโชกต้องมีการข่มขืนใจด้วยกำลังหรือขู่เข็ญ การเจรจาต่อรองเงินเพื่อไม่ให้แจ้งความไม่ถือเป็นกรรโชก
จำเลยที่ 1 ใช้อุบายอ้างตนเป็นตำรวจร่วมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งแสดงตนว่าเป็นตำรวจ โดยจำเลยที่ 1 แกล้งจับ ป. ใส่กุญแจมือและจะจับผู้เสียหายหาว่าค้าฝิ่นเถื่อน แต่เมื่อผู้เสียหายถอยหลังออกไปไม่ยอมให้จับข้อมือ จำเลยที่ 1 ก็พูดว่า 'เอาอย่างนี้ก็แล้วกันลุง ลุงเอาเงินให้ฉันพันหนึ่ง แล้วลุงขายฝิ่นต่อไปก็แล้วกัน' โดยจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 มิได้ข่มขืนใจด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญจะทำอันตรายต่อชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหาย หรือของบุคคลที่สามอย่างไรต่อไปผู้เสียหายเรียกบุตรชายซึ่งเดินมาจะเข้าบ้าน จำเลยทั้งสองและป. ก็เดินออกไป เช่นนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เข้าลักษณะเป็นความผิดฐานกรรโชก จึงไม่เป็นพยายามกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, การโอนสิทธิจำนอง, ดอกเบี้ยทบต้น, สัญญาแปลงหนี้
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้องและในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาลซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริงดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้-โอนสิทธิจำนอง: สัญญาผูกพัน-ดอกเบี้ย-จำกัดการคิดดอกเบี้ยทบต้น
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้อง และในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาล ซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัดซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัดซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบุกรุกที่ดินต้องระบุที่ตั้งและเนื้อที่ให้ถูกต้อง หากโจทก์นำสืบไม่ตรงตามฟ้อง ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่นาเนื้อที่ 13 ไร่เศษ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์กลับนำสืบว่าจำเลยบุกรุกที่ดินในหมู่ที่ 3 มีเนื้อที่ 16-20 ไร่ ผิดจากฟ้องทั้งเนื้อที่กับที่ตั้งของที่ดินแสดงว่าโจทก์นำสืบไม่สมฟ้อง จะลงโทษจำเลยฐานบุกรุกที่ดินตามฟ้องไม่ได้ และกรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 (1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้หากคำสั่งจำหน่ายคดีเป็นการหลงผิด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและการเรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี: ผู้รับประกันภัยยังต้องรับผิดแม้ไม่ได้เรียกผู้เอาประกันภัย
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้ายบัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่ อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย และผลของการไม่เรียกผู้เอาประกันภัยเข้าสู่คดี
การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคสองตอนท้าย บัญญัติว่าในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัย ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้น ก็เพื่อจะได้พิจารณาความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายละเลยไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย และทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่