คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย ทองลงยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 537 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานหากประเด็นยังไม่ชัดเจน
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่ดินกับตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนสัดตลอดเวลา มิใช่ของจำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นอ้างว่าตึกพิพาทไม่เป็นส่วนควบหรือปลูกขึ้นอย่างไรที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดินรายนี้ จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบหรือที่ศาลจะวินิจฉัยในข้อหลังนี้
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไป ย่อมสั่งงดแล้ววินิจฉัยคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง: การงดสืบพยานเมื่อผู้ร้องมิได้อ้างเหตุตึกมิใช่ส่วนควบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าที่ดินกับตึกพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนสัดตลอดเวลา มิใช่ของจำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นอ้างว่าตึกพิพาทไม่เป็นส่วนควบหรือปลูกขึ้นอย่างไรที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดินรายนี้ จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบหรือที่ศาลจะวินิจฉัยในข้อหลังนี้
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานต่อไป ย่อมสั่งงดแล้ววินิจฉัยคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดหลังยอมรับอำนาจคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: สิทธิฟ้องสิ้นสุดเมื่อไม่นำคดีสู่ศาล
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิกฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณีคือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์ หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบ และนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี(2)ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี(1)อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า: การอุทธรณ์และการนำคดีสู่ศาลตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ กฎหมายให้อุทธรณ์ได้ใน 2 กรณี คือ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งตามมาตรา 16, 18 หรือ 19 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น ๆ ภายใน 90 วัน หรือเมื่อนายทะเบียนประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามมาตรา 21 แล้ว และมีผู้คัดค้าน ผู้ขอจดทะเบียนต้องยื่นคำโต้แย้งแล้วให้นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เมื่อนายทะเบียนวินิจฉัยแล้วภายใน 90 วัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ โดยต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนถึงการนำคดีไปสู่ศาลใน 90 วันด้วย และให้นายทะเบียนรอฟังคำวินิจฉัยของศาล ถ้ามิได้อุทธรณ์หรือมิได้นำคดีไปสู่ศาล สิทธิอุทธรณ์หรือสิทธินำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไปตามมาตรา 22
การนำคดีไปสู่ศาลตามมาตรา 22 หมายถึงการฟ้องผู้คัดค้านและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีคำวินิจฉัยเช่นนั้นต่อศาลมิใช่ฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เพราะแม้ฝ่ายหนึ่งจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วอีกฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ก็มีสิทธินำคดีไปฟ้องศาลได้โดยแจ้งแสดงหลักฐานให้นายทะเบียนทราบและนายทะเบียนจะต้องรอฟังคำพิพากษาของศาล โดยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ใช้สิทธินำคดีมีข้อพิพาทไปฟ้องศาล คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา 19 ตรี
ความในมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย ที่บัญญัติว่าคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น หมายถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) หรือคำสั่งตามมาตรา 19 ตรี (2) ซึ่งมีผลบังคับแก่คู่กรณีทุกฝ่าย
เมื่อผู้คัดค้านอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 22 ผู้ขอจดทะเบียนมิได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาล เพื่อมิให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ย่อมเป็นการยอมรับให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านตลอดถึงคำขอจดทะเบียน กับคำแถลงโต้แย้งของผู้ขอจดทะเบียนที่ต่อสู้กับผู้คัดค้านในชั้นที่นายทะเบียนมีคำวินิจฉัยแล้วเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 19 ตรี (1) อย่างไร คำวินิจฉัยนั้นย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 19 เบญจ วรรคท้าย คู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใด ไม่มีสิทธิจะฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยต่อศาลในกรณีเดียวกันอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายข้าวเปลือก – สิทธิเรียกร้องตามสัญญา ไม่ใช่ค่าเสียหายจากฝากทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อข้าวเปลือกแล้วให้จำเลยเก็บข้าวเปลือกไว้ เมื่อโจทก์ต้องการเมื่อใดจำเลยต้องมอบข้าวเปลือกให้ตามข้อตกลง ครั้นโจทก์ไปขอรับข้าวเปลือก จำเลยไม่อาจมอบให้ได้ ขอให้จำเลยส่งมอบข้าวเปลือก ถ้าส่งมอบไม่ได้ก็ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่ได้รับมอบไว้ ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671โจทก์มีสิทธิฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายข้าวเปลือก: สิทธิเรียกร้องให้ส่งมอบหรือคืนเงินมีอายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อข้าวเปลือกแล้วให้จำเลยเก็บข้าวเปลือกไว้ เมื่อโจทก์ต้องการเมื่อใดจำเลยต้องมอบข้าวเปลือกให้ตามข้อตกลง ครั้นโจทก์ไปขอรับข้าวเปลือก จำเลยไม่อาจมอบให้ได้ ขอให้จำเลยส่งมอบข้าวเปลือก ถ้าส่งมอบไม่ได้ก็ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่ได้รับมอบไว้ ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 โจทก์มีสิทธิฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้ลงโทษจำเลยไม่ได้หากจำเลยปฏิเสธชั้นศาล และไม่มีพยานประกอบอื่นยืนยัน
การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธชั้นศาลมาใช้ลงโทษจำเลยนั้น โจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริงโดยพยานประกอบนั้น ต้องมิใช่คำตำรวจผู้สอบสวน คำรับนั้นเอง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับชั้นสอบสวนใช้ลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานประกอบอื่นที่ไม่ใช่คำตำรวจ
การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธชั้นศาลมาใช้ลงโทษจำเลยนั้น โจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริงโดยพยานประกอบนั้น ต้องมิใช่คำตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้นเอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 85/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความต้องมีข้อตกลงชัดเจน การชำระเงินหลังร้องทุกข์ไม่ถือเป็นการยอมความ
การประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยส่งเงินมาให้ผู้เสียหายรับไว้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ทำความตกลงระงับข้อพิพาทต่อกัน เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความต้องมีข้อตกลงระงับข้อพิพาท การรับเงินหลังร้องทุกข์ไม่ใช่การยอมความ
การประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยส่งเงินมาให้ผู้เสียหายรับไว้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ทำความตกลงระงับข้อพิพาทต่อกัน เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย
of 54