พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขโทษจำเลยที่ไม่ใช่ผู้ถูกอุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 - 2 - 3 - 4 ฐานพยายามปล้นและลงโทษจำเลยที่ 2 - 3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 ผ่อนผัน ไม่เอาโทษแต่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2 - 3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 2 - 3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 - 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่อุทธรณ์ และขอบเขตการใช้กฎหมายผ่อนผันโทษในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1-2-3-4 ฐานพยายามปล้น และลงโทษจำเลยที่ 2-3 ฐานมีปืนไม่รับอนุญาต เฉพาะในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ จำเลยที่ 4 อุทธรณ์เฉพาะในข้อหาฐานพยายามปล้นทรัพย์ เช่นนี้ แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จะมีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 9 ผ่อนผันไม่เอาโทษแก่ผู้ที่นำอาวุธปืนที่มีอยู่ไปจดทะเบียนขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนด 90 วันก็ตาม ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องจำเลยที่ 2-3 ในข้อหาฐานมีปืนไม่รับอนุญาต โดยอ้างว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีหาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่2-3 มีอาวุธปืนนั้น จะมีโดยได้รับอนุญาตหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ซึ่งเกี่ยวกับจำเลยที่ 2-3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความสาหัสของบาดแผลเพื่อกำหนดโทษฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ที และถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วันเพราะประสาทยังไม่ปกติไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้านเพราะต้องเดินไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฏอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งมีโทษเบากว่าแม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งมีโทษเบากว่าแม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความร้ายแรงของการบาดเจ็บเพื่อกำหนดความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ทีและถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วัน เพราะประสาทยังไม่ปกติ ไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้าน เพราะต้องเดินทางไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฎอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนา เกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 3 จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรค 2 ซึ่งมีโทษเบากว่า แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 3 จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรค 2 ซึ่งมีโทษเบากว่า แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากเหตุข่มเหง: การลดโทษอาญาในคดีทำร้ายถึงแก่ชีวิต
ผู้ตายไปพบนางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยอยู่บ้านคนเดียว ก็คุกคามเกรี้ยวกราดเป็นทำนองข่มเหงว่าจะฆ่าจะชำเรา ครั้นนางเกษร้องเอ็ดอึงขึ้น ผู้ตายเป็นพระภิกษุจึงต้องรีบลงจากเรือนไป แต่พอดีจำเลยทั้งสองกลับมาได้ยินเสียงร้องและเมื่อทราบเรื่องเลยออกติดตามทันทีจำเลยตามไปห่างเรือน 6 - 7 เส้น ก็ทันและทำร้ายผู้ตายนอนตายอยู่บนถนน ถือว่า การกระทำของนายสุวรรณจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นแล้ว
ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.72 ผู้ถูกข่มเหงไม่จำเป็นจะต้องกระทำลงทันทีหรือ ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง หากได้กระทำผิดต่อผู้ที่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ก็ยังถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2502)
นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคล หาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษเพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.72 ผู้ถูกข่มเหงไม่จำเป็นจะต้องกระทำลงทันทีหรือ ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง หากได้กระทำผิดต่อผู้ที่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ก็ยังถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2502)
นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคล หาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษเพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะ: การลดโทษอาญาในกรณีที่ผู้ถูกข่มเหงกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงภายหลังเหตุข่มเหง
ผู้ตายไปพบนางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยอยู่บ้านคนเดียวก็คุกคามเกรี้ยวกราดเป็นทำนองข่มเหงว่าจะฆ่าจะชำเรา ครั้นนางเกษร้องเอ็ดอึงขึ้น ผู้ตายเป็นพระภิกษุจึงต้องรีบลงจากเรือนไป แต่พอดีจำเลยทั้งสองกลับมาได้ยินเสียงร้องและเมื่อทราบเรื่องเลยออกติดตามทันที จำเลยตามไปห่างเรือน 6-7 เส้น ก็ทันและทำร้ายผู้ตายนอนตายอยู่บนถนน ถือว่าการกระทำของนายสุวรรณจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นแล้ว
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ผู้ถูกข่มเหงไม่จำเป็นจะต้องกระทำลงทันทีหรือ ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง หากได้กระทำผิดต่อผู้ที่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ก็ยังถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2502)
นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคลหาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษเพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ผู้ถูกข่มเหงไม่จำเป็นจะต้องกระทำลงทันทีหรือ ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง หากได้กระทำผิดต่อผู้ที่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ก็ยังถือว่ากระทำโดยบันดาลโทสะได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2502)
นายสอจำเลยกับนายสุวรรณจำเลยเป็นเพียงเพื่อนสนิทกัน การที่นางเกษภรรยานายสุวรรณจำเลยถูกข่มเหงรังแก ย่อมเป็นการข่มเหงนายสุวรรณผู้สามีด้วย เป็นเหตุผลเกี่ยวกับตัวบุคคลหาใช่ลักษณะคดีไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะทำผิดร่วมกัน ก็จะปรับบทลงโทษนายสอจำเลยตาม มาตรา 72 คือ เหตุลดโทษเพราะบันดาลโทสะด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881-1885/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกเป็นรอการลงโทษ และการขยายผลประโยชน์ทางโทษแก่จำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยได้ทำผิดจริง ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษไว้ ถือว่าเป็นการแก้มาก โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวล ก.ม.อาญา มาตรา89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย.
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวล ก.ม.อาญา มาตรา89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881-1885/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้โทษจำคุกเป็นรอการลงโทษ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้โทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยได้ทำผิดจริง ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษไว้ ถือว่าเป็นการแก้มากโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยที่ 5 ได้สมคบกับจำเลยอีก 4 คนกระทำความผิดอันเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 โทษที่ศาลอุทธรณ์วางแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นโทษเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แม้จำเลยที่ 5 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้โทษจำเลยที่ 5 ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกงจากกฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายอาญาและผลกระทบต่อตัวการ-ผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มี ความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดบัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้วและที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้นอันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้วซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดและเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.341 ประกอบด้วย ม.86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกง: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด, ศาลพิจารณาโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.