พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากยาเสพติดและอาวุธปืน, การปรับบทกฎหมายยาเสพติด, และอำนาจศาลแก้ไขโทษจำเลยร่วม
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากบ้านของจำเลยที่ 1 เป็นคนละจำนวนกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายให้แก่สายลับและสามารถแยกเจตนาออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ส่วนความผิดฐานสนับสนุนให้ผู้อื่นร่วมกันเสพกัญชา ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 และมาตรา 27 ยกเลิกความในมาตรา 76 และมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มานั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากบทความผิดและบทกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กับกฎหมายเดิมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดที่จำเลยที่ 1 สนับสนุน เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 22 และมาตรา 27 ยกเลิกความในมาตรา 76 และมาตรา 92 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ มานั้นยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากบทความผิดและบทกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่กับกฎหมายเดิมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดที่จำเลยที่ 1 สนับสนุน เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษจำคุกคดีทำไม้ฐานความผิดไม่ร้ายแรงและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดได้
ไม้สักแปรรูปที่เจ้าพนักงานยึดเป็นของกลางในคดีนี้มีจำนวนเพียง 1 แผ่น ปริมาตร 0.268 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนักประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ยังอยู่ในวิสัยที่พนักงานคุมประพฤติจะแก้ไขฟื้นฟูให้จำเลยที่ 1 กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 58 และเนื่องจากการรอการลงโทษด้วยเหตุสภาพแห่งความผิดและพฤติการณ์ตามรูปคดีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนเช่นกัน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษจำคุกดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ป.อ. มาตรา 89
ความผิดฐานทำไม้เป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ อันเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนักตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง (1)
ความผิดฐานทำไม้เป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ อันเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษบทหนักตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่า, เป็นผู้ใช้, รับของโจร, มีอาวุธปืนเถื่อน, ศาลพิพากษากลับ
พยานโจทก์มีพันตำรวจโทสมหมาย กองวิสัยสุข เบิกความว่า หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนไทย ได้ออกหมายจับนายถ่ายแซ่จึง และจำเลยทั้งห้าเนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายถ่ายได้ก่อน นายถ่ายให้การรับสารภาพว่า นายถ่ายได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ฆ่าผู้ตายทั้งสี่ เนื่องจากนายสมศักดิ์ผู้ตายจะให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 ออกจากราชการระหว่างสอบสวนเจ้าพนักงานตำรวจจึงกันนายถ่ายไว้เป็นพยาน โจทก์มีนายถ่ายเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชวนพยานไปฆ่านายสมศักดิ์เนื่องจากนายสมศักดิ์จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในกรณีมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานและยังจะไม่ให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นครูโรงเรียนบ้านจานขายของที่โรงเรียนบ้านจานอีกต่อไป โดยจำเลยที่ 1 นัดว่าจะไปรับพยานที่หน้าบ้านนางหลอดพี่สาวพยานเวลาประมาณ 21 นาฬิกา เมื่อถึงเวลานัด จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาหาพยานและบอกพยานว่าจำเลยที่ 1 จะล่วงหน้าไปก่อน ให้พยานรอจำเลยที่ 2 และที่ 4 จะขับรถยนต์มารับพยาน ต่อมาจำเลยที่ 4 ขับรถยนต์กระบะมามีจำเลยที่ 2 นั่งอยู่ที่กระบะท้ายแล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถไปสมทบกับจำเลยที่ 1 ที่บริเวณวัดสระจระเข้ เมื่อไปถึงจำเลยที่ 4 หยิบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า 1 กระบอก ส่งให้พยาน จำเลยที่ 1 ที่ 2และพยานได้เดินไปซุ่มอยู่บริเวณรั้วบ้านนายสมศักดิ์จนถึงเวลาประมาณ 23 นาฬิกาทั้งสามจึงลอดรั้วลวดหนามเข้าไปในบริเวณบ้านนายสมศักดิ์ จากนั้นจำเลยที่ 1 ปีนขึ้นไปบนระเบียงชั้นสอง แล้วใช้ไขควงงัดหน้าต่างเข้าไปในบ้านและลงไปที่ชั้นล่าง พบผู้ตายทั้งสี่กำลังนอนหลับอยู่ จำเลยที่ 1 เดินมาเปิดประตูและรับอาวุธปืนจากพยานจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงบริเวณศีรษะผู้ตายทั้งสี่จนถึงแก่ความตาย ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และพยานได้ช่วยกันค้นหาทรัพย์สินภายในบ้านผู้ตาย พบกุญแจ 1 พวงวางอยู่บนโต๊ะรับแขก พยานได้ปลดสร้อยคอทองคำที่นางจิราภรณ์สวมอยู่ส่งให้จำเลยที่ 1และเอากุญแจบนโต๊ะรับแขกไปไขประตูโรงรถ มีรถยนต์กระบะและรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์จอดอยู่ในนั้น จำเลยที่ 2 พยายามติดเครื่องรถยนต์กระบะ แต่เครื่องยนต์ไม่ติด จำเลยที่ 1 จึงเข็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีกุญแจเสียบติดไว้มาติดเครื่อง แล้วขับรถออกไปหาจำเลยที่ 4 ซึ่งจอดรถคอยอยู่บริเวณวัดสระจระเข้ มีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายส่วนพยานถืออาวุธปืนเดินมาสมทบ เมื่อมาถึงพยานได้ส่งอาวุธปืนให้แก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 เอาไปเก็บไว้ที่พนักพิงในรถยนต์กระบะ จำเลยที่ 4 สั่งให้พยานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์ขึ้นรถยนต์กระบะ แล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์กระบะตรงไปทางจังหวัดนครราชสีมา ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปทางบ้านหนองกระสังข์ พยานจึงเดินไปดูลิเกที่บริเวณวัดสระจระเข้ หลังเกิดเหตุประมาณ 17 วัน เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพยานวันรุ่งขึ้นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ เห็นว่า แม้คำเบิกความของนายถ่ายเข้าลักษณะคำซัดทอดของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานดังกล่าวแต่อย่างใดการจะเชื่อพยานได้หรือไม่ จะต้องดูว่าพยานเบิกความอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่ ในเรื่องนี้นายถ่ายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตระเตรียมวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการกระทำความผิด และขั้นตอนหลังเกิดเหตุแล้วโดยละเอียดสมเหตุสมผลไม่ปรากฏว่ามีพิรุธแต่ประการใด เมื่อฟังประกอบกับคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมนั่นเอง จำเลยที่ 2 ยังไม่มีโอกาสที่จะปรุงแต่ง อีกทั้งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดกล่าวถึงขั้นตอนการกระทำความผิดยากที่พนักงานสอบสวนจะปรุงแต่งขึ้นเอง เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสมัครใจ ทั้งยังนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและมีการถ่ายรูปไว้ด้วย ปรากฏตามบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 บันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.33 จ.44จ.3 และ จ.2 ตามลำดับ การนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ก็ได้กระทำโดยเปิดเผยมีประชาชนมากมายมามุงดู ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าถูกบังคับขู่เข็ญให้รับสารภาพและแสดงท่าต่าง ๆ ประกอบคำรับสารภาพ จึงฟังไม่ขึ้น และที่จำเลยที่ 2 เบิกความอ้างฐานที่อยู่ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะหมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ ปัญหาต่อไปว่าจำเลยที่ 4มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าผู้ตาย ร่วมกันมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาต และรับของโจรหรือไม่ พยานโจทก์มีนายเสริมศักดิ์ กองดิน และนางดรุณี ทบวอ ซึ่งรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนเดียวกันกับจำเลยที่ 5 เบิกความว่า จำเลยที่ 4 เป็นสามีของจำเลยที่ 5เมื่อประมาณต้นปี 2536 จำเลยที่ 5 นำสิ่งของมาขายที่บ้านพักครูภายในโรงเรียนนายสมศักดิ์ในฐานะอาจารย์ใหญ่ได้ขอร้องให้จำเลยที่ 5 เลิกขายแข่งกับร้านสหกรณ์ของโรงเรียน จำเลยที่ 5 ไม่ยอมเลิก นายสมศักดิ์จะพูดกับจำเลยที่ 5 อีกครั้งเมื่อโรงเรียนเปิดเทอม แต่มาถูกฆ่าตายเสียก่อน นอกจากนี้พยานโจทก์มีจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์ คล้ายนาค ซึ่งเคยทำงานร่วมกับจำเลยที่ 4 เบิกความว่า เมื่อต้นปี 2536พยานได้พูดคุยกับจำเลยที่ 4 และเคยถามจำเลยที่ 4 ว่ากลับบ้านบ่อยหรือไม่ จำเลยที่ 4 ตอบว่ากลับบ้านทุกสัปดาห์ เพราะจำเลยที่ 5 มีปัญหากับอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่จะเอาจำเลยที่ 5 ออก เมื่อฟังประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.43 ที่ว่า ประมาณเดือนพฤษภาคม 2536 จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจานและบอกจำเลยที่ 1 ว่าจะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอกหมายถึงต้องฆ่านายสมศักดิ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1จึงตอบตกลง จำเลยที่ 4 บอกว่าจำเลยที่ 4 จะเป็นผู้เอาอาวุธปืนมาให้ ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 มาที่บ้านพักครูที่จำเลยที่ 5 พักอยู่ นายถ่ายได้มาหาจำเลยที่ 1ที่บ้านพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงชวนให้นายถ่ายร่วมฆ่านายสมศักดิ์จำเลยที่ 1 ได้ไปหาจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ว่า นายถ่ายมา จำเลยที่ 4 พูดว่า"จัดการเป็นไรปืนมีแล้ว" ให้จำเลยที่ 1 กลับไปรับประทานอาหารก่อน แล้วมาที่นี่ประมาณ 20 ถึง 21 นาฬิกา คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นคำให้การของผู้กระทำความผิดด้วยกัน ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนย่อมนำมาประกอบการพิจารณาได้ เมื่อคำเบิกความของนายเสริมศักดิ์ นางดรุณี และจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์สอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และเมื่อรับฟังประกอบกับคำเบิกความของนายถ่ายที่เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะมารับพยานกับจำเลยที่ 2 ไปยังที่บริเวณวัดสระจระเข้ใกล้บ้านนายสมศักดิ์พร้อมมอบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า ให้แก่พยานเพื่อนำไปยิงนายสมศักดิ์ จำเลยที่ 4 คงคอยอยู่ที่นั่น เมื่อยิงผู้ตายทั้งสี่แล้ว พยานเป็นคนนำอาวุธปืนมาคืนให้แก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 รับอาวุธปืนไปวางไว้ที่หลังพนักพิง จากนั้นจำเลยที่ 4 ได้บอกให้พยานกับพวกยกรถจักรยานยนต์ที่เอามาจากโรงรถบ้านผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ก็ขับรถไปทางจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งก็ได้ความว่าจำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ไปจอดทิ้งไว้ที่อื่นเพื่ออำพรางคดีพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่า จำเลยที่ 4 คือคนร้าย พยานหลักฐานของจำเลยที่ 4 ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจาน และบอกจำเลยที่ 1 ว่า "จะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอก" หมายถึงฆ่านายสมศักดิ์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จึงทำให้จำเลยที่ 1 ตอบตกลงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 ตัดสินใจที่จะกระทำการฆ่านายสมศักดิ์และจำเลยที่ 4 รับว่าจะเป็นผู้พาอาวุธปืนมาให้ด้วย ในที่สุดจำเลยที่ 1 ที่ 2 และนายถ่ายได้นำอาวุธปืนที่จำเลยที่ 4 มอบให้ไปฆ่านายสมศักดิ์ บุตรและภริยาของนายสมศักดิ์ตามที่จำเลยที่ 4 ยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และจำเลยที่ 4 ยังมีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักมาไปจอดทิ้งไว้ที่อื่น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจรด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ต่อเนื่องกัน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษแม้โจทก์มิได้ฟ้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายนั้นนาฬิกาของผู้เสียหายหลุดจากข้อมือ จำเลยที่ 1 กับพวกมิได้เข้าหยิบฉวยนาฬิกาแต่อย่างใด กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนถึงปากซอย แสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แต่เมื่อทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเห็นนาฬิกาของผู้เสียหายตกอยู่จึงมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและฐานลักทรัพย์เท่านั้น การทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องให้ลงโทษในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขโทษที่สูงเกินไป และขยายผลถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาแก้ไขโทษที่สูงเกินไป และมีผลถึงจำเลยร่วม
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินไป ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ การร่วมกระทำผิด การลดโทษเหมาะสมกับพฤติการณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ แต่ไม้และอุปกรณ์ทำไม้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย โทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดมานั้นมากเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดีแม้จำเลยที่ 3 จะมิได้ฎีกา แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษาจำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งหมด มิใช่เหตุส่วนตัว
เหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีนั้น ต้องเป็นเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นทั้งเรื่อง มิใช่เหตุส่วนตัวของจำเลยคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคนใดมีเจตนาบุกรุกหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนการที่จำเลยที่ 1 เปิดประตูเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายด้วยตนเอง ต่อมาจึงเรียกจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ตามขึ้นไปในภายหลังนั้นจะเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยแต่ละคนหาเกี่ยวข้องกันทั้งเรื่องไม่ กรณีเป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยแต่ละคนโดยแท้มิใช่เหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยที่ 1 ว่าขาดเจตนาทุจริตและที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษาจำเลยที่ไม่อุทธรณ์ ต้องพิจารณาเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดีทั้งเรื่อง ไม่ใช่เหตุส่วนตัว
เหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีนั้นต้องเป็นเหตุที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นทั้งเรื่องมิใช่เหตุส่วนตัวของจำเลยคนใดคนหนึ่งดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยคนใดมีเจตนาบุกรุกหรือไม่จะต้องพิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนการที่จำเลยที่1เปิดประตูเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายด้วยตนเองต่อมาจึงเรียกจำเลยที่2และที่3ให้ตามขึ้นไปในภายหลังนั้นจะเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยแต่ละคนหาเกี่ยวข้องกันทั้งเรื่องไม่กรณีเป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยแต่ละคนโดยแท้มิใช่เหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยที่1ว่าขาดเจตนาทุจริตและที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1ด้วยนั้นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา.