คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ใหญ่ศาลยาชีวิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมไม่ชอบเมื่อมีผู้ไม่ถือหุ้นออกเสียง แม้ผู้ถือหุ้นเกิน 1/4 จะลงคะแนนเป็นเอกฉันท์
การประชุมของบริษัทซึ่งมีบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมแสดงความเห็นและออกเสียงลงคะแนนด้วย. แม้ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมด้วยมีหุ้นรวมกันเกิน 1 ใน 4ของจำนวนหุ้นทั้งหมดและได้ลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ก็ตาม.มตินั้นก็เป็นมติที่ไม่ชอบ. ศาลเพิกถอนเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนในฐานะตัวแทนผู้เช่า ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการเช่าที่ดินของวัด. ได้พูดกับโจทก์ว่าไปหลอกลวงพระ. โดยพูดต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัด. ที่ให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยในเรื่องการปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัด. ดังนี้ ถือว่าเป็นการกล่าวในฐานะที่ตนมีส่วนได้เสียและเพื่อความเป็นธรรมในฐานะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายคู่พิพาทกับโจทก์.จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียของตน. จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องในชั้นฎีกา ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี
จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. แต่ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ภายในกำหนดที่ศาลสั่ง. เป็นการทิ้งฟ้อง ศาลฎีกาจึงต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบรถ, เรียกค่าเสียหาย, และเบี้ยปรับที่อาจลดได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ถ้าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถและเลิกสัญญาได้.เงินที่ส่งชำระมาแล้วยอมให้โจทก์ริบ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่จะชำระให้จนครบ. ส่วนค่าเสียหายจำเลยยอมรับผิดชอบ.รถที่คืนจำเลยยินยอมให้โจทก์จำหน่ายหากได้ราคาไม่ครบถ้วน. จำเลยต้องชดใช้เงินที่ขาด. ความตอนท้ายที่เกี่ยวกับการให้จำหน่ายรถนั้น เป็นวิธีการกำหนดและชดใช้ค่าเสียหายอย่างหนึ่ง. ซึ่งเมื่อจำหน่ายรถ จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน. แม้ยังไม่จำหน่ายรถ. โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งจำเลยต้องรับผิดอยู่แล้ว โดยพิสูจน์ได้จากพยานหลักฐาน.
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว. ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย. ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา.
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ. โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย. ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ.
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้. ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป. กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน. เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้. จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา.
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไป. โจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้. คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น.
หากรถที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจากการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้.
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น. เป็นข้อสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า. ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้.แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย. ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้า.แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน. ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้.
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้. ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว. เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน. จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง. ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้. ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้อง.เพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว. (ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิเมื่อใด แม้มีการอุทธรณ์ก็ไม่ทุเลาหากไม่ได้รับการอนุมัติจากอธิบดี
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง.
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505. แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร. เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร).
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์. ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด.
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ. แต่อธิบดีไม่อนุญาต. ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความกับการเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาไม่ทำให้ภารจำยอมเสื่อม
โจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความในการนำกระบือผ่านที่ดินนาของจำเลยชั่วระยะเวลาก่อนจำเลยทำนาเสร็จ. เมื่อการทำนาของจำเลยตามที่เป็นมาจนเกิดภารจำยอมเป็นการทำนาดำ. จำเลยจะเปลี่ยนเป็นทำนาหว่าน. ซึ่งลงมือก่อนทำนาดำ. เป็นเหตุให้โจทก์ใช้ทางนำกระบือผ่านไม่ได้. อันเป็นการเสื่อมประโยชน์แก่ภารจำยอมหาได้ไม่.
แม้จำเลยจะทำนาหว่านได้ผลดีกว่านาดำ. ก็ไม่เป็นเหตุที่อ้างให้เสื่อมประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: ข้อจำกัดเมื่อข้อเท็จจริงใหม่เพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อสิทธิจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บตามมาตรา295 ในชั้นพิจารณาปรากฏว่าบาดแผลผู้เสียหายถึงอันตรายสาหัสจึงขอเพิ่มเติมฟ้องในข้อหาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา297 เช่นนี้ หาใช่เป็นแต่การแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิด คือ บทมาตราในกฎหมายที่บัญญัติความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องกล่าวไว้ในฟ้องเท่านั้นไม่จึงมิต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 164 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสาหัสของบาดแผลนี้เพิ่งมาปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลมิได้ปรากฏมาแต่ในชั้นสอบสวน โจทก์จึงฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120(อ้างฎีกาที่750/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการส่งเรื่องขอรับรองอุทธรณ์ไปยังอธิบดีอัยการ และรูปแบบคำวินิจฉัยของศาล
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่.ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้น. ผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193. และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่ง. แต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง.จึง.ไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่(อ้างฎีกาที่ 1244/2503).
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรอง. การรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เอง. ผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเอง. หาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่.(อ้างฎีกาที่ 656/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องคดีทุจริต-ยักยอกทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงจำนวนครั้งกระทำผิด และอำนาจเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทุจริตปลอมเอกสารและนำออกใช้และเบียดบังยักยอกเงินไป แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าปลอมใช้เอกสารมากกว่า 2 ครั้ง ซึ่งเกินกว่าที่ระบุในฟ้อง. ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงต่างกับฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ซึ่งให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สิน หรือราคาคืนในคดียักยอกทรัพย์นั้น.หมายรวมทั้งคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ด้วย ตามแบบอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 1907/2494.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรมในภาวะฉุกเฉิน: การกระทำเกินสมควรแก่เหตุ
การที่ผู้ตายขึ้นเรือนจำเลยในกลางคืนยามวิกาล ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้. นอกจากว่าเป็นการขึ้นมาในลักษณะอาการของคนร้าย. จำเลยย่อมมีสิทธิกระทำการป้องกันภยันตรายได้ ตามพฤติการณ์ที่จำเลยต้องประสบภยันตรายขณะนั้น. ฉะนั้นแม้จำเลยจะฟันผู้ตายหลายที จำเลยย่อมไม่มีโอกาสจะยับยั้งชั่งใจกระทำน้อยกว่าที่ได้กระทำไปแล้ว. จึงจะถือเป็นการกระทำเกินสมควรแก่เหตุ. หรือเกินกว่าที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่ได้.
of 2