คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของบันทึกตกลงรับสภาพหนี้: การชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจและไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลบังคับได้ แม้จะรวมดอกเบี้ยที่โจทก์ชดใช้ให้ลูกค้าไปแล้ว
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพัน แม้โจทก์จะชำระดอกเบี้ยให้ลูกค้าเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้รับเงินคืนประกันอากรของลูกค้าโจทก์คืนจากกรมศุลกากรแล้วยักยอกเสีย จำเลยได้ทำบันทึกตกลงรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์ว่าจะยอมคืนเงินดังกล่าวและดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินคืนจากกรมศุลกากรจนถึงวันที่ชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น บันทึกความตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นนิติกรรมซึ่งจำเลยทำขึ้นด้วยความสมัครใจ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงมีผลบังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีผลผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือนทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่2629/2527).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ย่อมผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่นายจ้างทำหนังสือยินยอมจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง 6 เดือน ทั้งที่ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 มิได้ห้ามไว้แต่อย่างใด จึงต้องบังคับไปตามสัญญาดังกล่าว และหาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอันตกเป็นโมฆะไม่ ข้อตกลงนั้นย่อมผูกพันนายจ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2629/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของรัฐวิสาหกิจในการขนส่งไปรษณีย์ และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้รับประกันภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 บัญญัติให้การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องบังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับทบวงการนั้น ๆ ดังนี้ การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์กับการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่ฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ บริษัทสายการบินอลิตาเลียจำกัดจำเลยที่ 2 มีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ และมิใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยไปรษณียภัณฑ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.เป็นผู้ฝากส่ง จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวสูญหายไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อหลักประกัน – การสลักหลัง – สิทธิผู้ทรงเช็ค – การเรียกเงินคืน
หากได้ความตามความเป็นจริงดังที่โจทก์ฟ้องและฎีกาว่าโจทก์สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ส. เพื่อเป็นหลักประกันในการเข้าทำงานของโจทก์ แล้วจำเลยนำไปเข้าบัญชีของจำเลยโดยบริษัท ส. มิได้สลักหลังโอนเช็คให้ก็ถือได้ว่าไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทและจำเลยไม่ใช่ผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยหามีสิทธิเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ โจทก์ย่อมเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการพิจารณาต่อไปให้ได้ความว่าเป็นความจริงดังโจทก์ฟ้องหรือไม่ แต่มีคำสั่งงดสืบพยานของโจทก์จำเลยเสีย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้จากการเล่นแชร์: หน้าที่ชำระหนี้ค่าแชร์ยังคงอยู่ แม้มีการตกลงหักหนี้ระหว่างผู้เล่น
จำเลยประมูลแชร์ ได้ จึงออกเช็คมอบให้นายวงแชร์ นำไปเก็บเงินจากโจทก์มามอบให้จำเลย โจทก์มีหน้าที่ส่งมอบเงินค่าแชร์แก่นายวงแชร์และนายวงแชร์ มีหน้าที่นำเงินที่ได้รับจากโจทก์ไปมอบแก่จำเลยนายวงแชร์ มิได้อยู่ในฐานะผู้ทรงหรือผู้รับเงินตามเช็ค การที่โจทก์และนายวงแชร์ ตกลงกันให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จะต้องชำระค่าแชร์กับหนี้ที่ นาย วงแชร์ เป็นลูกหนี้โจทก์ โดยนายวงแชร์ จะชำระเงินค่าแชร์ส่วนของโจทก์แก่จำเลยเอง เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับนายวงแชร์ไม่มีผลทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเงินค่าแชร์แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์เช็คดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ตามสัญญาเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามเช็ค แม้ยอมรับว่าออกเช็คแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 900 หาใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินมิให้โต้เถียง เป็นอย่างอื่น ดังนั้น แม้จำเลยจะยอมรับว่าออกเช็คพิพาทจริง แต่จำเลยก็ขอต่อสู้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเข้าหุ้นส่วนกับจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คที่จำเลยออกเพื่อค้ำประกันค่าหุ้นนั้นจำเลยจึงชอบที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ เมื่อจำเลยอ้างมูลที่มาของการออกเช็ค ตลอดจนเหตุที่จำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นประเด็นมาในคำให้การแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ถอน หุ้นอย่างไร เป็นจำนวนเท่าใด หุ้นส่วนเลิกกันหรือไม่ นั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าและสัญญาการครอบครอง - การผิดนัดสัญญาทำให้มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ แม้ผู้เช่าจะไม่เคยเข้าครอบครอง
แม้โจทก์ผู้รับโอนสิทธิการเช่าจากเจ้าของเดิมยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าเลย แต่จำเลยผู้ครอบครองตึกแถวพิพาทได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะยอมออกจากตึกแถวพิพาทภายในเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมออก จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญานั้น.
of 37