คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันหนี้: แม้ตกลงไม่ขึ้นเงิน ก็ผูกพันตามกฎหมายเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายจำเลยให้การต่อสู้ว่า ได้ออกเช็คให้โจทก์ถือไว้เป็นประกันในการที่จำเลยกู้เงินโจทก์ไปมิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบพังได้ตามข้อต่อสู้ จำเลยก็หาพ้นความ รับผิดไม่ เพราะการที่จำเลยกู้เงินโจทก์ไปและสั่งจ่ายเช็ครายพิพาทให้โจทก์ไว้เป็นประกันดังที่จำเลยต่อสู้นั้น ย่อมเป็นการออกเช็คโดยมีมูลหนี้มาจากการกู้เงินและมีเจตนาที่จะผูกพันบังคับชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย เช็ครายพิพาทเป็นเช็คที่ลงวันที่ อันเป็นการกำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้วว่า ให้ผู้ทรงเช็คนำไปยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินได้ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป ที่จำเลยอ้างว่าได้ตกลงกับโจทก์ไว้ว่า ไม่ให้นำเช็คไปขึ้นเช็คนั้น จึงขัดกับข้อความในเช็ค ทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งได้ออกเช็คไว้เป็นประกันนั้น ได้ระงับไปแล้วทั้งหมดหรือบางส่วนแต่อย่างใด จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914, 989 กรณีหาใช่เป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ คดีไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องสืบพยานกันอีกต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ผู้อื่น สัญญาจำนองระบุรับเงินแล้วแต่ไม่มีการจ่ายจริง จำเลยมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
แม้ในสัญญาจำนองจะระบุว่าผู้จำนองได้รับเงินเป็นการเสร็จแล้วก็หาอาจฟังเป็นหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินกันจริงได้ไม่ การนำสืบของจำเลยที่ว่าไม่มีการมอบเงินกัน เท่ากับเป็นการสืบว่าไม่มีมูลหนี้ เมื่อการนำสืบดังกล่าวรับฟังได้ย่อมไม่มีหนี้ประธาน หนี้ตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงไม่เกิดขึ้นหามีข้อห้ามมิให้นำสืบเช่นนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: เจ้าของบ้านไม่ต้องรับผิดหากแจ้งให้เรียกเก็บค่าบริการจากผู้เช่าแต่โจทก์ละเลย
จำเลยแจ้งโจทก์ขอให้โจทก์ระงับการใช้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยซึ่งอยู่ในบ้านที่ให้จำเลยร่วมเช่าก่อนที่จำเลยร่วมจะมาเช่าบ้านและใช้เครื่องโทรศัพท์แต่โจทก์ตอบปฏิเสธทั้งๆที่สามารถจะทำได้และเมื่อจำเลยร่วมใช้เครื่องโทรศัพท์ดังกล่าวจำเลยก็มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ไปเก็บค่าบริการ จากจำเลยร่วมและแจ้งด้วยว่าจำเลยไม่รับผิดชอบในหนี้จำนวนนี้โจทก์ได้รับหนังสือแล้วก็ไม่จัดการเรียกเก็บเงินจาก จำเลยร่วมภายในระยะเวลาตามระเบียบที่โจทก์วางไว้จนค่าบริการค้างอยู่เป็นจำนวนมากดังนี้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ของ โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่วางไว้ ทั้งๆที่จำเลยพยายามให้ความร่วมมือด้วยดีต่อโจทก์ตลอดมา แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าบริการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในหนี้จากการใช้บริการโทรศัพท์ของผู้เช่า โดยเจ้าของบ้านแจ้งแล้วแต่โจทก์ละเลยไม่ดำเนินการเรียกเก็บ
จำเลยแจ้งโจทก์ขอให้โจทก์ระงับการใช้บริการ วิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านเครื่องโทรศัพท์ของจำเลย ซึ่งอยู่ในบ้านที่ให้จำเลยร่วมเช่าก่อนที่จำเลยร่วมจะมาเช่าบ้านและใช้เครื่องโทรศัพท์แต่โจทก์ตอบปฏิเสธทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำได้และเมื่อจำเลยร่วมใช้เครื่องโทรศัพท์ ดังกล่าวจำเลยก็มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ไปเก็บค่าบริการ จากจำเลยร่วมและแจ้งด้วยว่าจำเลยไม่รับผิดชอบในหนี้จำนวน นี้โจทก์ได้รับหนังสือแล้วก็ไม่จัดการเรียกเก็บเงินจาก จำเลยร่วมภายในระยะเวลาตามระเบียบที่โจทก์วางไว้จนค่าบริการค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนี้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ของ โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่วางไว้ ทั้ง ๆ ที่จำเลยพยายามให้ความร่วมมือด้วยดีต่อโจทก์ตลอดมา แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในค่าบริการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับโอนสิทธิเช่า: ต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับคู่กรณี
ตามฟ้องได้ความว่าบริษัท ท. ได้จดทะเบียนเช่าตึกแถวจาก จำเลย ต่อมาโจทก์เข้าไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสีย ค่าเช่าให้จำเลยโดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จำเลยไม่ มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้นสิทธิและ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.มีต่อกันอย่างไรจำเลยก็มิได้โต้แย้ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวมาเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช่าตึก - สิทธิเช่าเป็นของบุคคลอื่น โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย
ตามฟ้องได้ความว่าบริษัท ท. ได้จดทะเบียนเช่าตึกแถวจาก จำเลย ต่อมาโจทก์เข้าไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสีย ค่าเช่าให้จำเลยโดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จำเลยไม่ มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้นสิทธิและ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. มีต่อกันอย่างไรจำเลยก็มิได้โต้แย้ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอน สิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวมาเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อนำกลับมาเป็นมรดกชำระหนี้ และความรับผิดของทายาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ต.ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตายโดยขอให้ทายาทของต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น. แม้ปรากฏว่าขณะฟ้องต. ไม่มีทรัพย์มรดก และทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่นนั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ ตกทอดได้แก่ตน. การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต.ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว.แต่ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์.แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่. หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิด ชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม หรือมาตรา 1490 ใหม่. ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับต.แล้ว. และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง. กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต. มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่ เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อม เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้. แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ และการสำคัญผิดที่ไม่ถึงขั้นโมฆะ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย อายุความ 10 ปี การสำคัญผิดไม่ใช่สาระสำคัญ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ
of 37