คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและจำนอง โดยศาลแก้คำพิพากษาเดิมให้จำเลยต้องรับผิดตามสัดส่วน
ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ ระบุว่าทำที่ธนาคารโจทก์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีเนื้อความตอนต้นว่า ตามที่บริษัท อ. และบริษัทจำเลยที่ 1 ต่างได้รับสินเชื่อไปจากธนาคารโจทก์ประเภทสกุลเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐนั้น บัดนี้บริษัททั้งสองมีความประสงค์จะขอโอนและรับโอนภาระหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์ มีเนื้อความตอนต่อไปว่า ตามที่บริษัท อ. มีภาระหนี้กับโจทก์ สาขาฮ่องกง ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2541 รวมเป็นเงินจำนวน 1,287,046.95 ดอลลาร์สหรัฐ นั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ขอรับโอนภาระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งหมดที่บริษัท อ. มีอยู่กับโจทก์ ณ สาขาฮ่องกง มาเป็นหนี้ในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ณ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ และยินยอมให้โจทก์เปลี่ยนสกุลเงินจากเงินดอลลาร์สหรัฐ มาเป็นเงินบาท และในตอนท้ายระบุว่า บันทึกนี้ทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ได้รับทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ชำระหนี้แทนบริษัท อ. และมิให้ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่แต่ประการใด ข้อเท็จจริงได้ความว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวทำขึ้นที่ธนาคารโจทก์จริง ในวันทำบันทึกข้อตกลง บริษัท อ. และจำเลยที่ 1 ต่างก็ได้ลงนามในฐานะผู้โอนและผู้รับโอนไว้ ส่วนโจทก์ยังไม่ได้ลงนาม เพราะต้องมีการเสนอให้ลงนามไปตามลำดับชั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับบริษัท อ. และโจทก์ โดยใจสมัครและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งต่อมาก็ได้มีการลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ บันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ได้ ปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้เพราะหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการรับโอนหนี้ยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นต่อสู้ในคำให้การและไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหยิบยกประเด็นข้อนี้มาเป็นเหตุหนึ่งในการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 13 ฉบับ และจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 11 ฉบับ เมื่อรวมวงเงินค้ำประกันของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จากทุกสัญญาดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเกินกว่าหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 2 ฉบับ รวมวงเงิน 39,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาและภายหลังจากทำสัญญา รวม 3 ฉบับ รวมวงเงินทั้ง 3 สัญญา เป็นเงินจำนวน 24,000,000 บาท โดยตามสัญญาจำนองทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าว จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบถ้วน ดังนั้น นอกเหนือจากที่โจทก์มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่จำนองในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมีบุคคลสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ในวงเงินต้นเงินรวม 24,000,000 บาท ด้วย เมื่อรวมวงเงินต้นเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นเงินทั้งสิ้น 63,000,000 บาท ซึ่งยังน้อยกว่าวงเงินต้นเงินตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทของจำเลยที่ 1 รวมกับหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับโอนหนี้จำนวน 67,394,972.55 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพียงในวงเงินต้นเงินจำนวน 63,000,000 บาท พร้อมอุปกรณ์แห่งหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการร่วมลงทุน: ความรับผิดร่วมกันในสัญญาซื้อขายและสัญญาจ้างก่อสร้าง
แม้โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการจัดสรรจากจำเลยที่ 2 และทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารบนที่ดินแปลงดังกล่าว โดยโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงนี้จากจำเลยที่ 2 อีฉบับหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาสัญญาทั้งสามฉบับประกอบสำเนาโฉนดที่ดิน ที่ระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ไว้ต่างหากเช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าโครงการจัดสรรที่ดินและบ้านเป็นกิจการร่วมลงทุนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชนแล้วแบ่งผลกำไรร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองประกอบการร่วมกันเช่นนี้จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากโครงการดังกล่าวต่อคู่สัญญาและบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองบางส่วนและการหักหนี้ การบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วม
คดีปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท (ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันไว้) โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป กรณีจึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป และต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ 7,280,180.66 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และมูลหนี้ดังกล่าวจำนวน 1,500,000 บาท เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนอง คำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขนทางอากาศ: ผู้ส่งต้องรับผิดชอบค่าระวางส่วนที่เรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้ หากตกลงกันไม่มีเงื่อนไขความรับผิด
การที่จำเลยผู้ขายสินค้าว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าทางอากาศจากประเทศไทยไปส่งแก่ผู้ซื้อที่ต่างประเทศ โดยตกลงกันให้ชำระค่าระวาง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองส่วน ส่วนแรกให้เรียกเก็บจากจำเลย ส่วนที่สองให้เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขนส่งสินค้าของจำเลยไปส่งให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อ โจทก์ผู้ขนส่งในฐานะเป็นคู่สัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลย จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะ คู่สัญญาให้ชดใช้ส่วนที่ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดเมื่อมีการชำระบัญชีบริษัท แม้เจ้าหนี้สามัญยังไม่ได้รับชำระหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้หุ้นกู้ก็เกิดมีขึ้น
กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดำเนินกิจการและให้จำเลยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการแต่แผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จำเลยต้องปิดกิจการโดยถาวรคณะกรรมการดังกล่าวจึงดำเนินการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัท กรณีจึงเข้าเงื่อนไขที่โจทก์สามารถไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดตามข้อกำหนดในหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯข้อ 1.6.2 แม้สิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะได้ระบุถึงกรณีที่มีการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทว่าเจ้าหนี้หุ้นกู้จะพึงได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้สามัญได้รับชำระหนี้จนเสร็จสิ้นแล้ว ก็มิได้หมายความว่าสิทธิของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ของหุ้นกู้ที่จะพึงได้รับชำระหนี้ยังไม่เกิดมีขึ้นจนกว่าเจ้าหนี้สามัญจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น เมื่อจำเลยปิดกิจการและมีการชำระบัญชี ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามหุ้นกู้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใช้ทุนการศึกษา-การรับราชการ: การโอนย้ายสังกัดไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ข้อ 3 ว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะรับราชการต่อไปในสังกัดโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม ทั้งนี้สุดแต่ระยะเวลาใดจะมากกว่ากัน" และข้อ 4 ว่า "หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในข้อ 3 หรือจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี จำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้" ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการสังกัดโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือที่กระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควร แต่จะต้องปฏิบัติราชการให้ครบระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญา มิใช่ต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น เพราะถึงแม้จำเลยที่ 1 รับราชการในสังกัดกระทรวง ทบวง หรือกรมอื่น จำเลยที่ 1 ก็สามารถนำความรู้ที่ศึกษาจากต่างประเทศมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอันเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ หากโจทก์ประสงค์ให้ผู้ลาไปศึกษาต้องกลับมารับราชการใช้ทุนเฉพาะที่กรมโจทก์ โจทก์สามารถทำได้โดยกำหนดเงื่อนไขของสัญญาให้มีข้อความผูกมัดคู่สัญญาไว้ให้ชัดแจ้งแต่โจทก์หาได้กระทำไม่ ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการ โจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 โอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และยังคงปฏิบัติราชการในหน่วยงานดังกล่าวตลอดมาจนถึงเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยจำเลยไม่เคยลาออกจากราชการเลย จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อไม่มีการผิดสัญญา จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยที่ 1 โอนไปรับราชการที่อื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และตามหนังสือรับสภาพหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6565/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี, คำสั่งศาลสูงอังกฤษ, ความรับผิด
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งได้มีการรับรองว่าได้จัดทำกันขึ้นจริงโดยทนายความโนตารีปับลิกผู้ได้รับอนุญาตแห่งสำนักทนายความซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีให้ทำหน้าที่โนตารีปับลิกแล้ว จึงแสดงว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยชอบ ดังนั้น แม้จะได้นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยก็ย่อมถือได้ว่าเป็นตราสารที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ กรณีไม่จำเป็นต้องอยู่ในบังคับที่ให้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องเสียหายพร้อมคำขอให้บังคับจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์พอที่จำเลยจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้เท่านั้นส่วนการที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเหมาระวางเรือข้อใด สินค้าสูญหายหรือเสียหายเท่าใด คิดเป็นเงินเท่าใดโจทก์ชดใช้เงินให้ผู้รับตราส่งไปแล้วเท่าใดและได้ชำระเมื่อใดนั้นมิได้เป็นสาระที่จะเป็นเหตุทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาเช่าเหมาระวางเรือแต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ตามคำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ
แม้อนุญาโตตุลาการ ณ นครลอนดอน ประเทศอังกฤษยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตามแต่ก็เป็นคนละส่วนกับคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์ส่งหมายเรียกเกี่ยวกับการพิพาทกันในชั้นอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้จำเลยในประเทศไทยโดยมิชอบ ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วตามคำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายให้โจทก์(TheDefendants'paythePlaintiffs'costsinanyevent)คำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์จึงเป็นมูลหนี้ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วยกคำร้องของจำเลย โดยจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ไม่มีอำนาจพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างไรหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ซึ่งต้องรวมค่าใช้จ่ายที่โนตารีปับลิกรับรองเอกสารในการส่งคำสั่งศาลให้แก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญา โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงจะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ วางเงินมัดจำไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยไม่ไปรับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลือ ฟ้องโจทก์ชัดเจนอยู่แล้ว และที่โจทก์บรรยายว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา หลังจากนั้นจำเลยขุดดินไปขายได้กำไรมากกว่าเงินมัดจำที่วางไว้เป็นสิบเท่านั้นเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่าเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะเหตุที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเกิดมีความเสียหายอย่างไรบ้าง ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยขุดดินไปตั้งแต่วันเดือนปีใด แต่ในคำฟ้องก็พอจะทราบได้ว่า การขุดดินไปขายจะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีวันที่เดือนปีปรากฎชัดเจนอยู่ในคำฟ้องแล้วจำเลยย่อมสามารถเข้าใจได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อโจทก์จะได้นำไปซื้อที่ดินมาถมให้คงสภาพเดิมอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายในการถมดินนั่นเอง
โจกท์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาและที่บรรยายฟ้องเรื่องจำเลยขุดดินไปขาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอะไรในการผิดสัญญา ไม่เป็นการบรรยายฟ้องขัดแย้งกัน ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีตามฟ้องที่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา การขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกันโดยถูกต้องมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะต้องอ้างกฎหมายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีก ฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพดังที่เป็นอยู่เดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้ที่ดินของโจทก์กลับมีสภาพเดิมก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5229/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความโดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนจากทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นการพนัน
ตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ที่คณะกรรมการสภาทนายความออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวออกใช้บังคับมิได้บัญญัติห้ามมิให้ทนายความเข้าเป็นทนายความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ ฉะนั้น สัญญาจ้างว่าความที่ระบุว่า "คิดค่าทนายความร้อยละ 20 ของยอดทุนทรัพย์ โดยชำระค่าทนายความเมื่อบังคับคดีได้ กรณีบังคับคดีได้เพียงบางส่วนก็คิดค่าทนายความบางส่วนที่บังคับคดีได้ และถ้าคดีมีการยอมความกันคิดค่าทนายความร้อยละ 10 ของยอดเงินที่ยอมความ" จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ส่วนข้อตกลงที่ให้คิดค่าทนายความเป็นร้อยละของทุนทรัพย์ และลดส่วนลงหากบังคับคดีได้เพียงบางส่วน หรือมีการประนีประนอมยอมความกัน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทนายความ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาจ้างว่าความจึงไม่เป็นโมฆะ และตามสัญญาจ้างว่าความเมื่อไม่มีข้อใดที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค และไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของที่ทนายความต้องลงแรงว่าต่างให้แก่ลูกความจึงหาใช่เป็นการพนันขันต่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 853 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบสินค้าและชำระราคาควบคู่กัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยสั่งซื้อเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์ชนิดที่มีความสามารถชั่งได้ 600 ตัน ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง ในราคารวม 2,619,360 บาท และโจทก์คิดค่าแรงในการติดตั้งเป็นเงินจำนวน 32,100 บาท โจทก์ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องชั่งพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับมอบเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์แล้ว เมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบเครื่องชั่งที่มีความสามารถตามที่ตกลงกับจำเลย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเครื่องชั่งพิพาทได้
of 37