คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: หน้าที่ของผู้ให้ยินยอมในการยืนยันแก้ไขเอกสารเพื่อให้บรรลุผล
โจทก์ จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันในสัญญาข้อ 8 ระบุว่า จำเลยจะเซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 4 คำขอ และจำเลยได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์ตามสัญญา โดยแยกทำหนังสือยินยอม 1 ฉบับ ต่อคำขอของโจทก์ 1 คำขอ โจทก์ได้นำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปยื่นประกอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อเจ้าหน้าที่กองเครื่องหมายการค้า หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอยืมหนังสือยินยอมของจำเลยจากเจ้าหน้าที่มาจัดการขูดลบ แก้ไข เพิ่มเติมจากเดิมเป็นระบุหมายเลขคำขอของโจทก์ 4 เลขหมายที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ตามสัญญาต่อหนังสือยินยอมของจำเลย 1 ฉบับ โดยมิได้เพิ่มเติมเลขหมายคำขอให้มีจำนวนมากขึ้นและมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อความอื่นให้ผิดไปจากเดิมอันจะทำให้จำเลยเสียหายแต่อย่างใด ซึ่งโจทก์ได้ทำไปโดยพลการปราศจากการรู้เห็นยินยอมของจำเลย แล้วโจทก์นำหนังสือยินยอมของจำเลยที่แก้ไขนั้นไปยื่นใหม่ เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีรอยขูดลบ แก้ไข จึงมีหนังสือให้โจทก์นำจำเลยไปยืนยันและเซ็นชื่อกำกับข้อความที่แก้ไขเพราะสงสัยว่าจะไม่ใช่หนังสือยินยอมอันแท้จริงของจำเลย ดังนี้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำหนังสือยืนยันและไปลงชื่อกำกับรอยแก้ไขในหนังสือยินยอมให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้น จำเลยจะอ้างว่าได้เซ็นหนังสือยินยอมให้โจทก์แล้ว จึงหมดความผูกพันตามสัญญาได้ไม่ เพราะการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับพิจารณาหนังสือยินยอมของจำเลย เท่ากับว่ายังขาดหนังสือยินยอมของจำเลยนั่นเอง คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงยังไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่ตกลงกันในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากับผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: ผู้รับโอนไม่ผูกพันสัญญาเช่าระยะยาวเกินกว่าสัญญาเดิม
เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแล้วทำสัญญาเช่า 4 ฉบับๆ ละ 3 ปี สัญญาเช่าสมบูรณ์แค่ 3 ปี ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ให้เช่าไม่ผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนที่จะให้เช่า 12 ปีด้วย แม้จะรู้ว่ามีสัญญาเช่าอยู่ 4 ฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและสัญญาที่ไม่ผูกพันคู่สัญญา การคืนเงินจากสัญญาปากเปล่า
ชายหญิงแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรส บิดาของหญิงรับเงินจากญาติผู้ใหญ่ของชาย โดยมีสัญญาว่า ถ้ามีอาการไม่เรียบร้อยต้องคืนเงิน ดังนี้ เมื่อหญิงหนีไปไม่ยอมอยู่กินกับชาย บิดาหญิงต้องคืนเงินแก่ชาย ข้อที่ชายไม่ใช่คู่สัญญา ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้อ้างในศาลชั้นต้น ศาลไม่วินิจฉัยฎีกาข้อนี้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความข้อตกลงการขายที่ดิน และขอบเขตการฟ้องเรียกคืน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อศาลมีว่า โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 จะนำไปขายโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนไม่ได้ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าจะต้องคืนที่ดินให้โจทก์ตามเดิม โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนที่พิพาทกลับมาเป็นของตนอันเป็นข้อนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายที่ดินโดยไม่แจ้งตามสัญญา ไม่ถึงขั้นต้องคืนที่ดิน
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อศาลมีว่า โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 จะนำไปขายโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนไม่ได้ ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าจะต้องคืนที่ดินให้โจทก์ตามเดิม โจทก์จึงฟ้องเรียกคืนที่พิพาทกลับมาเป็นของตนอันเป็นข้อนอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยมอบโฉนดเป็นหลักประกัน เจ้าหนี้ยังไม่สิทธิเรียกคืนโฉนดจนกว่าหนี้จะถูกชำระ
กู้เงินมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดไว้ เมื่อลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ก็เรียกโฉนดคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้เรื่องการซื้อขายไม่มีผลบังคับทำให้เช็คขาดอายุความ ผู้ทรงเช็คต้องพิสูจน์มูลหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยให้การว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ป. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับที่ดิน ป. เอาเช็คดังกล่าวไปชำระให้โจทก์เป็นค่าซื้อหิน 2 ก้อน ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเหล็กไหลโดยมีเงื่อนไขว่า ป. ขอนำหินดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ก่อนว่าใช่เหล็กไหลหรือไม่ ถ้าใช่จึงจะรับซื้อ ถ้าไม่ใช่จะเอามาคืนและรับเช็คคืน ผลการพิสูจน์ปรากฏว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายไม่เกิดขึ้น โจทก์ต้องคืนเช็คให้ป. จึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนี้ เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าสิทธิของโจทก์ที่ได้เช็คพิพาทมาไว้ในความครอบครอง อันเนื่องมาจากการซื้อขายดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คที่ฟ้องในฐานะผู้ทรง เพราะไม่มีมูลหนี้นั่นเอง อันเป็นการยกข้อต่อสู้ที่มีต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบัน มิใช่ข้อต่อสู้ที่จำเลยมีต่อผู้ทรงคนก่อนๆ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 คดีย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับการซื้อขายเหล็กไหล ว่า วัตถุ 2 ก้อนที่โจทก์ขายนั้นเป็นเหล็กไหลหรือไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่ใช่เหล็กไหล สัญญาซื้อขายเหล็กไหลก็ไม่มีต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกร้องเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินของผู้ป่วยจิตเวช: เพิกถอนสัญญาเนื่องจากเสียเปรียบ
ส.เป็นผู้อนุบาลว.ผู้วิกลจริตส.ทำสัญญาจะขายที่ดินของว.แก่ร. ไว้แล้ว กลับมอบฉันทะให้ ศ. โอนขายที่ดินแก่ บ. โดย บ. รู้ว่ามีสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวอยู่แล้ว เป็นการทำให้ ร. เสียเปรียบ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่าง ว.กับบ.ให้จดทะเบียนขายแก่ร. ตามสัญญาจะซื้อขาย ถ้าโอนขายไม่ได้ ว.ผู้เดียวต้องใช้ค่าเสียหายแก่ร.ส่วนส.ศ. และ บ. ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า "การที่ได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯ ได้จดทะเบียนการได้มา ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น ถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่สมบูรณ์ขึ้นมาทันที หาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญา สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้ เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย/เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า 'การได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯได้จดทะเบียนการได้มาฯลฯ' เท่านั้น ฉะนั้นถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ขึ้นมาทันทีหาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญาสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้
of 37