พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันค่าปรับและการชดใช้ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ส. ประกันตัว ก. จำเลยในคดีอาญาไปจากศาล จำเลยได้ทำสัญญาหมาย จ.1 ให้ ส. ไว้ว่า ถ้า ก. หลบหนีจำเลยขอรับผิดชดใช้ค่าปรับตามคำสั่งศาลแทน ส. ตลอดจนค่าติดตามทวงถามด้วยโจทก์ตกลงกับจำเลยแก้ชื่อ ส. ใส่ชื่อโจทก์ในสัญญา จ.1 ดังนั้นเมื่อก. หลบหนีจนศาลสั่งปรับโจทก์ 20,000 บาทและโจทก์ได้ชำระค่าปรับต่อศาลแล้วจำเลยจึงต้องชดใช้เงินจำนวนนี้แก่โจทก์ส่วนค่าติดตามทวงถามตามสัญญาค้ำประกันนั้นหมายถึงค่าติดตามทวงถามเรื่องเงินค่าปรับไม่ใช่ติดตามตัว ก. ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในการติดตามและสืบหาตัว ก. สำหรับค่าธรรมเนียมในการที่โจทก์ถูกศาลยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชำระค่าปรับนั้นเมื่อมิได้กำหนดไว้ในสัญญาและเมื่อโจทก์ถูกศาลสั่งปรับ ก็มิได้เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าปรับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมและหนังสือรับสภาพหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้สูญ
เจ้ามรดกไม่ได้กู้เงินโจทก์ สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอมจำเลยซึ่งเป็นทายาททำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยเข้าใจว่ามีหนี้อยู่จริง ดังนี้ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ชนรถโจทก์เสียหายเป็นละเมิดจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไว้โดยลงชื่อช่องผู้ชำระเงินจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตามสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน, สัญญาไม่สมบูรณ์, การฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้เสียชีวิต, การทวงถามหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้งครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่าจ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไป ต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้และการฟ้องบังคับสิทธิหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม โดยไม่ต้องทวงถามก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จ. สามีจำเลยทั้งสองยืมเงินโจทก์ไป 2 ครั้ง ครั้งแรก 110,000 บาท ครั้งที่สอง 90,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จ. ทำหนังสือสัญญากู้ 2 ราย และรับเงินกู้ไป 200,000 บาทจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จ. ไม่ได้รับเงินกู้รายแรก แต่ไม่ได้อุทธรณ์ว่าจ. ไม่ได้ทำสัญญากู้รายแรก ดังนี้ ประเด็นว่า จ. ได้ทำสัญญากู้รายแรกหรือไม่ จึงยุติเพียงศาลชั้นต้นว่า จ.ได้ทำสัญญากู้รายแรกจริงจำเลยที่ 2 จึงฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวโดยชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ. จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไปต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จ. จะได้ยืมเงินจากโจทก์ หรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบไม่รับรอง ลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ. จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้นั้นเป็นการประกอบคำให้การที่ว่าลายมือชื่อในสัญญากู้ไม่ใช่ของ จ.คำให้การดังกล่าวจึงมีความหมายว่าเนื่องด้วยสัญญากู้ปลอมจ. จึงไม่ได้รับเงินที่ระบุไว้ในสัญญากู้ ดังนั้นเมื่อฟังว่า จ.ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง ไม่ใช่สัญญากู้ปลอมแล้ว ข้อต่อสู้ว่า จ. ไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เป็นอันตกไปต้องฟังว่า จ.ได้รับเงินตามสัญญากู้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหากโจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใดจ. จะคืนให้ทันที แต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตามเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จำต้องทวงถามก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อค้ำประกันไม่พ้นความรับผิด เช็คเป็นเพียงตราสารสั่งจ่ายเงิน มูลหนี้เป็นรายละเอียดที่สืบได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันมิใช่จ่ายเงินตามเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ก็ไม่พ้นความรับผิดเพราะการออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้โจทก์ก็เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อโจทก์จริง
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันยังผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่ระบุมูลหนี้ในฟ้องก็ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันมิใช่จ่ายเงินตามเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้แม้จำเลยจะนำสืบฟังได้ตามข้อต่อสู้ก็ไม่พ้นความรับผิดเพราะการออกเช็คเพื่อค้ำประกันลูกหนี้ให้โจทก์ก็เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะให้ผูกพันและชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยลูกหนี้มีมูลหนี้ต่อโจทก์จริง
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
การฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้จะมิได้ระบุมูลหนี้ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะเช็คเป็นเพียงตราสารที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินมูลหนี้เป็นค่าอะไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินและครอบครองเพื่ออ้างสิทธิในที่ดินส่วนตน ทุนทรัพย์พิพาทจำกัดผลต่อการฎีกา
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่โจทก์ฟ้องว่าได้มีการแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด และโจทก์แต่ละคนต่างครอบครองมากว่าสิบปีแล้ว คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้พิพากษาให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองกันมา ส่วนคำขอที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนขอให้เพิกถอนนิติกรรมในส่วนที่ดินของตนซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนโดยลำพังได้ แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนเมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 5,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คู่ความจึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินและกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน ทุนทรัพย์พิพาทแต่ละโจทก์มีผลต่อการฎีกา
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่โจทก์ฟ้องว่าได้มีการแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด และโจทก์แต่ละคนต่างครอบครองมากว่าสิบปีแล้ว คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้พิพากษาให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองกันมา ส่วนคำขอที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนขอให้เพิกถอนนิติกรรมในส่วนที่ดินของตนซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนโดยลำพังได้ แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคน เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์พิพาทของโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 5,000 บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คู่ความจึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน