คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้จริงเท่านั้น ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกันที่ไม่มีการรับเงิน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่า ไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1 ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินเพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้หลัก ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิด เพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การจำนองทรัพย์สินโดยบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
การที่ผู้ร้องแต่ผู้เดียวจำนองทรัพย์สินเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็น 'เจ้าหนี้มีประกัน' ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 การที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างมิใช่ 'เจ้าหนี้มีประกัน' มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96 (1) หนี้จำนองระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยังมีอยู่ตามสัญญาจำนอง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การจำนองทรัพย์สินโดยบุคคลอื่นไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน
การที่ผู้ร้องแต่ผู้เดียวจำนองทรัพย์สินเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็น 'เจ้าหนี้มีประกัน' ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 การที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างมิใช่ 'เจ้าหนี้มีประกัน' มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(1) หนี้จำนองระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยังมีอยู่ตามสัญญาจำนอง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากการกู้เงินระหว่างสมรส การให้สัตยาบัน และการบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัว
แม้หนี้ตามสัญญากู้จะมีมูลหนี้เนื่องมาจากชายาโจทก์นำเงินมาฝากให้จำเลยหาดอกผล จำเลยก็มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจึงมีความรับผิดที่จะต้องชดใช้เงินตามสัญญากู้
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมในสมรส: พยานสัญญากู้ถือเป็นการให้สัตยาบันและก่อหนี้ร่วม
แม้หนี้ตามสัญญากู้จะมีมูลหนี้เนื่องมาจากชายาโจทก์นำเงินมาฝากให้จำเลยหาดอกผล จำเลยก็มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจึงมีความผิดที่จะต้องชดใช้เงินตามสัญญากู้
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาล: ค่าสินไหมทดแทนยังคงมีผลตราบใดที่จำเลยยังกีดขวางการใช้ทาง
ตามคำบังคับของศาลมีใจความสำคัญว่าจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยเพื่อให้โจทก์ใช้เป็นถนนเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ได้ตลอดไป และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนในอนาคตแก่โจทก์เดือนละ 300 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายอิฐและสัมภาระออกไปจากถนนดังกล่าวนี้ ดังนี้ กองอิฐที่โจทก์ฟ้องจำเลยได้ใช้ในการก่อสร้างหมดแล้วภายใน 3 เดือนนับแต่วันฟ้องแล้วจำเลยได้สั่งอิฐมากองไว้อีก อิฐที่จำเลยสั่งมากองไว้คราวหลังนี้ แม้โจทก์มิได้ฟ้อง แต่ก็เห็นว่าเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำไปโดยเจตนาหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ถนนเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ได้ตลอดไป ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ทำให้โจทก์ใช้ถนนได้ตลอดไปจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์อยู่ตราบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงคำพิพากษาศาลโดยการจงใจกีดขวางทางภารจำยอม ทำให้ต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนต่อเนื่อง
ตามคำบังคับของศาลมีใจความสำคัญว่าจำเลยจะต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยเพื่อให้โจทก์ใช้เป็นถนนเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ได้ตลอดไป และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนในอนาคตแก่โจทก์เดือนละ 300 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายอิฐและสัมภาระออกไปจากถนนดังกล่าวนี้ ดังนี้ กองอิฐที่โจทก์ฟ้องจำเลยได้ใช้ในการก่อสร้างหมดแล้วภายใน 3 เดือนนับแต่วันฟ้องแล้วจำเลยได้สั่งอิฐมากองไว้อีก อิฐที่จำเลยสั่งมากองไว้คราวหลังนี้ แม้โจทก์มิได้ฟ้อง แต่ก็เห็นว่าเป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำไปโดยเจตนาหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยทำให้โจทก์ไม่อาจใช้ถนนเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ได้ตลอดไป ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ทำให้โจทก์ใช้ถนนได้ตลอดไปจำเลยก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์อยู่ตราบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาทุนทรัพย์ในคดีบังคับโอนกรรมสิทธิ์: ศาลใช้ราคาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันแม้ราคาซื้อขายจริงจะต่ำกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ ตั้งราคาทุนทรัพย์ของที่พิพาท 240,000 บาท จำเลยรับว่ามีราคาตามที่โจทก์ตีไว้ ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ขอให้บังคับจำเลยส่งทรัพย์ราคา 240,000 บาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนทรัพย์ให้โจทก์ได้ ก็ต้องใช้ราคาตามที่โจทก์จำเลยตั้งพิพาท จะถือเอาราคาซื้อขายตามที่ปรากฏจากข้อเท็จจริงว่าโจทก์ซื้อจากจำเลยเพียง 20,000 บาท มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิใช่ราคาที่แท้จริงของทรัพย์พิพาท
of 37