คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 194

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและคำมั่นสัญญาโอนที่ดิน: การบังคับตามสัญญาพิเศษและการตีความตามเจตนา
ขณะทำสัญญาเช่าไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กันในฐานะใกล้ชิดอย่างไร ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องยกที่ดินให้จำเลยโดยเสน่หา แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ส.ซื้อที่ดินตามฟ้องจากเจ้าของที่ดินคนเดิม การที่โจทก์ตกลงจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยครอบครองให้จำเลย เพื่อโจทก์จะได้ขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาท ลักษณะข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาให้หรือมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เป็นสัญญาที่มีขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ ประกอบกับในการตีความสัญญานั้น ป.พ.พ.มาตรา 368 ให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้แก่จำเลย ตามสัญญาเช่า
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ จำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามขอ เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว และโจทก์จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงกัน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยตามคำมั่นดังกล่าวหรือไม่ โดยคู่ความขอสละประเด็นอื่น ๆ ทั้งหมด ปัญหาการอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ โจทก์จะยกขึ้นฎีกาต่อมาไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดิน คำมั่นในสัญญาเช่ามีผลผูกพันตามกฎหมาย
ขณะทำสัญญาเช่าไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีความสัมพันธ์กัน ในฐานะใกล้ชิดอย่างไร ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องยกที่ดินให้จำเลยโดยเสน่หา แต่กลับปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ปลูกบ้านเรือน อยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อนโจทก์และ ส. ซื้อที่ดินตามฟ้องจากเจ้าของที่ดินคนเดิม การที่โจทก์ตกลงจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทส่วนที่จำเลยครอบครองให้จำเลย เพื่อโจทก์จะได้ขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาท ลักษณะข้อตกลงดังกล่าวเห็นได้ว่าสัญญาเช่าดังกล่าวไม่ใช่สัญญาให้หรือมีคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เป็นสัญญาที่มีขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิระหว่างคู่สัญญาที่ใช้บังคับกันได้ ประกอบกับในการตีความสัญญานั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 ให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งรวมที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกและโอนให้แก่จำเลย ตามสัญญาเช่า
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ จำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามขอ เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว และโจทก์จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงกัน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยตามคำมั่นดังกล่าวหรือไม่ โดยคู่ความขอสละประเด็นอื่น ๆ ทั้งหมดปัญหาการอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ โจทก์จะยกขึ้นฎีกา ต่อมาไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420-423/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดิน กรณีผู้ขายฝากไม่สุจริตและเจ้าหนี้เสียหาย
โจทก์ทั้งแปดได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนในวันทำสัญญา และได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งโฉนดโอนให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ได้ผ่อนชำระที่ดินพิพาทที่จะซื้อแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด และไม่แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ทราบ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้ผ่อนชำระ ราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป กรณีจะถือว่าสัญญาสิ้นสุดโดยปริยายเพราะโจทก์ทั้งแปดไม่นำพาปฏิบัติตามสัญญา อันมีผลเป็นการยกเลิกสัญญากันโดยปริยายไม่ได้ ฉะนั้นด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งแปดและจำเลยที่ 1 จึงทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ทั้งแปด ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ทั้งรู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นที่ดินจัดสรรและมีผู้มาซื้อแล้ว ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทไป โดยรู้ข้อความจริงอันเป็นการให้โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
โจทก์ทั้งแปดเพิ่งได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ฉะนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 4 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2537 จึงหาพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งแปดได้รู้ถึงเรื่อง การขายฝากซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนไม่ คดีโจทก์ทั้งแปดไม่ขาดอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุดและการปฏิบัติตามสัญญาโฆษณา จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารชุด พี.บี. เพนท์เฮาส์ 1 เพื่อขาย มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 การแสดงเจตนาของโจทก์จะทำได้ก็โดยผู้แทนของโจทก์แสดงเจตนาแทนเท่านั้น ปรากฏว่าโจทก์มีผู้จัดการคือบริษัท บ. ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกัน จึงมีการแต่งตั้งให้ พ. เป็นผู้ดำเนินการแทน พ. ย่อมเป็นผู้จัดการของโจทก์และมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสอง และมาตรา 36 (3) ด้วย การที่ พ. ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ จึงมีผลเท่ากับโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจด้วยตนเอง เช่นเดียวกันกับหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนส่วนราชการนั้น มีผลเท่ากับส่วนราชการนั้นเป็นผู้มอบอำนาจ กรณีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งต้องกระทำด้วยตนเองตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 36 วรรคสอง เมื่อ ส. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์โดยตรง ส. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้
ปัญหาอื่น ๆ ที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย แต่เมื่อโจทก์ยกขึ้นฎีกาและจำเลยก็ได้กล่าวอ้างไว้ในคำแก้ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่
ตามแผ่นโฆษณาโครงการที่จำเลยจัดทำขึ้นมีข้อความว่า จะมีสระว่ายน้ำและสวนร่มรื่น แต่จำเลยยังมิได้จัดทำตามที่โฆษณาไว้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยจัดทำแล้ว จำเลยเพิกเฉย โจทก์จัดทำเองเสร็จแล้ว จำเลยย่อมต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 /2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายไม่สมบูรณ์เมื่อยังไม่ได้ติดตั้งสินค้า ผู้ซื้อมีสิทธิระงับการจ่ายเช็คและเลิกสัญญาได้
ส. สั่งซื้อเครื่องเสียงจากโจทก์โดยชำระราคาให้บางส่วน ที่เหลือได้ออกเช็คให้โจทก์ไว้ ซึ่งการส่งมอบโอนกรรมสิทธิ์เครื่องเสียงซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายจะสำเร็จครบถ้วนได้ก็ด้วยการที่โจทก์จะต้องติดตั้งให้เรียบร้อยก่อน การที่โจทก์นำเครื่องเสียงส่วนหนึ่งไปติดตั้งให้แล้วคิดเป็นเงิน 100,000 บาทเศษ ส่วนที่เหลือยังไม่ได้ติดตั้ง ส.จึงสั่งจ่ายเช็คสองฉบับ ฉบับแรกจำนวนเงิน 200,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้รับชำระเงินไปแล้ว อีกฉบับคือเช็คพิพาท ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2537 ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้งว่าในการชำระราคานั้น ส. ชำระให้เฉพาะส่วนที่ส่งมอบด้วยการติดตั้งแล้วส่วนเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าระยะเวลานานเพราะถือว่ายังไม่ได้ติดตั้งจึงไม่เป็นการส่งมอบที่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์ติดตั้งให้ในคราวแรกนั้นมีความชำรุดบกพร่อง ส. จึงมีสิทธิสั่งธนาคารให้ระงับการชำระเงินตามเช็คพิพาทได้เมื่อการซื้อขายยังไม่เสร็จสมบูรณ์แม้ต่อมาส. จะถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. ได้ตกลงเลิกสัญญากับโจทก์โดยโจทก์ยอมรับสินค้าคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระราคาสินค้า จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการจัดหาผู้ซื้อ: สัญญาสำเร็จผลผูกพัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาภายหลัง
โจทก์จัดหาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย โดยจำเลยให้ค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 1.5 ของยอดขายตามสัญญา คิดเป็นเงิน 7,470,604.95 บาท ตกลงแบ่งชำระเป็น 3 งวด ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์เพียงงวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระงวดที่สองและงวดที่สามที่เหลือ แม้ต่อมาผู้ขายจะตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญากับ ผู้ซื้อใหม่โดยลดยอดขายลงก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินจนครบ เพราะถือว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันเป็นผลสำเร็จเนื่องจากการที่โจทก์ชี้ช่องหรือจัดการแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินโดยสัญญาต่างตอบแทน: อำนาจฟ้องบังคับจดทะเบียน
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินจากการยกที่ดินเป็นของขวัญ: สิทธิเรียกร้องบังคับจดทะเบียนได้
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกิน ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทน ในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หากไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดทั้งเหตุแห่งการเลิกจ้างก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายของจำเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายเท่านั้นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดโดยอ้างเหตุดังกล่าวแม้จำเลยจะได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2536 ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะทำสัญญาจ้างได้ถูกยกเลิกและใช้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) บังคับแทนแล้ว จึงต้องนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ที่ใช้บังคับ อยู่ขณะเลิกจ้างมาบังคับใช้แก่คดีนี้เพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดของลูกจ้าง แม้บอกกล่าวล่วงหน้าก็ถือว่าไม่เป็นธรรม
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ทั้งเหตุแห่งการเลิกจ้างก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายของจำเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายเท่านั้น การเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดโดยอ้างเหตุดังกล่าว แม้จำเลยจะได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม2536 ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะทำสัญญาจ้างได้ถูกยกเลิกและใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) บังคับแทนแล้ว จึงต้องนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเลิกจ้างมาบังคับใช้แก่คดีนี้เพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่
of 37