พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6139/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อลูกหนี้พ้นจากงานครั้งแรก แม้จะกลับเข้าทำงานใหม่ และก่อความเสียหาย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้
ส. เข้าทำงานกับโจทก์ทั้งสองครั้ง สัญญาค้ำประกัน ส. ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์เป็นการค้ำประกันการเข้าทำงานครั้งแรก เมื่อโจทก์ยอมรับว่าการทำงานครั้งแรกของ ส. มิได้ทำความเสียหายให้โจทก์ เมื่อ ส. เลิกทำงานกับโจทก์ครั้งแรกสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นผลผูกพัน ต่อมา ส. เข้าทำงานกับโจทก์ใหม่และก่อความเสียหายให้โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีความผูกพันใด ๆ ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้เดิม แม้จำเลยจะทำหนังสือรับสภาพหนี้หลังจากที่ ส. ทำละเมิดให้แก่โจทก์ก็ตาม จำเลยหาต้องผูกพันชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้แต่อย่างใดไม่เพราะไม่มีมูลหนี้ที่จะให้จำเลยรับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้น สัญญาที่บุคคลภายนอกรับแทนลูกหนี้ไม่มีผลบังคับ
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันตามสัญญารับใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ, สิทธิในการคิดดอกเบี้ยทบต้น, และค่าเบี้ยประกันตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ แม้ไม่คัดลอกคำพิพากษาทั้งหมด การปรับดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับมิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้ คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ย ในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้า กับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลง ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดิ่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิหน้าที่สัญญาซื้อขายอาคารชุด, การก่อสร้างเกินแบบ, และการติดตั้งมิเตอร์น้ำ
การสร้างอาคารพิพาทสูง 30 ชั้น จำเลยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ก่อสร้างได้ตามกฎหมายแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะก่อสร้างอาคารได้ตามที่ได้รับอนุญาตนั้น หากจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอย่างใดก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะว่ากล่าวกับจำเลยเป็นอีกกรณีหนึ่ง
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิขาย/จำนอง/ก่อภาระได้ การโอนสิทธิไม่ถือเป็นเจตนาลวงและไม่ขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมอื่น
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ หากการ ใช้นั้นไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และจะ จำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361จำเลยที่ 1 และที่ 3 โอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยอื่นและโอนขายให้แก่กัน เพื่อให้จำเลยทั้งเจ็ดเข้ามาใช้ที่ดินที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆที่จะกระทำได้ แม้การโอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำเลยผู้รับโอนเข้ามาใช้ทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อเป็นสิทธิซึ่งกฎหมายรับรองให้มีขึ้นจากการเป็นเจ้าของรวม กรณีมิใช่เป็นเจตนาลวงหรือนิติกรรมอำพราง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน การที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1675และ 1676 ร่วมกับจำเลย ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์จำเลย จะสร้างถนนใช้ร่วมกันทั้งลักษณะของที่ดินทั้งสองโฉนดเป็น รูปยาวขนานกันไปประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ส่วนที่เหลือจากการ สร้างถนนจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงให้โจทก์สร้างถนนยาวตลอดที่ดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยแปลงที่อยู่ด้านใน แต่โจทก์สร้างไม่เต็มตามที่ตกลงไว้ คงสร้างเฉพาะส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์เท่านั้น ต่อมาจำเลยอื่นซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้สร้างถนนต่อไปจนตลอดเพื่อใช้ร่วมกัน โดยความรู้ความเห็น ยินยอมของจำเลยอื่นผู้เป็นเจ้าของรวมทุกคน ตรงตาม วัตถุประสงค์แห่งเจ้าของรวม การใช้สิทธิของจำเลยและ จำเลยอื่นจึงไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361 และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเรื่องเดียวและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีจำเลยทั้งเจ็ด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทุกคนเป็น รายคน คนละ 2,500 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็น การไม่ถูกต้องเนื่องจากเกินกว่า 3,000 บาท ซึ่งเป็นอัตรา ที่กฎหมายกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาใน ปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องเป็นให้ โจทก์ใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนจำเลยทั้งเจ็ดรวม 3,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่กำหนดค่าทดแทน: โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ที่ดินพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นของโจทก์ทั้งสองเมื่อกรมทางหลวงจำเลยเวนคืนเอาที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปขยายเป็นเขตทางหลวงและมิได้กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสเรียกค่าทดแทนตามขั้นตอนของกฎหมายได้โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากที่ดินพิพาทถูกเวนคืนจากจำเลยได้ การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้ จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด พ.ศ. 2530 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่กำหนดค่าทดแทน: โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ที่ดินพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นของโจทก์ทั้งสองเมื่อกรมทางหลวงจำเลยเวนคืนเอาที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปขยายเป็นเขตทางหลวงและมิได้กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสเรียกค่าทดแทนตามขั้นตอนของกฎหมายได้โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากที่ดินพิพาทถูกเวนคืนจากจำเลยได้ การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดพ.ศ.2530ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายน2515หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาใช้บังคับแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้นพอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่กำหนดค่าทดแทน: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่ดินพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นของโจทก์ทั้งสอง เมื่อกรมทางหลวงจำเลยเวนคืนเอาที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองไปขยายเป็นเขตทางหลวงและมิได้กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสเรียกค่าทดแทนตามขั้นตอนของกฎหมายได้โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากที่ดินพิพาทถูกเวนคืนจากจำเลยได้
การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้ จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด... พ.ศ.2530 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทน จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515 หรือตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาใช้บังคับ แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้ จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด... พ.ศ.2530 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทน จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515 หรือตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาใช้บังคับ แต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของผู้เยาว์ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่รู้เห็นเห็นชอบ
จำเลยร่วมบุตรโจทก์นำรถยนต์ของโจทก์พาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวสถานบันเทิงโดยจำเลยร่วมให้ ฉ. เป็นผู้ขับไปยังสถานบันเทิง ครั้นเลิกจากเที่ยวเมื่อเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่เปลี่ยนให้จำเลยที่ 1 ขับกลับจากสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปเที่ยวและที่จำเลยร่วมยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของโจทก์พาจำเลยร่วมกับเพื่อน ๆ กลับจากเที่ยวสถานบันเทิงไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไปทำหน้าที่ขับรถยนต์ของโจทก์แทน ฉ. การที่จำเลยที่ 1 อาสาขับรถยนต์โจทก์ตอนขากลับต้องถือว่าเป็นการสุดวิสัยของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาจะรู้เห็นได้ ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่ในขณะนั้นแล้ว เพราะไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้ไปกระทำหรือรู้แล้วยังยอมให้กระทำดังนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 แต่หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 ได้ตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนยินยอมชดใช้ค่าเสียหายในการละเมิดของจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น
จำเลยร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์และมีอาการเมาสุรา การที่จำเลยร่วมนำรถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นมารดาออกไปให้จำเลยที่ 1 ขับไปเที่ยวเช่นนี้ ตามพฤติการณ์ต้องเล็งเห็นว่าจะต้องเกิดอุบัติภัยอย่างแน่แท้ จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมมีส่วนก่อให้เกิดเหตุละเมิดในคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น