พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์ความเท็จในการให้การ/เบิกความ และสิทธิในการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลย
ถ้ามีการกล่าวอ้างว่า ข้อความใดที่เกิดจากการยื่นคำให้การก็ดี. เกิดจากการเบิกความก็ดี. ว่าเป็นความเท็จอันจะต้องรับโทษทางอาญาแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่กล่าวอ้าง. จะต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จและเบิกความเท็จ. หาไม่แล้วจะลงโทษทางอาญาไม่ได้.
จำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.
จำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำเพื่อการค้าประเวณี: การเตร็ดเตร่ในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องการติดต่อ ไม่จำต้องพิสูจน์การค้าประเวณีจริง
ความผิด มาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 นั้น. ไม่จำต้องคำนึงว่าผู้กระทำได้เคยยอมรับการกระทำชำเราสำส่อนเพื่อสินจ้างมาก่อนแล้วหรือไม่. หากมีพฤติการณ์ในลักษณะหรืออาการที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือเป็นการติดต่อในการค้าประเวณี ตามที่บัญญัติไว้นี้แล้ว ย่อมเป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและไม่มีเจตนาละเมิด
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ..ว.ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว. ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย. จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน). จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย. จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดก. และสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน. มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไป.ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ. เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น. ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ. แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง. การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1. จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสอง มิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์. เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้หลังมีคำพิพากษา: การยึดที่ดินเพื่อบังคับชำระหนี้
หลังจากที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์.ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นอีก. ดังนี้ การที่จำเลยซื้อที่พิพาทแล้วยกให้ผู้ร้อง. จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้โจทก์กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ. เป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237. โจทก์มีสิทธินำยึดที่พิพาทมาบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีเจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษี เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือผู้ชำระภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน. จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเสียเช่นนี้. เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้.
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง. จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน. ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย.ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย. เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย. จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147.
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง. จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน. ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี. กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย.ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย. เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย. จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐ ชั่งน้ำหนักอ้อยเกินจริงเพื่อประโยชน์ตนเอง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรีอันเป็นโรงงานของบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติจำกัด ซึ่งรัฐบาลมีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบ. โดยจำเลยมีหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรของโรงงานฯ. แต่ในระหว่างเกิดคดีนี้ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการให้เป็นพนักงานชั่งอ้อยของโรงงาน. จำเลยมีรายได้ประจำจากโรงงาน. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502.และการที่จำเลยได้ทำการชั่งอ้อยที่มีผู้นำมาส่งหรือขายให้แก่โรงงานนั้น. ได้ชื่อว่าจำเลยมีหน้าที่ทำ หรือจัดการทรัพย์ใดๆ ตามความหมายใน มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัตินี้. การที่จำเลยถือโอกาสชั่งอ้อยจำนวนเดียวโดยโยกคันชั่ง 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ได้สลิพการชั่งอ้อยเกินมา 1 ชุด. แล้วนำสลิพที่ได้เกินมานั้นไปใช้เป็นหลักฐาน ว่าเป็นการชั่งอ้อยของผู้มีชื่อในวันถัดมา. อันจะทำให้โรงงานต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเกินกว่าที่จะต้องจ่าย. หากมีผู้พบปะทราบการกระทำนั้นเสียก่อนที่โรงงานจะจ่ายเงินถือว่าเป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทเป็นเหตุให้หย่าได้: การกล่าวหาประพฤติผิดศีลธรรมหลังแต่งงาน
จำเลยเขียนข้อความในเอกสารหมาย จ.1 ว่า โจทก์เป็นคนดอกทอง. จำเลยมีปากเสียงกับโจทก์บ่อยๆ 3 วันครั้งบ้าง 5 วันครั้งบ้าง เพราะระแวงว่าโจทก์ไปติดต่อกับชายอื่น. แม้ในวันแต่งงานเมื่อจำเลยทราบว่าโจทก์ไปรับของขวัญจากชายอื่นจำเลยไม่พอใจมาก. พอตกกลางคืนก็ว่าโจทก์คงทำมิดีมิร้าย คือ คงจะได้เสียกับชายอื่น. ต่อมาอีก 2-3 วันก็ว่าโจทก์อีก และว่าโจทก์ดอกทอง เป็นผู้หญิงไม่ดี. จำเลยด่าว่าโจทก์บ่อยๆ กับว่าถึงพ่อแม่โจทก์ว่าไม่ดี ไม่สั่งสอนลูกด้วย. ดังนี้ เห็นว่าที่จำเลยด่าโจทก์เพราะโจทก์ไปรับของขวัญจากชายอื่นในวันแต่งงานกับจำเลย. จำเลยข้องใจเชื่อว่าโจทก์คงได้เสียกับชายคนนั้น จึงว่าโจทก์ว่าคงได้เสียกัน. ต่อมาก็ว่าโจทก์ทำนองเดียวกันอีก. ที่จำเลยด่าโจทก์ว่า คนดอกทอง มีความหมายว่าโจทก์ประพฤติตนเป็นหญิงใจง่ายในทางประเวณี มิใช่เป็นเพียงผรุสวาจา. และมิใช่เป็นการด่าว่าด้วยมีโทสะจริตวู่วามขึ้นมาขณะหนึ่ง.หากแต่จำเลยด่าว่าโจทก์บ่อยๆ ซึ่งย่อมเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายทางจิตใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นๆ. เช่นนี้ การกระทำของจำเลยตั้งแต่ต้นจนถึงในที่สุดรวมกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำด้วยเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์และเป็นการร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2).