พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น 'ผู้ประกอบการค้า'ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77. ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท. คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง. ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง. กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง. ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อรั้วรุกล้ำทางสาธารณะ: การกระทำไม่ถึงความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง. จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น.ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้. เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน. แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง. ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์.
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ. จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา. ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง. และเป็นเหตุในลักษณะคดี. ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย. พิพากษากลับให้ยกฟ้อง.
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ. จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา. ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง. และเป็นเหตุในลักษณะคดี. ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย. พิพากษากลับให้ยกฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินบริคณห์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และประเด็นค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นภรรยาของโจทก์ ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์. และโจทก์ได้บอกล้างแล้วขอให้ศาลแสดงว่านิติกรรมเป็นโมฆะ. จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นภรรยาของโจทก์.และมีอำนาจทำนิติกรรมนั้นได้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม: ทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่ได้ประโยชน์จากการปลอม
โจทก์เป็นน้องชายเจ้ามรดก โจทก์ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629. แต่โจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในเมื่อยังมีทายาทโดยธรรมในลำดับก่อนตนยังมีชีวิตอยู่ตาม มาตรา 1630. และทั้งนี้ต้องต่อเมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์.
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก. และโจทก์ที่ 1,2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้. การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว. ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย. แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วย.เพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม. โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว. และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2ด้วยแล้ว.จำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น. โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้.
โจทก์ที่ 3 เป็นบุตรเจ้ามรดก. และโจทก์ที่ 1,2เป็นน้องชายเจ้ามรดกซึ่งมิได้ทำพินัยกรรมไว้. การที่จำเลยสมคบกันปลอมพินัยกรรมขึ้นว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์ให้จำเลยที่4 ผู้เดียว. ย่อมทำให้โจทก์ที่ 3 เสียหาย. แต่ไม่ทำให้โจทก์ที่ 1,2 ผู้เป็นน้องชายเจ้ามรดกเสียหายด้วย.เพราะจำเลยจะปลอมหรือไม่ปลอม. โจทก์ที่ 1,2 ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกอยู่แล้ว. และฟ้องมิได้บรรยายว่าเจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ที่ 1,2ด้วยแล้ว.จำเลยปลอมพินัยกรรมขึ้นเป็นอย่างอื่น. โจทก์ที่ 1,2 จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาฐานปลอมพินัยกรรม ตลอดถึงข้อหาฐานเบิกความเท็จเรื่องพินัยกรรมปลอมนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ แม้โจทก์ไม่โต้แย้ง แต่หากมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้เดิม ก็ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย. จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยจะต้องรับผิดบ้างก็ขอหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซึ่งโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่. แม้โจทก์จะมิได้แถลงโต้แย้งเกี่ยวกับข้อที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้. แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า การชำระค่าเช่าโจทก์ชำระล่วงหน้า 6เดือน. ต่อจากนั้นโจทก์ก็ชำระบ้างไม่ชำระบ้าง. ส่วนใบรับเงินโจทก์ได้รับบ้างไม่ได้รับบ้าง. แสดงว่าโจทก์ยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าเช่าที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้นั้นอยู่. จำเลยจึงจะนำหนี้ค่าเช่ามาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่. ศาลไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าเช่าจำเลยอยู่จริงดังจำเลยกล่าวอ้างหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัทและการเรียกเก็บเงินค่าหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น. ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไป.ผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่. และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว.แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา. ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด.ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยจดทะเบียนแล้ว โจทก์กลับเข้าครอบครองและมีสิทธิเหนือที่ดินเดิม แม้การแจ้งครอบครอง ส.ค.1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
โจทก์ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแม้ภายหลังโจทก์จะได้เข้าครอบครองที่พิพาท จนได้สิทธิครอบครอง. และจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้ว. ก็ไม่มีเหตุที่จะขอให้ทำลายนิติกรรมการยกให้นั้น.
ที่ดินซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์. การแจ้งการครอบครองไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด. ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในที่พิพาท. และศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องย่อมเป็นการเพียงพอ. หาจำเป็นที่จะต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)ไม่.
ที่ดินซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์. การแจ้งการครอบครองไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด. ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิในที่พิพาท. และศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องย่อมเป็นการเพียงพอ. หาจำเป็นที่จะต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถแซงและผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกาตัดสินว่าความประมาทของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุโดยตรง
จำเลยที่ 2 ขับรถแซงรถจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ขณะรถจำเลยที่ 3 และที่ 1 ใกล้จะแล่นสวนกันและหลบไม่พ้น.รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเฉี่ยวเสียหลักขวางถนนและถูกรถจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ทัน.พุ่งเข้าชน.เป็นเหตุให้คนบนรถจำเลยที่ 1 ตกลงมาถึงตายและบาดเจ็บสาหัส. เช่นนี้ ถือว่าการตายและบาดเจ็บสาหัสเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503.
พฤติการณ์อันเข้าลักษณะเป็นประมาท หากเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ด้วย. ถือว่าเป็นกรรมอันเดียวกันทั้งหมด. เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท.ไม่เรียกว่าเป็นความผิดหลายกรรม.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 บัญญัติให้รถเดินทางด้านซ้ายของทาง.หาได้บัญญัติถึงกับให้เดินชิดขอบซ้ายของทางอันจะถือเป็นการฝ่าฝืนไม่.
พฤติการณ์อันเข้าลักษณะเป็นประมาท หากเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ด้วย. ถือว่าเป็นกรรมอันเดียวกันทั้งหมด. เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท.ไม่เรียกว่าเป็นความผิดหลายกรรม.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 บัญญัติให้รถเดินทางด้านซ้ายของทาง.หาได้บัญญัติถึงกับให้เดินชิดขอบซ้ายของทางอันจะถือเป็นการฝ่าฝืนไม่.