พบผลลัพธ์ทั้งหมด 771 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่: ศาลอุทธรณ์ยังคงมีอำนาจพิจารณาได้
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ ตามที่บทบัญญัติมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น
ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาคดีเช็คหลังมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการใช้มาตรา 10 พ.ร.บ.เช็ค พ.ศ.2534
ขณะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ที่โจทก์ฟ้องยังมิได้ประกาศยกเลิกและขณะมีประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 แทน ซึ่งอัตราโทษตามกฎหมายใหม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง คดียังค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้ตามที่บทบัญญัติมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 กำหนดให้อำนาจไว้ และมิใช่กรณีที่จะถือว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534หมายรวมทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา มิได้หมายถึงเฉพาะแต่ศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาอุทธรณ์คดีเช็คต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นอุทธรณ์ แม้จะเกิดเหตุการณ์ก่อนกฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ
การพิจารณาว่าโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะยื่นอุทธรณ์ มิใช่ในขณะกระทำผิด พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534กำหนดอัตราโทษไว้อย่างสูงตามมาตรา 4 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดและในขณะยื่นอุทธรณ์อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดในส่วนของโทษปรับ กรณีจึงต้องใช้บทบัญญัติของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาวินิจฉัยอัตราโทษว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค่ามัดจำซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องต้องมีฐานสัญญาที่ยังผูกพันอยู่ จึงจะบังคับใช้เช็คได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ได้ความว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินแล้วสัญญาซื้อขายยังคงมีอยู่ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือเป็นการริบมัดจำเพราะโจทก์อาจต้องคืนเช็คพิพาทตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 จำเลยจึงไม่มีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: สิทธิเรียกร้องค่ามัดจำต้องพิสูจน์ความผูกพันของหนี้ก่อนนำเช็คไปเรียกเก็บ
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดิน เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนของโจทก์ไม่ได้ความว่า โจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทมัดจำซื้อขายที่ดิน: จำเลยยังไม่ผูกพันหนี้หากสัญญาไม่สมบูรณ์หรือชำระหนี้ไม่ได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ได้ความว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินแล้วสัญญาซื้อขายยังคงมีอยู่ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือเป็นการริบมัดจำเพราะโจทก์อาจต้องคืนเช็คพิพาท ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 378 จำเลยจึงไม่มีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษา-ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้โจทก์จะมีเช็คพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไว้ในครอบครอง ทางไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ก็ต้องได้ความด้วยว่าจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค แต่ทางไต่สวนได้ความเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินที่จำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายโดยไม่ได้ความว่าหลังจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่ดินยังคงมีอยู่หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาอันจะมีผลให้ส่งคืนหรือจัดเอาเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือให้ริบตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นค่ามัดจำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินยังไม่อาจจะคาดหมายได้ว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ เพราะอาจฟังได้ว่าโจทก์จะต้องส่งคืนก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวน-มูลฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
พิพากษายืน.
(สมาน เวทวินิจ - จิระ บุญพจนสุนทร - สมิทธิ์ วราอุบล)ศาลอาญา นายสมศักดิ์ เนตรมัยศาลอุทธรณ์ นายวิชา มหาคุณ
นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ - ย่อ
สันทนา พ/ท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษา-ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้โจทก์จะมีเช็คพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไว้ในครอบครอง ทางไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ก็ต้องได้ความด้วยว่าจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค แต่ทางไต่สวนได้ความเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินที่จำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายโดยไม่ได้ความว่าหลังจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่ดินยังคงมีอยู่หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาอันจะมีผลให้ส่งคืนหรือจัดเอาเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือให้ริบตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นค่ามัดจำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินยังไม่อาจจะคาดหมายได้ว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ เพราะอาจฟังได้ว่าโจทก์จะต้องส่งคืนก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวน-มูลฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
พิพากษายืน.
(สมาน เวทวินิจ - จิระ บุญพจนสุนทร - สมิทธิ์ วราอุบล)ศาลอาญา นายสมศักดิ์ เนตรมัยศาลอุทธรณ์ นายวิชา มหาคุณ
นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ - ย่อ
สันทนา พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์บริษัทหลักทรัพย์ กรณีเช็คไม่มีเงินจ่าย
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการมีอำนาจร้องทุกข์ของผู้ทรงเช็ค
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าหุ้นให้โจทก์ร่วมเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะจำเลยที่ 1 มีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย โจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ ส่วนโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จะกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 46 หรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเช็คซ้อน: การออกเช็คภายใต้ พ.ร.บ. 2497 ไม่เป็นความผิดภายใต้ พ.ร.บ. 2534 ผลต่อการลงโทษ
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง แม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น และต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็คและการพ้นผิด: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตามกฎหมายเช็คฉบับใหม่
การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีที่ต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง แม้คดีนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดนั้น และต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ