พบผลลัพธ์ทั้งหมด 771 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมายจากดอกเบี้ยเกินอัตรา: จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำนวนเงินต้นในสัญญากู้ยืมเงิน ได้รวมดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายไม่อาจบังคับชำระได้รวมอยู่ด้วย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็ค: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คใหม่ แม้จะผิดตามกฎหมายเดิม
การออกเช็คแลกเงินสดนั้นไม่ใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ที่ว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดและต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีและการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
การนำเช็คไปแลกเงินสดย่อมมีหนี้ในทางแพ่ง การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการนำเช็คไปแลกเงินสด จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยออกเช็คให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและตามมาตรา 4 (3) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534ยังคงบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แต่อัตราโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เบากว่าอัตราโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 (3) ลงโทษจำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยกู้เงินโจทก์ร่วมโดยไม่ทำสัญญากู้ไว้ แต่โจทก์ร่วมได้ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 แม้การที่จำเลยออกเช็คพิพาทจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534อันเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คการออกเช็คพิพาทของจำเลยไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการออกเช็คไม่มีมูลหนี้ การยอมความ และขอบเขตการพิจารณาคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ลงโทษปรับ10,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ลงโทษปรับ 4,000 บาท ก็ตาม ก็คงเป็นการปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้ว โดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายสิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกาฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่ แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลัง, การห้ามฎีกา, และอำนาจศาลในการยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยร่วม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ลงโทษปรับ 10,000 บาทแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ลงโทษปรับ 4,000 บาท ก็ตาม ก็คงเป็นการปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้วโดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอม-ความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกา ฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่
แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ามีการยอมความกันแล้วโดยไม่วินิจฉัยปัญหาอื่น โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอม-ความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาฟ้องไม่ระงับ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยไม่ฎีกา ฉะนั้นปัญหาเรื่องการยอมความจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยทั้งสองจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นอุทธรณ์อีกหาได้ไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว และจำเลยทั้งสองหามีสิทธิฎีกาต่อมาอีกไม่
แม้คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกไม่มีมูลหนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวเนื่องกับจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมออกเช็ค อันเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงิน ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410-4411/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็คหลายกรรมต่างกัน-หักวันคุมขัง-ข้อจำกัดการยกเหตุในชั้นฎีกา
แม้ เช็คพิพาท 2 ฉบับที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้รายเดียวกัน โดยลงวันที่เดียวกัน และธนาคารปฏิเสธการ จ่ายเงินทั้งสองฉบับในวันเดียวกัน แต่การออกเช็คเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนในเช็ค ณ วันที่ที่ลงในเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีเจตนาให้จ่ายเงิน ตามเช็ค แต่ละ ฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละ จำนวน ไม่ได้ ร่วมเป็นเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดเกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้ โดยชัดเจนเป็นการ เฉพาะตัว ของ เช็ค แต่ละ ฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน เป็นคนละกระทงความผิดแยกจากกัน การที่ศาลจะสั่งให้หักจำนวนวันที่จำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษ จำคุกตามคำพิพากษา หรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคแรก ทั้งมิใช่กรณีที่หาก โจทก์ไม่มีคำขอ ขึ้น มา ศาล ก็ วินิจฉัย ให้ไม่ได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้น ระบุ ในคำพิพากษา โดยชัดแจ้งว่า หัก วันที่ จำเลย ถูก คุมขัง ให้ เฉพาะ วัน ถูกคุมขังที่ไม่ซ้ำซ้อนนั้นจึงชอบแล้ว ที่ จำเลยฎีกาว่า คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่าจำเลย ออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อ ชำระหนี้เป็นการ บรรยายฟ้อง ไม่ครบ องค์ประกอบ ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่ง เป็น กฎหมายที่ออกใช้บังคับภายหลังอันเป็นคุณแก่จำเลย จึงลงโทษ จำเลยไม่ได้นั้น เป็นข้อที่ จำเลย มิได้ ยกขึ้น ว่ากันมาแล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบกับมาตรา 225 และ แม้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยก็ตาม แต่ศาลฎีกา เห็นสมควร ไม่รับ วินิจฉัย ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: หนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ใช้บังคับซึ่งมีผลให้ยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 และใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฯลฯ"เมื่อจำเลยออกเช็คชำระหนี้กู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปโดยมิได้มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีเพราะจำเลยนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง ทำให้หนี้ที่ผู้กระทำผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า, หนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 อันเป็น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำ ความผิด ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฯลฯ" เมื่อจำเลย ออกเช็คชำระหนี้กู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปโดยมิได้มี หลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถ บังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีเพราะจำเลย นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง ทำให้หนี้ที่ ผู้กระทำผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้ สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีวันที่ออก: ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค, ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายจำเลย
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่า จะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาล มีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถาม ค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกง ก็ไม่เป็นข้อขัดข้อง ที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาล จึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณี ก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225