คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องจดทะเบียน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเทศบาล: นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องแทนโดยไม่ต้องขออนุมัติ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39กำหนดให้เทศบาลตำบลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 การฟ้องคดีเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเทศบาลในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อวินิจฉัยสมาชิกสภาเทศบาลขาดคุณสมบัติ
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกสภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดค่าจ้างลูกจ้างรัฐบาล: ค่าจ้างและเงินช่วยเหลือบุตรได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี
เทศบาลเป็นทบวงการเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 วรรคสอง จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลตำบลจึงเป็นลูกจ้างของรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ค่าจ้างของลูกจ้างของรัฐบาลไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างของจำเลย สำหรับเงินยังชีพและเงินช่วยเหลือบุตรเป็นเงินที่กำหนดให้เบิกจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการครองชีพในลักษณะเดียวกับค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน
(โปรดเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2784/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดค่าจ้างลูกจ้างของรัฐ: ค่าจ้างและเงินช่วยเหลือเพื่อการครองชีพได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี
เทศบาลเป็นทบวงการเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 7 วรรคสองจำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลตำบลจึงเป็นลูกจ้างของรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ค่าจ้างของลูกจ้างของรัฐบาลไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างของจำเลยสำหรับเงินยังชีพและเงินช่วยเหลือบุตรเป็นเงินที่กำหนดให้เบิกจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการครองชีพในลักษณะเดียวกับค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน (โปรดเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2784/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุกสาธารณสมบัติของเทศบาล: นายกเทศมนตรีฟ้องแทนเทศบาลได้
บุคคลในตำแหน่งนายกเทศมนตรีย่อมมีอำนาจฟ้องในนามของเทศบาลได้
ฟ้องโจทก์ขึ้นต้นว่า "นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูล โดยนายเขตต์ ฉัตรศิริ โจทก์" นั้นหมายความว่าฟ้องในนามของเทศบาลไม่ใช่ฟ้องเป็นส่วนตัว
เทศบาลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ย่อมหมายรวมถึงให้มีอำนาจฟ้องร้องคดีผู้ที่บุกรุกที่ดินนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เทศบาลไม่มีอำนาจคัดค้านการออกโฉนด
ที่ดินรกร้างว่างเปล่านั้นบุคคลอาจได้มาตาม กฎหมายที่ดินและที่ดินประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะออกโฉนดให้แก่ผู้ครอบครองหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานที่ดินจะวินิจฉัยเทศบาลไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปคัดค้านการขอรับโฉนดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เทศบาลไม่มีอำนาจคัดค้านการขอออกโฉนด
ที่ดินรกร้างว่างเปล่านั้นบุคคลอาจได้มาตาม ก.ม.ที่ดินและที่ดินประเภทนี้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะวินิจฉัย เทศบาลไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปคัดค้านการขอรับโฉนดดังกล่าว.