คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ลูกจ้าง' โรงงานสุรา ไม่ใช่ 'เจ้าพนักงาน' ทำให้ฟ้องทุจริตไม่ได้ แม้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบข้อบังคับของโรงงานสุราแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นผู้บรรจุแต่งตั้งก็ตาม ไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก ไม่ต้องรับอนุมัติจาก ก.พ.การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งเป็นไปตามข้อบังคับของโรงงานสุรา ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ จำเลยได้รับเงินเดือนจากรายได้ของโรงงานสุราไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินเมื่อจะออกจากงานก็ไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญจำเลยทำงานอยู่ในโรงงานสุราโดยมีค่าจ้าง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น ถือว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่เมื่อได้ความตามทางพิจารณาในเบื้องต้นว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายและถ้าตามฟ้องก็ไม่อาจจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นได้เช่นนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้เลยทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะให้สืบพยานที่เหลือกันต่อไปเพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-359/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างกระทบฐานความผิดยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนเจ้าพนักงานประจำแผนกกลางของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ฝ่ายการเงินของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์คือการรับเงินจ่ายเงิน ปกครองรักษาและนำเงินผลประโยชน์รายได้ต่างๆของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ส่งต่อเจ้าหน้าที่แผนกคลังกรมประชาสัมพันธ์เป็นรายได้ของรัฐบาล จำเลยได้ยักยอกเงินที่ได้รับไว้ในหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานท่องเที่ยวนี้ได้รับเงินเดือนประเภทการจรมีฐานะเป็นลูกจ้างรายเดือนของสำนักงานและในคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนปรากฏว่าจำเลยรับราชการเป็นลูกจ้างได้ค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานอันจะเป็นผิดตาม มาตรา131
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319(3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3 บัญญัติให้ใช้ กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวลกฎหมายอาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ มาตรา319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า มาตรา352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา319 จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา352 บังคับลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-359/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะจำเลยไม่ใช่ข้าราชการ จึงไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ในฐานะเจ้าพนักงาน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนเจ้าพนักงานประจำแผนกกลางของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ฝ่ายการเงินของสำนักงานท่องเที่ยว กรมประชาสัมพันธ์ คือการรับเงินจ่ายเงิน ปกครองรักษาและนำเงินผลประโยชน์ รายได้ต่าง ๆ ของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ส่งต่อเจ้าหน้าที่ แผนกคลังกรมประชาสัมพันธ์เป็นรายได้ของรัฐบาล จำเลยได้ยักยอกเงินที่ได้รับไว้ในหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานท่องเที่ยวนี้ได้รับเงินเดือนประเภทการจรมีฐานะเป็นลูกจ้างรายเดือนของสำนักงานและในคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนปรากฏว่า จำเลยรับราชการเป็นลูกจ้างได้ค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานอันจะเป็นผิดตาม ม.131
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด ก.ม.อาญา 319 (3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้ ก.ม. ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวล ก.ม.อาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ ม.319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า ม.352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตาม ก.ม.อาญา ม.319 จึงต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา ม.352 บังคับ ลงโทษจำเลย.