คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 277 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยไม่ยินยอม และอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
เมื่อพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมผู้เสียหาย และโดยผู้เสียหายนั้นไม่ยินยอมแต่การที่จำเลยทั้งสามได้กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และไม่ใช่ภริยาของตน ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง, อายุเยาวชน, โอนคดี, วิธีการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน, ลดโทษ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่ศาลชั้นต้นไม่โอนคดีไปพิจารณาในแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าไม่สมควรโอนคดีไปการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้ได้ตามมาตรา 136 ประกอบมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, กระทำชำเรา, และหน่วงเหนี่ยวกักขัง: ความผิดแยกกระทง
เด็กหญิง ว. ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพและกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริกอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทองอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้วหาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 227 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9003/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, และกระทำชำเรา: การแยกพิจารณาความผิด
เด็กหญิง ว.ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ออกจากบ้านของบิดามารดาตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2538 จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 โดยจำเลยได้พรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ทำให้ปราศจากเสรีภาพ และกระทำชำเราโดยผู้เสียหายมิได้สมัครใจไปกับจำเลย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านญาติจำเลยที่ตำบลทับปริก อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นจำเลยได้ปิดประตูขังผู้เสียหายไว้ในห้อง รุ่งขึ้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านญาติจำเลยที่บ้านควนพล ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วนำผู้เสียหายเข้าไปขังไว้ในห้องตลอดมา ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม2538 ถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2538 แม้การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ที่บ้านญาติของจำเลยหลายแห่งเป็นเวลานานนับ 10 วัน จะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องมาจากความประสงค์เดียวกับการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยนำผู้เสียหายไปหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยปิดประตูขังไว้ในห้องตลอดมา ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานกระทำชำเราซึ่งเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 227วรรคหนึ่ง, 310 วรรคหนึ่ง และ 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์: เจตนาและความสำคัญของอายุผู้เสียหาย
จำเลยสำคัญผิดโดยเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กและการพรากเด็กเพื่ออนาจาร: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และ 317
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน11 วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระทำชำเราเด็กและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดทั้งสองฐาน
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน 11วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 2