คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
รังสรรค์ วิจิตรไกรสร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม-หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ความรับผิดของสถานพยาบาล, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์เป็นสถานบริการเอกชน ในความหมายของกรมบัญชีกลางและไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 แต่ให้ความร่วมมือกับนโยบายของรัฐบาลโดยจะไม่ปฏิเสธให้การรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นนิติสัมพันธ์ในทางแพ่งว่าด้วยสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสองได้
พฤติการณ์ที่โจทก์ไม่ดำเนินการย้ายจำเลยที่ 1 ไปรักษายังโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิของจำเลยที่ 1 ตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในวันที่ 11 เม.ย. 56 ซึ่งเป็นวันที่โรงพยาบาลดังกล่าวมีเตียงว่าง โดยมีเหตุผลเพียงว่า จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระค่ารักษาพยาบาลหรือทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจได้ใช้สิทธิแห่งตนโดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 12 ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำเลยที่ 1 เฉพาะที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่ 24 มี.ค. 56 ถึงวันที่ 11 เม.ย. 56 แก่โจทก์เท่านั้น
จำเลยร่วมทำหน้าที่เป็นหน่วยเบิกจ่ายกลาง (Clearing House) สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สถานบริการนอกเครือข่าย 3 กองทุน ที่ให้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติโดยสถานบริการสามารถให้บริการได้โดยไม่ต้องตรวจสอบสิทธิก่อน โดยจำเลยร่วมจะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่แต่ละกองทุนหรือหน่วยบริการต้นสังกัดกำหนด และจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายคืนจากกองทุนหรือหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วยต่อไป แต่นโยบายดังกล่าวไม่มีกฎหมายรองรับหรือบังคับไม่ให้โรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บเงินส่วนเกินจากผู้ป่วยได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้อาศัยสิทธิจากกองทุนสวัสดิการข้าราชการ มิใช่ผู้ที่ได้ยื่นคำขอลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการเป็นหน่วยบริการประจำตามกฎหมายที่กำหนด จึงไม่อาจนำข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการใช้บริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ.2555 มาใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยร่วมทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลของจำเลยที่ 1 ไปตามแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริการสาธารณสุข ตามนโยบายบูรณาการ 3 กองทุน กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินแล้ว จำเลยร่วมย่อมไม่อาจร่วมกับจำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์อีกเนื่องจากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
การประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสถานบริการนอกเครือข่ายบริการ 3 กองทุน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวมาให้จำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดหรือรับผิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นแทนจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดสัญญาเช่าซื้อ การส่งมอบรถคืน และสิทธิของผู้นำเข้าในการขายทอดตลาด
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 14 เป็นต้นมา 3 งวด ติดกัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ 6 งวด ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่รับหนังสือ หากพันกำหนดแล้วไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทันที ซึ่งแม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาปรากฏเหตุขัดข้องที่ส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจำเลยที่ 1 ไม่มารับภายในกำหนด แต่กรณีดังกล่าวสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 17 วรรคสาม ให้ถือว่าได้มีการส่งหนังสือบอกกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว โดยเนื้อความในหนังสือบอกกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 (ก) ที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อสัญญานี้ด้วย ด้วยข้อสัญญาดังกล่าวมีผลให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนครบกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวได้ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามที่บอกกล่าวภายใน 30 วัน เพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ โดยไม่รอให้ล่วงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน โดยไม่มีข้อโต้แย้ง พฤติการณ์เท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่า อย่างไรเสียก็จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเป็นแน่ และไม่ประสงค์ที่จะชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเพื่อให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะเหตุที่ใจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อทราบโดยชอบแล้ว โดยโจทก์หาจำต้องโต้แย้งคัดค้านการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแต่อย่างใดไม่ ทั้งการส่งมอบรถยนต์คืนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 12 ที่กำหนดให้สิทธิจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ เสียก็ได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีให้แก่โจทก์เนื่องจากสัญญาข้อ 12 ดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาอยู่ในเวลานั้นทันที และไม่ได้เป็นการสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยายดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ และผลของการส่งมอบรถคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 14 เป็นต้นมา 3 งวดติดกัน เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับหนังสือ แม้ปรากฏว่าการส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับส่งให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มารับภายในกำหนด แต่กรณีนี้ในข้อสัญญาเช่าซื้อถือว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวชอบแล้ว เมื่อเนื้อความในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาของโจทก์เป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 (ก) ที่ข้อสัญญามีข้อความครบถ้วนที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2555 ข้อ 4 (4) ที่ประกาศนี้กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อสัญญานี้จึงส่งผลให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนกำหนดเวลา 30 วันได้ และในทางกลับกันจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อยังมีสิทธิชำระค่าเช่าซื้อตามหนังสือบอกกล่าวได้ภายใน 30 วัน ตามหนังสือบอกกล่าวเพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่รอเวลาให้ครบ 30 วัน ตามหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์ โดยไม่มีข้อพิพาทหรือโต้แย้งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดแน่นอน และไม่ประสงค์จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพื่อให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะเหตุที่โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบแล้ว ทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 12 ที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าขาดราคา ตามข้อสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-สิทธิบังคับจำนอง: คดีถึงที่สุดแล้ว แม้หนี้ไม่ระงับ สิทธิยังคงมี แต่ฟ้องซ้ำไม่ได้
เดิมธนาคาร น. เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองอันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้สามัญและเจ้าหนี้จำนองเต็มตามสิทธิที่ธนาคาร น. มีอยู่ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยแก่ธนาคาร น. และให้ธนาคาร น. มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ห้องชุดทรัพย์จำนองได้โดยให้นําออกขายทอดตลาดนําเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยบังคับชำระหนี้ หลังจากนั้นธนาคาร น. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัท บ. และบริษัท บ.โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนธนาคาร น. เมื่อในคดีก่อนโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า การที่โจทก์ในฐานะผู้สืบสิทธิของธนาคาร น. โจทก์ในคดีก่อน นําคดีมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ถือว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและให้มีสิทธิบังคับจำนองห้องชุดทรัพย์จำนองเต็มตามสิทธิของโจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยไถ่ถอนทรัพย์จำนองเดียวกันอีก คดีนี้จึงมีประเด็นเดียวกับคดีก่อนว่า โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองทรัพย์จำนองหรือไม่ เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 แต่อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏว่าหนี้จำนองห้องชุดพิพาทได้ระงับสิ้นไป สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทจึงยังคงมีอยู่และใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์จำนองต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มกระทงความผิดและแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) ลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี ลดโทษกระทงละกึ่งหนึ่งคงจำคุก 30 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษและดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหน้าที่ผู้ประกอบการจัดสรรที่ดินต่อผู้บริโภค กรณีสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานและระดับที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เมื่อเดือนตุลาคม 2554 น้ำท่วมในโครงการและท่วมเข้ามาในบ้านโจทก์เนื่องจากจำเลยทั้งสองปรับปรุงระดับพื้นดินต่ำเป็นแอ่งกระทะไม่เรียบเสมอกัน ระดับพื้นบ้านชั้นล่างของโจทก์ไม่ได้มีระดับสูงกว่าถนนหน้าโครงการ 0.60 เมตร ตามที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดสรร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การว่า บ้านโจทก์ไม่ได้เกิดความเสียหายจากการก่อสร้าง โครงสร้างโดยรวมของบ้านยังมั่นคงแข็งแรงและย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามสิ่งแวดล้อม กาลเวลาและการใช้งานตามสมควร ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเกิดจากช่วงเดือนตุลาคม 2554 เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรง ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสองในเบื้องต้นย่อมเข้าใจว่า หากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการถมที่ดินให้มีความสูงไม่ต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการจัดสรรที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินแล้ว เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมโจทก์จะไม่ได้รับความเสียหาย หรือหากได้รับความเสียหายก็จะเกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า จำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการถมที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้ว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า สภาพทางธรณีวิทยาของที่ดินของพื้นที่ก่อสร้างในขณะทำการก่อสร้างจะมีอยู่อย่างไร จะก่อให้เกิดการทรุดตัวในปริมาณสูงหรือไม่ จำเลยที่ 2 ทำการปรับถมดินไม่ต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการแล้วหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างและอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจตามความในมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวจึงตกอยู่แก่จำเลยทั้งสอง
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษนั้น จำเลยทั้งสองเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าที่ดิน ทำการจัดสรรที่ดินและบ้านเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยที่ดินและบ้านในโครงการของจำเลยทั้งสองมีราคาสูง แต่จำเลยทั้งสองถมดินปรับระดับถนนในโครงการ และพื้นดินในโครงการ รวมถึงพื้นดินบริเวณบ้านโจทก์ มีระดับต่ำกว่าถนนสาธารณะหน้าโครงการ ไม่เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภค พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยทั้งสองจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายและคำขออนุญาตจัดสรรที่ดินและบ้านมาตั้งแต่แรก มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงสมควรบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเพื่อการลงโทษแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 686
บันทึกการส่งมอบรถยนต์มีข้อความว่า ข้าพเจ้าประสงค์ขอเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อคืนแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 9 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะรับผิดชอบที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อกรณีที่เจ้าของได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญาของข้าพเจ้า โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่า บันทึกการส่งมอบรถยนต์เพื่อเลิกสัญญา และระบุสถานที่รับรถว่า เป็นการส่งมอบคืน ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 9 กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ โดยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนให้เจ้าของ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าของ และผู้เช่าตกลงที่จะชำระบรรดาหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันบอกเลิกสัญญาแก่เจ้าของจนครบถ้วน และหากเจ้าของนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชำระส่วนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของจนครบถ้วน การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ค้ำประกันย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้เจ้าของ และตกลงจะรับผิดในบรรดาหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันตามข้อสัญญาดังกล่าว หาใช่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยคู่สัญญาสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาได้
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาภายหลัง ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด การที่โจทก์เพิ่งมีหนังสือแจ้งสิทธิการซื้อทรัพย์สินลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ส่งไปยังจำเลยที่ 2 ตามที่อยู่ที่ปรากฏตามสัญญาค้ำประกันโดยหนังสือดังกล่าวถูกส่งคืนกลับต้นทาง และโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 โดยจำเลยที่ 2 ได้รับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าสินไหมทดแทนเพียง 60 วัน เท่านั้น ส่วนค่าขาดราคาถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ค่าขาดราคา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายห้องชุดคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ผู้ขายต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากข้อบกพร่อง และการรบกวนการอยู่อาศัย
จำเลยที่ 1 ขายห้องชุด ให้แก่ผู้บริโภคทั้งสองโดยไม่ได้ระบุว่าใต้ห้องชุดดังกล่าวเป็นห้องสำหรับติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง แต่ระบุว่าเป็นที่จอดรถ จึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญมีผลกระทบต่อการพักอาศัยของผู้บริโภคทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการผิดสัญญาซื้อขาย ผู้บริโภคทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 แต่ผู้บริโภคทั้งสองไม่ได้มีคำขอดังกล่าว คงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโดยให้เคลื่อนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองออกไปติดตั้งที่แห่งอื่น เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่ติดตั้งไว้ที่อาคารชุดเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของรวม จึงเป็นทรัพย์ส่วนกลางตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 การเคลื่อนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปติดตั้งที่แห่งใหม่ถือเป็นการก่อสร้างอันเป็นการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมหรือปรับปรุงทรัพย์ส่วนกลาง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับมติจากคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 48 (6) สภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้ดำเนินการตามคำขอของโจทก์ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ทำให้ผู้บริโภคทั้งสองได้รับความเดือดร้อน มีผลกระทบต่อการพักอาศัย และความปลอดภัยย่อมเป็นการทำละเมิดต่อผู้บริโภคทั้งสองมาโดยตลอด กรณีจึงเป็นเรื่องที่วิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 39 โดยเห็นควรกำหนดค่าเสียหายเป็นเงินให้แก่ผู้บริโภคทั้งสองและเมื่อพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจ เป็นกรณีไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคทั้งสอง และขาดความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงอีกสองเท่า
จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่คู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายห้องชุด จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้บริโภคทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นฎีกาศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6915/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกจ่ายค่าอบรมที่ขัดระเบียบกระทรวงการคลัง: สิทธิเรียกร้องคืนเงินไม่มีอายุความ
ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.2549 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 4 กำหนดคำนิยามว่า การฝึกอบรม หมายความว่า การอบรม การประชุมทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ การฝึกศึกษา การดูงาน การฝึกงาน หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีช่วงเวลาจัดที่แน่นอน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยไม่มีการรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ เมื่อคดีฟังได้ว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ 2 ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร "กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง" อันเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองชั้นต้น หลักสูตรนี้เป็นการฝึกอบรมที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ผู้ฝึกอบรมจึงไม่สามารถเบิกค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายตามระเบียบดังกล่าวได้ จำเลยต้องคืนเงินที่เบิกไปแก่โจทก์
คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลย ซึ่งเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ 2 และรับเงินไปจากโจทก์แล้วโดยไม่มีสิทธิ โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จำเลยไปย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับหรือยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการใช้รายงานสืบเสาะและพินิจ: พิจารณาโทษได้ แต่ไม่ใช่วินิจฉัยข้อเท็จจริง
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย แต่ไม่อาจนำมารับฟังในฐานะพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องด้วยไม่ โดยหากเห็นว่าการกระทำของจำเลยตามรายงานการสืบเสาะและพินิจขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำรับสารภาพของจำเลย ก็ชอบแต่จะให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมให้ชัดแจ้ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 4