พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาเดียวกัน การให้ทรัพย์สินบุตรโดยมิใช่จากมรดก และสิทธิในการเรียกร้องมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น. ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก. บิดายกที่ดินให้บุตร 200ตารางวา. ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว. จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย.การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร. ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้. ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร.
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง. จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา. การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย. บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย. ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้.
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง. จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา. การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย. บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย. ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ แม้จำเลยจะบุกรุก
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของแม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีนิติสัมพันธ์และการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ. แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า. จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่. โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน. การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ. ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554-1555/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ของผู้ดูแลทรัพย์ที่ถูกยืมไปและเกิดการยักยอก: ผู้ดูแลมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้
ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ดูแลทรัพย์พิพาทไว้ จำเลยยืมทรัพย์พิพาทไปจากโจทก์ร่วม เมื่อเกิดการเสียหายขึ้นเพราะการกระทำผิดยักยอกของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในฐานะเป็นผู้ครอบครองดูแลทรัพย์พิพาท มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) (ตามนัยฎีกาที่ 1341/2495,420/2505,562/2505) แม้ในฟ้องจะบรรยายคลาดเคลื่อนว่าใครเป็นเจ้าทรัพย์ ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความต่างกับฟ้อง
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยยืมทรัพย์ไป แล้วทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย ย่อมมีความผิดในทางอาญา มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมทางแพ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อเดือนตุลาคม 2506 และต่อมาประมาณปลายเดือนเมษายน 2507 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันขอยืมเครื่องประดับไปหลายอย่าง (ห้อยคอและกลัดเสื้อรูปดอกไม้แหวนเพชรเม็ดเดียว แหวนเพชรเม็ดเล็กเป็นรูป 4 เหลี่ยมแหวนทับทิมล้อมเพชร กำไลประดับเพชร สร้อยข้อมือนพเก้า จี้เพชรพร้อมสร้อยทองคำขาว แหวนมรกตล้อมเพชร ต่างหูเพชรนาฬิกาข้อมือประดับเพชร) ต้นเดือนมีนาคม 2510 โจทก์ร่วมทั้งสองได้ทวงถามของที่จำเลยยืมไป จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยระหว่างมีนาคม 2510 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเอาทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน" เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำแจ้งความที่มีความว่า "จึงได้มาแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสี่ต่อไป" นั้น เป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกข้อความคำร้องทุกข์ไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันและผู้ร้องทุกข์ได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็นการบันทึกคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123วรรคสาม
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยยืมทรัพย์ไป แล้วทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย ย่อมมีความผิดในทางอาญา มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมทางแพ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อเดือนตุลาคม 2506 และต่อมาประมาณปลายเดือนเมษายน 2507 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันขอยืมเครื่องประดับไปหลายอย่าง (ห้อยคอและกลัดเสื้อรูปดอกไม้แหวนเพชรเม็ดเดียว แหวนเพชรเม็ดเล็กเป็นรูป 4 เหลี่ยมแหวนทับทิมล้อมเพชร กำไลประดับเพชร สร้อยข้อมือนพเก้า จี้เพชรพร้อมสร้อยทองคำขาว แหวนมรกตล้อมเพชร ต่างหูเพชรนาฬิกาข้อมือประดับเพชร) ต้นเดือนมีนาคม 2510 โจทก์ร่วมทั้งสองได้ทวงถามของที่จำเลยยืมไป จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธไม่ยอมคืนโดยระหว่างมีนาคม 2510 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเอาทรัพย์ดังกล่าวไว้เป็นประโยชน์ส่วนตน" เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
คำแจ้งความที่มีความว่า "จึงได้มาแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสี่ต่อไป" นั้น เป็นการกล่าวหาโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกข้อความคำร้องทุกข์ไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันและผู้ร้องทุกข์ได้ลงชื่อไว้แล้ว จึงเป็นการบันทึกคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันเงินกู้ ไม่ถือเจตนาออกเช็คโดยไม่มีเงินจ่าย แม้ผู้รับรองเงินกู้มีส่วนรู้เห็น
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่มี จำเลยจึงขอให้ไปยืมคนอื่นมาให้ ผู้ให้กู้ให้โจทก์รับรองว่าจะคืนภายใน 2 เดือนจึงจะให้ยืม จำเลยจึงเขียนเช็ค 2 ฉบับไม่ได้ลงวันที่ โจทก์สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับแล้วมอบให้จำเลยไปขอเงินที่ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ชำระ ผู้ให้กู้ทวงถามโจทก์ โจทก์จึงใช้เงินให้ และยึดเช็ค 2 ฉบับนั้นไว้ แล้วทวงถามจำเลย จำเลยชำระให้ครึ่งหนึ่งโจทก์จึงคืนเช็คให้จำเลย 1 ฉบับ เมื่อทวงถามให้ชำระอีกจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงเขียนวันที่ลงในเช็ค แล้วเอาไปเข้าบัญชี ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการกู้เงินโดยเอาเช็คเป็นประกันเงินกู้ มิใช่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดหรือออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ และไม่ใช่เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินโดยใช้เช็คเป็นประกัน ไม่ใช่เจตนาหลอกลวงผู้รับเช็ค ศาลยกฟ้อง
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่มี. จำเลยจึงขอให้ไปยืมคนอื่นมาให้. ผู้ให้กู้ให้โจทก์รับรองว่าจะคืนภายใน 2เดือนจึงจะให้ยืม. จำเลยจึงเขียนเช็ค 2 ฉบับไม่ได้ลงวันที่. โจทก์สลักหลังเช็คทั้งสองฉบับแล้วมอบให้จำเลยไปขอเงินที่ผู้ให้กู้. เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ชำระ.ผู้ให้กู้ทวงถามโจทก์ โจทก์จึงใช้เงินให้ และยึดเช็ค 2 ฉบับนั้นไว้ แล้วทวงถามจำเลย. จำเลยชำระให้ครึ่งหนึ่งโจทก์จึงคืนเช็คให้จำเลย 1 ฉบับ. เมื่อทวงถามให้ชำระอีกจำเลยไม่ชำระ. โจทก์จึงเขียนวันที่ลงในเช็ค แล้วเอาไปเข้าบัญชี ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน. โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง. ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการกู้เงินโดยเอาเช็คเป็นประกันเงินกู้ มิใช่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดหรือออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ และไม่ใช่เป็นการออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญาเช็ค - การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์แต่เพียงลำพัง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) ตอนท้ายที่บัญญัติว่า "และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ" นั้นเป็นคำกว้าง ๆ ฉะนั้นตามที่เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ว่า "ผู้แจ้ง(โจทก์) เกรงว่าเช็คจะขาดอายุความจึงได้นำความมาแจ้งไว้เป็นหลักฐาน" นั้นจึงบ่งให้เห็นว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษแล้ว และโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุคาม ส่วนการที่จะดำเนินคดีที่กล่าวมาเมื่อได้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการอย่างใด จนโจทก์ไปแจ้งอีกเมื่อพ้นอายุความแล้วจึงได้ทำการสอบ ไม่ทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความ
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค ดังนั้นแม้โจทก์จะรู้ในขณะจำเลยเขียนเช็คว่าจำเลยไม่มีเงินสดในธนาคารอันจะใช้ให้โจทก์ได้ความเช็ค ก็ไม่ถือว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดกับจำเลยและไม่ถือว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค ดังนั้นแม้โจทก์จะรู้ในขณะจำเลยเขียนเช็คว่าจำเลยไม่มีเงินสดในธนาคารอันจะใช้ให้โจทก์ได้ความเช็ค ก็ไม่ถือว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดกับจำเลยและไม่ถือว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญาเช็ค: การแจ้งความครั้งแรกมีเจตนาให้ดำเนินคดี แม้เจ้าหน้าที่ยังไม่สอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) ตอนท้ายที่บัญญัติว่า "และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ" นั้นเป็นคำกว้างๆ ฉะนั้นตามที่เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ว่า "ผู้แจ้ง (โจทก์) เกรงว่าเช็คจะขาดอายุความ จึงได้นำความมาแจ้งไว้เป็นหลักฐาน" นั้น จึงบ่งให้เห็นว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษแล้ว และโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความ ส่วนการที่จะดำเนินคดีที่กล่าวหาเมื่อใด เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวกับโจทก์ เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการอย่างใดจนโจทก์ไปแจ้งอีกเมื่อพ้นอายุความแล้วจึงได้ทำการสอบไม่ทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความ
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คนั้นไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คนั้นไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความเบื้องต้นแสดงเจตนาให้ดำเนินคดีแล้ว ไม่ทำให้คดีขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) ตอนท้ายที่บัญญัติว่า 'และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ' นั้นเป็นคำกว้างๆ. ฉะนั้นตามที่เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ว่า 'ผู้แจ้ง (โจทก์) เกรงว่าเช็คจะขาดอายุความ จึงได้นำความมาแจ้งไว้เป็นหลักฐาน'นั้น. จึงบ่งให้เห็นว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษแล้ว. และโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดอายุความ. ส่วนการที่จะดำเนินคดีที่กล่าวหาเมื่อใด เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวกับโจทก์. เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการอย่างใด.จนโจทก์ไปแจ้งอีกเมื่อพ้นอายุความแล้วจึงได้ทำการสอบไม่ทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความ.
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คนั้น.ไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค.
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นเช็คลงวันสั่งจ่ายล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดตามเช็คนั้น.ไม่ใช่ถือเอาวันเขียนเช็คเป็นวันออกเช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีเบิกความเท็จหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้
การถอนฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติถึงคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ว่าให้ถอนคดีได้เสมอไป ไม่ว่าผู้เสียหายหรืออัยการเป็นโจทก์ การถอนฟ้องต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ที่ให้ถอนฟ้องได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เว้นแต่คดีความผิดต่อส่วนตัวจะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดได้ ในกรณีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงถอนฟ้องไม่ได้