คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสลา หัมพานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำให้การเรื่องอำนาจฟ้องที่เป็นกรณีความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้หลังชี้สองสถานก็ทำได้
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยื่นคำร้องภายหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ไม่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะได้ความว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่ เท่ากับยังไม่มีอุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันผู้ร้องต้องชำระหนี้แทนจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระ
โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเป็นใจความว่า. ผู้ร้องขอให้โจทก์ขายทอดตลาดเฉพาะเรือนตามประกาศทรัพย์อันดับ 2 ไปก่อน หากขายเรือนได้เงิน.ไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา. ผู้ร้องจะยอมชำระเงินให้โจทก์แทนจำเลยจนครบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยขาดจำนวนอยู่ผู้ร้องต้องชำระหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอม. เมื่อไม่ชำระ. โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องชำระหนี้แทนจำเลยจนครบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและหน้าที่ชำระหนี้แทนกัน: ผู้ร้องมีหน้าที่ชำระหนี้แทนจำเลยตามสัญญา
โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเป็นใจความว่า ผู้ร้องขอให้โจทก์ขายทอดตลาดเฉพาะเรือนตามประกาศทรัพย์อันดับ 2 ไปก่อน หากขายเรือนได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะยอมชำระเงินให้โจทก์แทนจำเลยจนครบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยขาดจำนวนอยู่ผู้รองต้องชำระหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอม เมื่อไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องชำระหนี้จำเลยจนครบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับชำระหนี้แทนจำเลยตามสัญญา
โจทก์และผู้ร้องขัดทรัพย์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเป็นใจความว่า ผู้ร้องขอให้โจทก์ขายทอดตลาดเฉพาะเรือนตามประกาศทรัพย์อันดับ 2 ไปก่อน หากขายเรือนได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะยอมชำระเงินให้โจทก์แทนจำเลยจนครบ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยขาดจำนวนอยู่ผู้ร้องต้องชำระหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอม เมื่อไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องชำระหนี้แทนจำเลยจนครบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงชื่อรับรอง มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้มีการจดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นก็ไม่สมบูรณ์
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อในใบหุ้นนั้น แม้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอน แต่เมื่อไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือย่อมเป็นโมฆะ
การโอนหุ้นซึ่งตกเป็นโมฆะ แม้บริษัทจะได้ลงชื่อผู้รับโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้น และเคยนัดหมายให้ผู้รับโอนเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นก็ดี ก็ไม่ทำให้ผู้รับโอนกลายเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นเป็นการไม่ชอบโดยอ้างเหตุว่า ผู้ร้องมิใช่ผู้ถือหุ้นและสัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ยกข้อต่อสู้ในคำคัดค้านว่าผู้ร้องได้ครอบครองหุ้นมากว่า 5 ปี จนได้กรรมสิทธิ์แล้วย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่า การครอบครองสิทธิในการถือหุ้นมีได้หรือไม่เพียงใด
การปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 นั้น กฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียงว่าถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบการปฏิเสธ เมื่อผู้ปฏิเสธหนี้ได้ยกเหตุผลขึ้นปฏิเสธไปแล้ว แม้ไม่ได้ยกข้อกฎหมายบางข้อขึ้นกล่าวอ้างก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ยกข้อกฎหมายนั้นขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นระบุชื่อต้องมีพยานรับรองลายมือ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้จะมีการลงทะเบียนและใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อในใบหุ้นนั้น แม้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอน. แต่เมื่อไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือย่อมเป็นโมฆะ.
การโอนหุ้นซึ่งตกเป็นโมฆะ. แม้บริษัทจะได้ลงชื่อผู้รับโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้น และเคยนัดหมายให้ผู้รับโอนเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นก็ดี. ก็ไม่ทำให้ผู้รับโอนกลายเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย.
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นเป็นการไม่ชอบโดยอ้างเหตุว่า.ผู้ร้องมิใช่ผู้ถือหุ้นและสัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะ.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ยกข้อต่อสู้ในคำคัดค้านว่า.ผู้ร้องได้ครอบครองหุ้นมากว่า 5 ปี จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่า.การครอบครองสิทธิในการถือหุ้นมีได้หรือไม่เพียงใด.
การปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 นั้น. กฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียงว่าถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบการปฏิเสธ.เมื่อผู้ปฏิเสธหนี้ได้ยกเหตุผลขึ้นปฏิเสธไปแล้ว. แม้ไม่ได้ยกข้อกฎหมายบางข้อขึ้นกล่าวอ้าง.ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ยกข้อกฎหมายนั้นขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายมือ หากไม่มีถือเป็นโมฆะ แม้จะมีการจดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อในใบหุ้นนั้น แม้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอน แต่เมื่อไม่มีพยานลงชื่อรับรองลายมือย่อมเป็นโมฆะ
การโอนหุ้นซึ่งตกเป็นโมฆะ แม้บริษัทจะได้ลงชื่อผู้รับโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้น และเคยนัดหมายให้ผู้รับโอนเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นก็ดี ก็ไม่ทำให้ผู้รับโอนกลายเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นเป็นการไม่ชอบโดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องมิใช่ผู้ถือหุ้นและสัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มิได้ยกข้อต่อสู้ในคำคัดค้านว่า ผู้ร้องได้ครอบครองหุ้นมากว่า 5 ปี จนได้กรรมสิทธิ์แล้วย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่าการครอบครองสิทธิในการถือหุ้นมิได้หรือไม่เพียงใด
การปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 นั้น กฎหมายบัญญัติไว้แต่เพียงว่าถ้าจะปฏิเสธให้แสดงเหตุผลประกอบการปฏิเสธ เมื่อผู้ปฏิเสธหนี้ได้ยกเหตุผลขึ้นปฏิเสธไปแล้ว แม้ไม่ได้ยกข้อกฎหมายบางข้อขึ้นกล่าวอ้างก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ยกข้อกฎหมายนั้นขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะภายนอกของสินค้าและการสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT. ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG. เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง.ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น.ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด.
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง. ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์. แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม. แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์. นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์.
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว. ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ. โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย. แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง. ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย.
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย. โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่.จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์. โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิ แม้จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่าแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะการค้าทำให้ผู้บริโภคสับสนถือเป็นการละเมิด แม้เครื่องหมายการค้าจะแตกต่างกัน
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATEและ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
of 29