พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ปรับปรุงและเช่าช่วงตึก, สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า, และการชำระหนี้ค่าเช่า
การที่โจทก์ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยผู้เช่าดัดแปลงปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาท แม้ตึกพิพาทจะเสียหายไปบ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรค 2
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ปรับปรุงและเช่าช่วง รวมถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผิดนัดชำระค่าเช่า
การที่โจทก์ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยผู้เช่าดัดแปลงปรับปรุงซ่อมแซมตึกพิพาทแม้ตึกพิพาทจะเสียหายไปบ้าง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการ ทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรคสอง
จำเลยผู้เช่าซึ่งเป็นลูกหนี้ชอบที่จะชำระหนี้ค่าเช่าตึกพิพาทแก่ตัวเจ้าหนี้คือโจทก์เองโดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
สัญญาเช่าตึกพิพาทระบุการผิดสัญญาเช่าไว้หลายประการ ทั้งกรณีที่ผิดสัญญาเช่าข้อหนึ่งข้อใดก็ยินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวเลิกสัญญาได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่า โจทก์ก็บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าได้ตามกฎหมายโดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิการเช่า vs. การยินยอมให้ปลูกสร้าง และผลกระทบต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474-475/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของนิติกรรมซื้อขาย, การรับมรดก, และผลของการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อบกพร่องในการที่เจ้าหน้าที่กรอกชื่อบริษัทโจทก์ร่วมไว้ในทะเบียนการให้และสัญญาซื้อขายขาดคำว่า "จำกัด" ท้ายชื่อไปไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ทำขึ้น
ภริยาจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นยอมรับเป็นผู้รับมรดกความแทนจำเลย และได้รับความยินยอมจากคู่ความ ทั้งไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งในการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ภริยาจำเลยเข้ารับมรดกความ แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้สั่งอย่างใด ถือได้ว่าอนุญาตให้เป็นไปตามที่ภริยาจำเลยยอมรับจึงไม่ชอบที่ภริยาจำเลยจะรื้อฟื้นขึ้นอ้างว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้อีก
เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าของทนายโจทก์ถึงจำเลย ไปยังที่อยู่ของจำเลยถึง 3 ครั้งก็ไม่มีผู้รับ ดังนี้ ถือได้ว่าคำบอกกล่าวเลิกสัญญาของโจทก์มีผลนับแต่เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำส่งไปถึงสถานที่ของจำเลย และจำเลยได้ทราบคำบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าของโจทก์โดยชอบสัญญาเช่าได้ระงับเลิกไปแล้วจำเลยจึงต้องออกจากตึกพิพาทของโจทก์
ภริยาจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นยอมรับเป็นผู้รับมรดกความแทนจำเลย และได้รับความยินยอมจากคู่ความ ทั้งไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งในการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ภริยาจำเลยเข้ารับมรดกความ แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้สั่งอย่างใด ถือได้ว่าอนุญาตให้เป็นไปตามที่ภริยาจำเลยยอมรับจึงไม่ชอบที่ภริยาจำเลยจะรื้อฟื้นขึ้นอ้างว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้อีก
เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าของทนายโจทก์ถึงจำเลย ไปยังที่อยู่ของจำเลยถึง 3 ครั้งก็ไม่มีผู้รับ ดังนี้ ถือได้ว่าคำบอกกล่าวเลิกสัญญาของโจทก์มีผลนับแต่เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำส่งไปถึงสถานที่ของจำเลย และจำเลยได้ทราบคำบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าของโจทก์โดยชอบสัญญาเช่าได้ระงับเลิกไปแล้วจำเลยจึงต้องออกจากตึกพิพาทของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ผู้ซื้อโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อน แม้ผู้ครอบครองจะครอบครองก่อนและแจ้งการครอบครอง
ซื้อที่ดินมีโฉนด ทำนิติกรรมซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อชำระเงินค่าซื้อเรียบร้อยแล้วก็ได้จดทะเบียนโอนโฉนดกันตามระเบียบโดยถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่ดินในโฉนดบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่กรรมสิทธิ์ดังกล่าวนี้กฎหมายยังไม่รับรองเด็ดขาดจนกว่าจะได้จดทะเบียนสิทธินั้นแล้ว กรรมสิทธิ์อันยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลักกฎหมายทั่วไปว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
การแจ้งการครอบครองที่ดินตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งประการใด การแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งการครอบครองยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้ง ถ้าผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่าสละสิทธิครอบครองที่ดินแปลงนั้น
การแจ้งการครอบครองที่ดินตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งประการใด การแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งการครอบครองยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้ง ถ้าผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่าสละสิทธิครอบครองที่ดินแปลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน การคุ้มครองสิทธิผู้รับโอนจากการครอบครองก่อนหน้า
ซื้อที่ดินมีโฉนด ทำนิติกรรมซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อชำระเงินค่าซื้อเรียบร้อยแล้วก็ได้จดทะเบียนโอนโฉนดกันตามระเบียบโดยถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่ดินในโฉนดบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่กรรมสิทธิ์ดังกล่าวนี้กฎหมายยังไม่รับรองเด็ดขาดจนกว่าจะได้จดทะเบียนสิทธินั้นแล้ว กรรมสิทธิ์อันยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ทั้งได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลักกฎหมายทั่วไปว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
การแจ้งการครอบครองที่ดินตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งประการใด การแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งการครอบครองยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้ง ถ้าผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่าสละสิทธิครอบครองที่ดินแปลงนั้น
การแจ้งการครอบครองที่ดินตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งประการใด การแจ้งการครอบครองที่ดินนั้นเป็นเพียงการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งว่า ผู้แจ้งการครอบครองยังไม่สละสิทธิครอบครองที่ดินที่แจ้ง ถ้าผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้ถือว่าสละสิทธิครอบครองที่ดินแปลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่า: การเงื้อมีดขู่ ไม่ถึงเจตนาฆ่า
จำเลยเงื้อมีดในขณะที่ยังอยู่ห่างผู้เสียหายในระยะที่จำเลยไม่อาจทำร้ายผู้เสียหายได้ และมีคนขวางอยู่ถึงสองคนก่อนที่จะถึงตัวผู้เสียหายลักษณะที่จำเลยเงื้อมีดขึ้นโดยไม่มีโอกาสฟันทำร้ายผู้เสียหายได้ เช่นนี้น่าจะเพียงเพื่อขู่ผู้เสียหายเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าถึงขั้นเจตนาจะฆ่าอันจะมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพยายามฆ่า: การเงื้อมีดขู่ ไม่ถึงขั้นลงมือทำร้าย
จำเลยเงื้อมีดในขณะที่ยังอยู่ห่างผู้เสียหายในระยะที่จำเลยไม่อาจทำร้ายผู้เสียหายได้ และมีคนขวางอยู่ถึงสองคนก่อนที่จะถึงตัวผู้เสียหายลักษณะที่จำเลยเงื้อมีดขึ้นโดยไม่มีโอกาสฟันทำร้ายผู้เสียหายได้ เช่นนี้น่าจะเพียงเพื่อขู่ผู้เสียหายเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าถึงขั้นเจตนาจะฆ่า อันจะมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดเข้าประเทศโดยใช้เอกสารปลอม แม้ชำระภาษีแล้ว ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำผิดไว้หลายอย่างหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)