คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสลา หัมพานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ล้มละลาย และอายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) นั้นหมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ. ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร. หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่.จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้.
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร. เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ.
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. เนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย. ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้.จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688. การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์. เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย. โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น. ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่ง, สัญญาค้ำประกัน, ผลกระทบการล้มละลายของลูกหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) นั้นหมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลายของลูกหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย, อายุความ
พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) นั้น หมายถึงบุคคลประเภทที่ซื้อและขายสินค้าเป็นปกติธุระ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการค้าตามวิธีการของธนาคาร หาใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งอนุมาตรานี้ไม่ จะใช้อายุความ 2 ปีมาปรับแก่คดีไม่ได้
จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ยินยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปีให้แก่ธนาคาร เมื่อผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตรานี้ตลอดไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็มีอำนาจที่จะพิจารณาคดีสำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต่อไปได้ จำเลยผู้ค้ำประกันหาพ้นความรับผิดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 การที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องของโจทก์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย โจทก์ก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น ส่วนจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17 ธรรมนูญฯ, นิติกรรมอำพราง, และจำนำทรัพย์สินเป็นประกันหนี้
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่นั้น อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ แต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้ โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้ว เมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 (ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23,24,25, 26,27,28/2512)
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17 ชอบด้วยกฎหมาย, นิติกรรมอำพราง, การจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้, ศาลต้องสืบพยานเพิ่มเติม
ธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชาอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่า คำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่นั้น อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่ และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ แต่ให้ใช่เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้ โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้วเมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118
(ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23,24,25,26,27,28/2512)
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือ ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17, นิติกรรมอำพราง, การจำนำทรัพย์สิน และความรับผิดในหนี้
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บทกฎหมายใดที่ขัดกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรย่อมจะนำมาใช้บังคับไม่ได้. คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย. ผู้ใดจะอ้างว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนั้น ย่อมฟังไม่ได้.
การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17หรือไม่นั้น. อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่. และมาตรา 17 มิได้ระบุให้ใช้มาตรการเช่นนั้นแก่ผู้กระทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะ. แต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการกระทำที่เป็นการบ่อนทำลาย. แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้วแต่ผลแห่งการกระทำยังอยู่ ผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วยย่อมอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 494/2510).
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินบริษัทบางกอกกระสอบ จำกัด โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน.จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้กู้. จำเลยที่2 ในฐานะเจ้าของร่วม ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้กู้เงินรายนี้. โดยได้สมรู้ร่วมกันกับบริษัทเจ้าหนี้ปกปิดอำพรางนิติกรรมอันแท้จริงไว้ โดยให้เอาชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ไว้เป็นพิธี และให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน. หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย การทำสัญญากู้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแสดงเจตนาลวงไว้เท่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้กันอยู่แล้ว. เมื่อนิติกรรมทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่1 ก็ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118. (ข้อกฎหมายวรรคนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่23,24,25,26,27,28/2512).
สัญญาจำนำไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ. ลูกหนี้ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ว่า ได้มีการมอบใบหุ้นให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นการจำนำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยเข้าใจผิด: การยิงเพื่อป้องกันตัวในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยง
จำเลยผู้เดียวนอนเฝ้ากระบือและเครื่องสูบน้ำที่ห้างนา ในท้องที่ที่มีการปล้นการลักกันเสมอ. ตกใจตื่นโดยได้ยินเสียงก๊อกแก๊กทางปลายเท้า เห็นเงาคนดำๆ ห่าง 1 วาเศษเข้าใจว่าเป็นคนร้ายจะมาทำการปล้น. จึงใช้ปืนยิงไป1 นัด ถูกผู้นั้นตาย ในขณะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนร้ายย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองตามสมควรแก่เหตุ: ความเข้าใจผิดในสถานการณ์เสี่ยงภัย
จำเลยผู้เดียวนอนเฝ้ากระบือและเครื่องสูบน้ำที่ห้างนา ในท้องที่ที่มีการปล้นการลักกันเสมอ ตกใจตื่นโดยได้ยินเสียงก๊อกแก๊กทางปลายเท้า เห็นเงาคนดำๆ ห่าง 1 วาเศษเข้าใจว่าเป็นคนร้ายจะมาทำการปล้น จึงใช้ปืนยิงไป1 นัด ถูกผู้นั้นตาย ในขณะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนร้าย ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยเข้าใจผิด: การยิงโดยเชื่อว่าผู้ตายเป็นคนร้ายในพื้นที่เสี่ยง ถือเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ
จำเลยผู้เดียวนอนเฝ้ากระบือและเครื่องสูบน้ำที่ห้างนา ในท้องที่ที่มีการปล้นการลักกันเสมอ ตกใจตื่นโดยได้ยินเสียงก๊อกแก๊กทางปลายเท้า เห็นเงาคนดำ ๆ ห่าง 1 วาเศษ เข้าใจว่าเป็นคนร้ายจะมาทำการปล้น จึงใช้ปืนยิงไป 1 นัด ถูกผู้นั้นตาย ในขณะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนร้าย ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อปกป้องบุตรจากผู้บุกรุกและการป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ
ผู้เสียหายมาขอน้ำบุตรสาวจำเลยกิน. บุตรจำเลยเข้าไปในครัวจะตักน้ำให้ ผู้เสียหายตามเข้าไปจับมือและเข้ากอดบุตรจำเลยในครัว. เมื่อจำเลยกลับมาบ้านได้ยินเสียงบุตรสาวร้องเรียกให้ช่วย. จำเลยจึงได้เข้าไปใช้มีดแทงผู้เสียหาย 2 ครั้ง. ครั้งแรกเพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยจากกอดบุตรสาว และผู้เสียหายหันกลับมาสู้ จำเลยจึงแทงป้องกันตัวไปอีก ถือว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายพอสมควรแก่เหตุ. จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68.
of 29