พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขอใบสำคัญคนต่างด้าว: จำเลยยังไม่ได้ปฏิเสธสิทธิ, โจทก์บกพร่องในการส่งหลักฐาน
โจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยจำเลยรับเรื่องแล้วได้ส่งไปให้กองกำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา ต่อมากรมตำรวจได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วมีความเห็นว่า หลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เกิดในราชอาณาจักรไทย และเคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วถูกถอนสัญชาติไทยจึงให้ระงับเรื่องไว้ก่อนและได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่หาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบ และโจทก์ทั้งสี่ได้เซ็นชื่อรับทราบแล้ว แต่โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจพิจารณาต่อไป ดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทั้งสี่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ ที่จำเลยไม่อาจออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้นั้น เกิดจากความบกพร่องของโจทก์ทั้งสี่ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจตรวจสอบพิจารณาใหม่ โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวขึ้นอยู่กับหลักฐานของผู้ขอ หากหลักฐานไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ไม่อาจออกได้
เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อจำเลยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2529 นายทะเบียนคนต่างด้าวอำเภอวานรนิวาสในขณะนั้นก็ได้ทำบันทึกถึงผู้กำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปไม่ปรากฎว่านายทะเบียนได้โต้แย้งหรือละเว้นที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใดนายทะเบียนปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือของกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่มท.0613.01/2792 ลงวันที่ 10 กันยายน 2528 และบันทึกข้อความของกระทรวง-มหาดไทยที่ มท.0202/154 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2530 กล่าวคือ เมื่อรับเรื่องแล้วได้ส่งไปให้กองกำกับการกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรพิจารณา และต่อมากรมตำรวจได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วมีความเห็นว่า หลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เกิดในราชอาณาจักรไทย และเคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วถูกถอนสัญชาติไทย จึงให้ระงับเรื่องไว้ก่อน ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่หาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบ โจทก์ทั้งสี่ทราบแล้วก็ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจพิจารณาต่อไป ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทั้งสี่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ ที่จำเลยไม่อาจออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ได้นั้น เกิดจากความบกพร่องของโจทก์ทั้งสี่ที่ไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้กรมตำรวจสอบพิจารณาใหม่โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
(เทียบ ฎ.365/2537)
(เทียบ ฎ.365/2537)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723-737/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติจากการสมรสกับชาวต่างชาติและสถานะคนต่างด้าว: การพิสูจน์สัญชาติของคู่สมรสและการแจ้งสถานะ
การที่จำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าว (จีน) อันจะทำให้จำเลยศูนย์เสียสัญชาติตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 นั้น โจทก์จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ในขณะที่แต่งงานกฎหมายสัญชาติของคู่แต่งงานของจำเลยบัญญัติ ให้จำเลยมีสัญชาติของสามี มิฉะนั้นศาลไม่ถือว่าจำเลยศูนย์เสียสัญชาติเพราะการแต่งงาน
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนศูนย์เสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมา ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หากจะเป็นกรณีเข้า ม.5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติ ให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว ก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ พงศ. 2496 ซึ่ง จำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิด แต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนศูนย์เสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมา ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หากจะเป็นกรณีเข้า ม.5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติ ให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว ก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ พงศ. 2496 ซึ่ง จำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิด แต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้