คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ม. 99

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ออกใหม่หลังคณะกรรมการสำรวจฯมีคำสั่งยกเลิกโฉนดเดิม และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดินพ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบ ก็ต้องถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกใหม่โดยไม่ชอบ คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจชี้ขาด กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบก็ต้องถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจที่ดินขัดรัฐธรรมนูญ: การวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิในที่ดินเป็นอำนาจศาลแต่เพียงผู้เดียว
การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 มาตรา 3, 4, 5, 7 ให้ก่อตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีอำนาจทำการสำรวจและสั่งยกเลิกการออกโฉนดที่ดินซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมแล้วสั่งให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ได้ตามความเป็นธรรม และให้ถือว่าคำสั่งคณะกรรมการเป็นเด็ดขาด จะนำไปฟ้องคดีเพื่อแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นมิได้นั้น เป็นการให้คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุคคล ลบล้างกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่มีอยู่แล้ว และก่อตั้งกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่ มีผลเท่ากับตั้งคณะบุคคลอื่นที่มิใช่ศษลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีแยกไปจากอำนาจของศาลโดยชัดแจ้ง จึงเป็นการแย้งและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนที่ดินมาแก้ไขให้ถูกต้องหรือเพิกถอนเสียได้นั้นเป็นเพียงอำนาจบริหารเท่านั้น อธิบดีกรมที่ดินจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843-848/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้ง ส.ส. จำนวนสมาชิกประเภท 1 และ 2 ต้องเท่ากันเฉพาะช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
สมาชิกประเภท 1 ต้องมีจำนวนเท่ากับประเภท 2 เฉพาะในระยะเวลาเริ่มแรกเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเท่ากันไปทั้งสิบปีสมาชิกประเภท 2 จะตั้งเพิ่มจากจำนวนเริ่มแรกก็ไม่ได้ลดก็ไม่ได้เว้นแต่จะเข้าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา116ส่วนสมาชิกประเภทที่ 1 ย่อมต้องมีจำนวนเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งนั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาได้ตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา 60,61 รัฐธรรมนูญ มาตรา 99,113,114
ผู้เลือกตั้งย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้เพราะเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843-848/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคัดค้านการเลือกตั้ง และจำนวนสมาชิกประเภทที่ 1 กับ 2 ที่ไม่จำต้องเท่ากันตลอดระยะเวลา
สมาชิกประเภท 1 ต้องมีจำนวนเท่ากับประเภท 2 เฉพาะในระยะเวลาเริ่มแรกเท่านั้นไม่ใช่ต้องเท่ากันไปทั้งสิบปี สมาชิกประเภท 2 จะตั้งเพิ่มจากจำนวนเริ่มแรกก็ไม่ได้ลดก็ไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าตามรัฐธรรมนูญ ม.116 ส่วนสมาชิกประเภทที่ 1 ย่อมต้องมีจำนวน เป็นไปตาม ก.ม.เลือกตั้ง
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งนั้นศาลมีอำนาจพิจารณาได้ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง ม.60, 61 รัฐธรรมนูญ ม.99 113,114
ผู้เลือกตั้งย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้เพราะเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล.
of 2