คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ออกใหม่หลังคณะกรรมการสำรวจฯมีคำสั่งยกเลิกโฉนดเดิม และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดินพ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบ ก็ต้องถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกใหม่โดยไม่ชอบ คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจชี้ขาด กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบก็ต้องถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602-1603/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของบุคคลที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
บทกฎหมายใดก็ตามที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นที่เขามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด และทรัพย์นั้นไม่ใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิดแล้ว ย่อมขัดกับการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ในระหว่างใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลตีความมาแล้วว่า บทบัญญัติเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยใช้บังคับมิได้ (อ้างฎีกาที่ 225/2506)
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 74 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งบัญญัติให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ซึ่งบุคคลใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่นั้น ย่อมถือหรือตีความได้ว่าไม่มีความมุ่งหมายที่จะลงโทษผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของช้างรายพิพาทซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่บุคคลทำหรือมีไว้เป็นความผิด และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองกรรมสิทธิ์
ในขณะนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอน และไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นผู้มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด ได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้ จึงเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มาตรา 113 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำพิพากษาฎีกาเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวย่อมนำมาเปรียบเทียบกับคดีนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยบทกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหลังประกาศคณะปฏิวัติ และผลบังคับใช้ของกฎหมายเมื่อประกาศใช้
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นโดยเฉพาะ ฉะนั้นเมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดบทกฎหมายใดว่าจะแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เสียแล้ว อำนาจหน้าที่ชี้ขาดนี้จึงตกอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป้นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่ยกขึ้นใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่ เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมีได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรก หาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมีได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม ่ ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่า มาตรา 5 แห่งราชบัญญัติเวนคืน ฯ พ.ศ. 2495 ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113 จึงกระทำได้โดยชอบหาใช่เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญมาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่ อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่.
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยดขึ้นกล่าวอ้าง ก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และผลบังคับใช้ของกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นโดยเฉพาะฉะนั้น เมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดบทกฎหมายใดว่าจะแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เสียแล้ว อำนาจหน้าที่ชี้ขาดนี้จึงตกอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับหาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรกหาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนฯ พ.ศ.2496 ชัดแจ้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29. ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113จึงกระทำได้โดยชอบหาใช้เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาข้อโต้แย้งการเลือกตั้ง และการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ส.ส.ประเภทต่างๆ
การตีความรัฐธรรมนูญ ม.115 ศาลมีอำนาจตีความได้เพราะไม่ใช่ปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภาฯ
คำว่า "มิได้เป็นไปโดยชอบ" ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ฯ ม.60 นั้นจะเป็นด้วยเหตุประการใด ๆ ก็ได้ เช่นมิชอบด้วยข้อเท็จจริง มิชอบด้วยข้อกฎหมายก็นับว่าอยู่ในข่ายของคำว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบทั้งสิ้น
ผู้เลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อเห็นว่าการเลือกตั้งหรือได้รับเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยชอบ
คำว่า "ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 10 ปีในรัฐธรรมนูญ ม.115 เมื่อพิจารณาประกอบกับ ม.45, 46, 47 แล้วมีความหมายว่าให้มี ส.ส. 2 ประเภทจำนวนเท่ากันในวาระเริ่มแรก หาใช่ว่าต้องมี 2 ประเภทเท่ากันตลอดไปภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี
ส.ส.ประเภท 2 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งขึ้นไว้แล้ว 123 คนในวันใช้บังคับรัฐธรรมนูญนั้น เป็นจำนวนตายตัวไม่มีบัญญัติให้เพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากจะลดหรือตั้งซ่อมตาม ม.116 ในเมื่อได้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญนี้ไปแล้ว 5 ปี ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น ก็ให้ ส.ส. ประเภทที่ 2 ออกจากตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวน ส.ส.ที่มีการเลือกตั้งในจังหวัดนั้น หรือในระหว่างที่มี ส.ส.ประเภท 2 ตามมาตรานี้ ถ้าตำแหน่ง ส.ส.ประเภท 2 ว่างลงโดยมิใช่การออกตามความดั่งกล่าวข้างต้น ก็ให้มีการตั้งซ่อมได้เท่า จำนวนตำแหน่งที่ว่าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843-848/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้ง ส.ส. จำนวนสมาชิกประเภท 1 และ 2 ต้องเท่ากันเฉพาะช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
สมาชิกประเภท 1 ต้องมีจำนวนเท่ากับประเภท 2 เฉพาะในระยะเวลาเริ่มแรกเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเท่ากันไปทั้งสิบปีสมาชิกประเภท 2 จะตั้งเพิ่มจากจำนวนเริ่มแรกก็ไม่ได้ลดก็ไม่ได้เว้นแต่จะเข้าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา116ส่วนสมาชิกประเภทที่ 1 ย่อมต้องมีจำนวนเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งนั้น ศาลมีอำนาจพิจารณาได้ตามพ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา 60,61 รัฐธรรมนูญ มาตรา 99,113,114
ผู้เลือกตั้งย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้เพราะเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843-848/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคัดค้านการเลือกตั้ง และจำนวนสมาชิกประเภทที่ 1 กับ 2 ที่ไม่จำต้องเท่ากันตลอดระยะเวลา
สมาชิกประเภท 1 ต้องมีจำนวนเท่ากับประเภท 2 เฉพาะในระยะเวลาเริ่มแรกเท่านั้นไม่ใช่ต้องเท่ากันไปทั้งสิบปี สมาชิกประเภท 2 จะตั้งเพิ่มจากจำนวนเริ่มแรกก็ไม่ได้ลดก็ไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าตามรัฐธรรมนูญ ม.116 ส่วนสมาชิกประเภทที่ 1 ย่อมต้องมีจำนวน เป็นไปตาม ก.ม.เลือกตั้ง
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งนั้นศาลมีอำนาจพิจารณาได้ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง ม.60, 61 รัฐธรรมนูญ ม.99 113,114
ผู้เลือกตั้งย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้เพราะเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล.
of 2