คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชลอ บุปผเวส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง และการแบ่งสินสมรสตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658(2) มิได้บัญญัติว่ากรมการอำเภอต้องจดข้อความในพินัยกรรมด้วยตนเอง ปลัดอำเภอผู้ทำหน้าที่กรมการอำเภอตามมาตรานี้ย่อมใช้ให้คนอื่นจดแทนได้ ส่วนอนุมาตรา 4 ของมาตรานี้ที่ว่าให้กรมการอำเภอจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุมาตรา 1 ถึง 3 นั้นเมื่อพินัยกรรมมีข้อความดังกล่าวเป็นตัวอักษรแบบพิมพ์ และปลัดอำเภอก็ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญท้ายข้อความนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นข้อความที่ปลัดอำเภอจดลงไว้ด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่มิชอบ แม้ไม่มีข้ออุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณายกคำพิพากษาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานที่จำเลยที่ 1 และ 2 เป็นนายจ้างของผู้ขับรถโดยประมาทและจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาคดีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันนัดสืบพยานและวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ พิพากษาให้เพิกถอนเสียแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกปัญหาข้อนี้อุทธรณ์ขึ้นมาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขแม้ไม่มีการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานที่จำเลยที่ 1 และ 2 เป็นนายจ้างของผู้ขับรถโดยประมาทและจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาคดีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันนัดสืบพยานและวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ พิพากษาให้เพิกถอนเสียแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกปัญหาข้อนี้อุทธรณ์ขึ้นมาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะริบเงินวางได้เฉพาะกรณีผิดแบบแปลน การเลิกสัญญากลับสู่สภาพเดิมต้องคืนเงิน
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหาย ในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างและการริบเงินวางหน้าสัญญา ต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9 ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ และคำขอคืนทรัพย์สินที่ถูกชิงทรัพย์
คดีความผิดต่อชีวิต แม้ในคำขอให้ลงโทษท้ายฟ้องโจทก์เพียงแต่อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289 มาเท่านั้นก็ดีแต่ในคำฟ้องได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยมาแล้วว่าจำเลยยิงผู้ตายด้วยเจตนาฆ่า เพื่อความสะดวกในการที่จำเลยจะลักทรัพย์และเมื่อยิงแล้วจำเลยได้ลักเอาเงิน 2,400 บาทของผู้ตายไปโดยเจตนาทุจริต และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่ลักไปด้วย ดังนี้ ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์อยู่ด้วย จึงเป็นคดีความผิดต่อชีวิตและคดีชิงทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43บัญญัติให้พนักงานอัยการมีคำขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอคืนทรัพย์สินในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดต่อชีวิตและชิงทรัพย์
คดีความผิดต่อชีวิต แม้ในคำขอให้ลงโทษท้ายฟ้องโจทก์เพียง แต่อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289 มาเท่านั้นก็ดีแต่ในคำฟ้องได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลย มาแล้วว่าจำเลยยิงผู้ตายด้วยเจตนาฆ่า เพื่อความสะดวกในการที่จำเลยจะลักทรัพย์และเมื่อยิงแล้วจำเลยได้ลักเอาเงิน 2,400 บาทของผู้ตายไปโดยเจตนาทุจริต และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่ลักไปด้วย ดังนี้ ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์อยู่ด้วย จึงเป็นคดีความผิดต่อชีวิตและคดีชิงทรัพย์ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีคำขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063-1065/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายสาหัสจากการทะเลาะวิวาท เจตนาเพียงทำร้าย ไม่ใช่ฆ่า
ป.กับพวกวิวาทกับ อ. กับพวก พวกของ ป. คนหนึ่งกระชากคอเสื้อ อ. แล้วอีกคนหนึ่งใช้ไม้ตี อ. พวกของ อ. จึงใช้ไม้และตะหลิวเหล็กเข้าช่วยเหลือมิให้ ป. กับพวกทำร้าย อ. ต่อไป จึงเกิดชุลมุนต่อสู้กัน ป. ฉวยได้มีดหั่นเนื้อสุกรที่วางอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุแล้วใช้มีดนั้นฟัน อ. ในระหว่างชุลมุนกันนั้น เป็นบาดแผลสาหัส 4 แผลกะโหลกศีรษะแตกทำให้สมองเสีย แผลที่ไหล่ขวาลึกถึงกระดูก และกระดูกปลายนิ้วก้อยขาดเช่นนี้ ป. กับพวกไม่มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนาเพียงทำร้าย อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063-1065/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายสาหัสร่วมกัน ชุลมุนต่อสู้ เจตนาทำร้าย ไม่ใช่ฆ่า
ป. กับพวกวิวาทกับ อ. กับพวก พวกของ ป. คนหนึ่งกระชากคอเสื้อ อ. แล้วอีกคนหนึ่งใช้ไม้ตี อ. พวกของ อ. จึงใช้ไม้และตะหลิวเหล็กเข้าช่วยเหลือมิให้ ป. กับพวกทำร้าย อ. ต่อไป จึงเกิดชุลมุนต่อสู้กัน ป. ฉวยได้มีดหั่นเนื้อสุกรที่วางอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุแล้ว ใช้มีดนั้นฟัน อ. ในระหว่างชุลมุนกันนั้นเป็นบาดแผลสาหัส 4 แผลกะโหลกศีรษะแตกทำให้สมองเสีย แผลที่ไหล่ขวาลึกถึงกระดูก และกระดูกปลายนิ้วก้อยขาด เช่นนี้ ป. กับพวกไม่มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนาเพียงทำร้าย อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินที่ไม่มุ่งหากำไร ต้องแสดงรายการใน ภ.ง.ด.9 หากมีมูลค่าเกิน 10,000 บาท จึงจะได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้ที่ขายทรัพย์สินที่มีหลักฐานทางทะเบียน ซึ่งเงินที่ได้จากการขายนั้นมีจำนวนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การได้ทรัพย์สินนั้นมาและขายไปนั้นมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรีกล่าวคือต้องแสดงรายการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 14 แห่งแบบ ภ.ง.ด.9.มิฉะนั้นจะไม่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องนำเงินได้จากการขายทรัพย์สินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)
of 47