พบผลลัพธ์ทั้งหมด 470 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกที่ดิน และผลของการครอบครองก่อนรับตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น.โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ - เพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากทายาทโอนทรัพย์สินทิ้งก่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
บิดาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีความว่า บิดาจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทอันมี ส.ค.1 ให้โจทก์ทำผลประโยชน์ในที่ดินแทนดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วถ้าไม่นำเงินมาชำระจะยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นจำนวนเงินหกหมื่นบาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ในวันถัดจากวันครบกำหนด บิดาจำเลยได้รับราคาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ไม่ใช่สัญญาขายฝากที่พิพาท แต่เป็นเรื่องกู้เงินโดยมอบที่พิพาทให้ทำนาต่างดอกเบี้ย ครั้นบิดาจำเลยตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 รับสภาพหนี้โดยให้โจทก์ทำนาต่อมา เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์ขอชำระหนี้ด้วยที่พิพาทโดยขอเงินเพิ่มจากโจทก์อีกโจทก์ตกลงและจ่ายเงินให้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้ในวันโอน เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่โจทก์ได้รับมอบให้ครอบครองที่พิพาทต่อมานับแต่ตกลงกันนั้น หนี้ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ที่พิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ การที่จำเลยจะไปโอนให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงพิธีการ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนให้ และรับเงินที่ยังค้างอยู่ได้และเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เจ้าหนี้อีกรายหนึ่งไป โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และการสละสิทธิจากการตกลง
บิดาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีความว่า บิดาจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทอันมี ส.ค.1 ให้โจทก์ทำผลประโยชน์ในที่ดินแทนดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วถ้าไม่นำเงินมาชำระ จะยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นจำนวนเงินหกหมื่นบาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ในวันถัดจากวันครบกำหนด บิดาจำเลยได้รับราคาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ไม่ใช่สัญญาขายฝากที่พิพาท แต่เป็นเรื่องกู้เงินโดยมอบที่พิพาทให้ทำนาต่างดอกเบี้ย ครั้นบิดาจำเลยตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2รับสภาพหนี้โดยให้โจทก์ทำนาต่อมา เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์ขอชำระหนี้ด้วยที่พิพาทโดยขอเงินเพิ่มจากโจทก์อีก โจทก์ตกลงและจ่ายเงินให้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้ในวันโอน เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่โจทก์ได้รับมอบให้ครอบครองที่พิพาทต่อมานับแต่ตกลงกันนั้น หนี้ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ที่พิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ การที่จำเลยจะไปโอนให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงพิธีการ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนให้ และรับเงินที่ยังค้างอยู่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เจ้าหนี้อีกรายหนึ่งไป โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความลงชื่อแทนโจทก์ และสิทธิการฟ้องเพิกถอนสัญญาเช่าของบริษัท
คำฟ้องคดีอาญาที่ทนายความของโจทก์ลงชื่อมาในคำฟ้องแทนโจทก์แม้ในใบแต่งทนายจะระบุอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ไว้ด้วยก็เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 158(7) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องมีลายมือชื่อโจทก์เอง แม้มีใบแต่งทนายมอบอำนาจให้ทนายลงชื่อแทนก็ไม่ชอบ
คำฟ้องคดีอาญาที่ทนายความของโจทก์ลงชื่อมาในคำฟ้องแทนโจทก์แม้ในใบแต่งทนายจะระบุอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ไว้ด้วยก็เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 158(7) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้แม้สัญญากู้ไม่ติดอากรแสตมป์ ศาลใช้การรับสภาพหนี้เป็นหลัก
การนำสัญญากู้มาฟ้องโดยมิได้ปิดอากรแสตมป์ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้นั้น เมื่อผู้กู้รับว่ากู้เงินไปตามสัญญาที่อ้างมาจริงแล้ว ก็ไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานต่อไป ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ได้ (เทียบฎีกาที่ 1189/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้แม้สัญญากู้ไม่ปิดอากรแสตมป์ ศาลใช้การรับสภาพหนี้เป็นหลักฐานได้
การนำสัญญากู้มาฟ้องโดยมิได้ปิดอากรแสตมป์ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 จะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้นั้น เมื่อผู้กู้รับว่ากู้เงินไปตามสัญญาที่อ้างมาจริงแล้ว ก็ไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นหลักฐานต่อไปศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ได้ (เทียบฎีกาที่ 1189/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, โจทก์ร่วม, พยานหลักฐาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นฟ้องซ้ำ, สิทธิโจทก์ร่วมที่ถูกยกคำร้อง, และการใช้พยานหลักฐาน
เมื่อประเด็นข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นคนละเหตุกับประเด็นข้อกล่าวหาจำเลยในคดีก่อน ฟ้องคดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องในคดีก่อน
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, โจทก์ร่วม, พยานหลักฐาน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องซ้ำ การเข้าร่วมดำเนินคดี และการใช้พยานหลักฐานของโจทก์ร่วม
เมื่อประเด็นข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นคนละเหตุกับประเด็นข้อกล่าวหาจำเลยในคดีก่อน ฟ้องคดีนี้ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องในคดีก่อน
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
ผู้เสียหายที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีแล้วแม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะยกคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมเสียเพราะโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำแก่ผู้เสียหายที่ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมที่ได้กระทำระหว่างเป็นคู่ความในคดีเสียเปล่าไปไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมได้อ้างอิงไว้ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานสำหรับโจทก์และโจทก์ร่วมคนอื่นเพื่อศาลนำมาประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
การเบิกความหรือนำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลในการพิจารณาไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอันเกี่ยวกับการนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ ถ้าคำเบิกความ หรือพยานหลักฐานที่นำสืบแสดงเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในประเด็นของเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยสั่งในการพิจารณาส่วนนั้น ก็ย่อมจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 และมาตรา 180 ได้