คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1382

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,662 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต่อเนื่องเกิน 10 ปีโดยสงบและเจตนาเป็นเจ้าของ
ประเด็นในคดีก่อนมีว่า ผู้ร้องทำละเมิดต่อผู้คัดค้านที่ 1 โดยการทำรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่จึงเป็นคนละประเด็นกัน ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
การที่ผู้ร้องกับผู้คัดค้านพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทครบ 10 ปีแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยไม่สงบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ประเด็นฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการครอบครองโดยสงบต่อเนื่องเกิน 10 ปี
ประเด็นในคดีก่อนมีว่า ผู้ร้องทำละเมิดต่อผู้คัดค้านที่ 1 โดยการทำรั้วในที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือไม่ ส่วนในคดีนี้มีประเด็นว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ กรณีจึงเป็นคนละประเด็นกัน อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ปัญหานี้แม้ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำคัดค้าน แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมจึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินผู้อื่นมิได้เป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาต
กรณีบุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนหรือรับรองว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบ้านที่ผู้ร้องปลูกอยู่บนที่ดินของผู้อื่นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับบ้านหลังดังกล่าวประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 สำหรับ ป.ที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินฯ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงวิธีการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์มาด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 มิใช่กฎหมายใกล้เคียงที่อาจนำมาใช้แก่กรณีของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่มีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดินและผลของการแจ้งความเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ซึ่งทางราชการออกให้แก่ ท. โดยมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บทกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายที่จะควบคุมมิให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากผู้รับโฉนดที่ดินไปเป็นของบุคคลอื่นไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาห้ามโอน เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือเป็นการโอนในกรณีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายยังควบคุมกรรมสิทธิ์ให้มีผลกระทบถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่อาจนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทเลยทีเดียว หาใช่เป็นการโต้เถียงสิทธิกันเองโดยปกติธรรมดาไม่ การที่จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบ เมื่อรวมระยะเวลานับแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องต่อเนื่อง เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองเดิมขาดตอน
จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8637/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของบุตรที่ได้มาจากการยกให้จากบิดา แม้มีชื่อผู้อื่นในโฉนด ไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้
บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อและได้เข้าครอบครองตลอดมา แม้บิดาผู้ร้องจะเป็นคนต่างด้าวซึ่งตาม พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 นั้น คนต่างด้าวจะมีที่ดินได้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน แต่ก็ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวทำสัญญาซื้อขายที่ดินและมิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องซื้อและครอบครองที่ดินมาเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี บิดาผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครอง การที่บิดาผู้ร้องมอบหมายให้ พ. ไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน พ. ก็เป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาผู้ร้องเท่านั้น บิดาผู้ร้องยังคงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องโดยส่งมอบการครอบครองแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ ผู้ร้องก็เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยสืบสิทธิต่อจากบิดาผู้ร้อง จึงเป็นการครอบครองที่ดินที่ตนมีสิทธิ แต่การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อมิใช่เป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิการครอบครองเดิมเป็นเพียงผู้เช่าหรืออาศัยสิทธิ ย่อมไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้
พ. ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของ ส. จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทสืบต่อจาก พ. จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้อาศัยเช่นเดียวกับ พ. แม้โจทก์จะมิได้ห้ามปรามขณะจำเลยปลูกบ้านหลังใหม่แทนบ้านหลังเดิมของ พ. ก็หาทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นเพียงผู้อาศัยเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินอย่างเป็นเจ้าของ และไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการหักล้าง, การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างการครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดแย้งกับความเป็นเจ้าของเดิม และคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ป. โดยชอบ และโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ปี 2502 ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่ในทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีก็ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ที่ดินพิพาทมีได้เพียงสิทธิครอบครองซึ่งไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้ย้อนกลับไปเป็นของ ป. หรือของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: นับระยะเวลาจากเจตนาเป็นเจ้าของ แม้เข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเอง
การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
of 167